ธงอาทิตย์อุทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงเคียวคุจิซึกิ)

ธงอาทิตย์อุทัย หรือ ธงเคียวกูจิตสึกิ (ญี่ปุ่น: 旭日旗โรมาจิKyokujitsu-ki; อังกฤษ: Rising Sun Flag) ออกแบบโดย กลุ่มขุนศึกไดเมียว ในยุคเอะโดะ[1] เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1870 อันสืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลเมจิ ที่ได้ประกาศใช้ธงทหารสำหรับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1889[2] ในความเชื่อของคนญี่ปุ่น สัญลักษณ์อาทิตย์อุทัย สื่อถึงความก้าวหน้า และเจริญรุ่งเรือง บางแห่งได้นำสัญลักษณ์อาทิตย์อุทัยที่ถูกดัดแปลงในแบบต่าง ๆ ไปใช้โฆษณาในเชิงพาณิชย์ ภายหลังได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในฐานะธงนาวีของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1954 สำหรับคนที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นแล้วล้วนมีความรู้สึกกับธงนี้ในแง่ลบ จากความรุนแรงที่กองทัพญี่ปุ่นก่อขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เคยต่อสู้หรือถูกทารุณกรรมโดยทหารญี่ปุ่น ในประเทศที่เคยถูกญี่ปุ่นยึดครอง เช่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้[3][4][5] จีน,[6] และ ทหารผ่านศึกของสหรัฐอเมริกา[7][8][9]

ธงอาทิตย์อุทัย เป็นธงประจำกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น

การออกแบบ[แก้]

ธงทหาร โดยมากออกแบบเพิ่มเติมจากลักษณะของธงชาติญี่ปุ่น, ลักษณะคล้ายธงชาติ มีรูปพระอาทิตย์สีแดงรัศมี 16 แฉก อยู่ตรงกลางธง และ ธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ลักษณะอย่างเดียวกันกับธงกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ดวงกลมพระอาทิตย์นั้นค่อนมาทางต้นธง และเปล่งรัศมีสีแดง 16 แฉก ปลายรัศมีนั้นจดปลายธงทุกด้าน (อันมีที่มาจากชื่อประเทศของญี่ปุ่นว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย")[10] ธงชัยเฉลิมพลสำหรับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น มีลักษณะเดียวกับธงศึก ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง อัตราส่วน 2:3 ส่วนธงชัยเฉลิมพลทหารม้า และทหารปืนใหญ่, ผืนธงสี่เหลี่ยมจตุรัส อัตราส่วน 1:1 มุมล่างธงมีตราเครื่องหมายของหน่วยทหารดังกล่าว ในส่วนของธงนาวีนั้นยังคงลักษณะดั้งเดิม เฉดสีแดงของดวงอาทิตย์มีระดับเฉดสีที่แตกต่างกัน ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางภาคพื้นดิน ธงนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ธงฮาจิโจเคียวกูจิตสึกิ" (Hachijō-Kyokujitsuki - 八条旭日旗) ลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมี 8 แฉกอยู่กลาง ขอบธงเป็นสีทอง[11]

ภาพธง[แก้]

ธงทหารบก
ธงกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารราบ ธงชัยเฉลิมพลหน่วยทหารม้า และ ทหารปืนใหญ่ ธงกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน
ธงทหารเรือ
ธงกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล แบบการสร้างธงจักรพรรดินาวี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Japanese Symbols". Japan Visitor/Japan Tourist Info. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
  2. "船舶旗について" (PDF). Kobe University Repository:Kernel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-18. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  3. Radhika Seth (August 14, 2012). "Courting Controversy: Olympic Uniform resembled rising sun flag!". Japan Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ September 18, 2012.
  4. "Korean lawmakers adopt resolution calling on Japan not to use rising sun flag". Korea Herald. August 29, 2012. สืบค้นเมื่อ September 18, 2012.
  5. "Japanese "Rising Sun Flag" Sparking More Tension between Korea and Japan". Business Korea. August 9, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
  6. Naoto Okamura (August 8, 2008). "Japan fans warned not to fly naval flag". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
  7. Bill McMichael (August 2, 2011). "That Flag". Navy Times Scoop Deck.[ลิงก์เสีย]
  8. Tom Hester (November 3, 2008). "Trenton's 'Lady Victory' monument honors W W II vets". NJ.com.
  9. Martin Kidston (April 26, 2014). "Hellgate High senior will escort WWII veterans on final Big Sky Honor Flight". Missoulian.
  10. "海軍旗の由来". kwn.ne.jp. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.
  11. Phil Nelson; various. "Japanese military flags". Flags Of The World. Flagspot.

ดูเพิ่ม[แก้]