ธงราชวงศ์ชิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงของราชวงศ์ชิง
Flag of China (1889–1912).svg
ชื่อธง ธงมังกรเหลือง (黃龍旗)
การใช้ 111111 Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 8:5
ประกาศใช้ ค.ศ. 1890 - 1912
ลักษณะ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลือง กลางธงมีรูปมังกรห้าเล็บสีน้ำเงิน บริเวณมุมธงบนด้านคันธงตรงเหนือปากมังกรมีรูปไข่มุกสีแดง
Flag of China (1862–1889).svg
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
ชื่อธง Early version of Yellow Dragon Flag
การใช้ 011011 Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ ค.ศ. 1862 - 1889

ธงของราชวงศ์ชิง มีชื่อเรียกว่า "ธงมังกรเหลือง" (จีน: 黃龍旗) เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลือง กลางธงมีรูปมังกรห้าเล็บสีน้ำเงิน บริเวณมุมธงบนด้านคันธงตรงเหนือปากมังกรมีรูปไข่มุกสีแดง ถือกันว่าธงนี้ธงชาติจีนแบบแรกสุดในประวัติศาสตร์

ราชวงศ์ชิงเป็นราชวงศ์จักรพรรดิที่ปกครองประเทศจีนลำดับสุดท้าย สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1644 และถูกโค่นล้มด้วยการปฏิวัติซินไฮ่ในปี ค.ศ. 1912 ลักษณะของธงดังที่ปรากฏข้างต้นนี้เป็นแบบที่ใช้อยู่ระหว่าง ค.ศ. 1890 - 1912 โดยดัดแปลงจากธงสีเหลืองของกองทัพแปดกองธง ทั้งนี้ สีเหลืองเป็นสีของจักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยโบราณ อนึ่งยังเป็นสีที่หมายถึงชนเผ่าแมนจูด้วย ส่วนมังกรห้าเล็บเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจของจักรพรรดิ

ประวัติ[แก้]

ธงมังกรพื้นเหลืองของแปดกองธง

ประวัติของการกำหนดธงชาติจีนในยุคราชวงศ์ชิงสามารถสืบย้อนไปได้ราวปี ค.ศ. 1856 ในเวลานั้นได้เกิดกรณีเรือแอโรว์ ซึ่งมีสาเหตุจากเรือสินค้าจีนได้ชักธงเรือของต่างประเทศ (อังกฤษ) ขึ้นท้ายเรือของตน เนื่องจากในเวลานั้นประเทศจีนยังไม่มีธงสัญลักษณ์ของชาติอย่างเป็นทางการ[1] ต่อมาในปี ค.ศ. 1862 กะลาสีเรือของจักรพรรดินาวีต้าชิงและราชนาวีอังกฤษได้รบกันในแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อเป็นการตอบสนองคำชี้แจงของราชนาวีอังกฤษในเรื่อการไม่อาจแยกแยะเรือของจีนออกจากเรือของชาติอื่นได้ เจ้าชายก่ง (ก่งชินหวัง - 恭親王) จึงกระตุ้นให้เจิง กว๋อฟาน (曾國藩) สร้างธงราชการสำหรับรัฐบาลราชวงศ์ชิงขึ้น และแนะนำให้ใช้ธงมังกรพื้นเหลือง ซึ่งมีใช้อยู่ในแปดกองธงของแมนจู และ กองทัพต้าชิง ในเวลานั้น เจิง กว๋อฟานจึงเอาแบบธงดังกล่าวซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มาตัดออกมุมหนึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อให้แตกต่างจากธงเดิม[2] และได้ใช้ในราชการระหว่าง ค.ศ. 1862 - 1889 โดยเป็นการเฉพาะในวงราชการและกองทัพเรือจีนเท่านั้น เรือของพลเรือนทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ และ ไม่มีการกำหนดให้ธงนี้เป็นธงชาติแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในโอกาสทางการทูตหรือการแสดงนิทรรศการนานาชาติ ก็ได้มีการใช้ธงรูปสามเหลี่ยมดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศจีนเช่นกัน ภายหลังจึงได้แก้แบบให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในปี ค.ศ. 1890 และใช้สืบมาจนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ชิง

อ้างอิง[แก้]

  1. 肖吟新 (2002). 清代国旗的故事 (ภาษาจีน). 世纪. p. 63.
  2. 施爱东 (2011). 哀旗不幸 怒旗不争 大清龙旗50年 (ภาษาจีน). 民族艺术. p. 6.