ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้าวสุริยะราชวัตร์
(คูณ รามางกูร)
นายกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุพนม, หัวหน้าผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุพนม, กรมการบ้านชะโนด
ก่อนหน้าท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร)
ถัดไปท้าวอุปละ (มุง รามางกูร)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดเวียงชะโนด เมืองมุกดาหาร
เสียชีวิตเวียงชะโนด เมืองมุกดาหาร
ศาสนาศาสนาพุทธ
คู่สมรสอาชญาแม่แก้วฝา

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) อดีตนายกองข้าอุปัฏฐากผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระมหาธาตุพนม หรือนายกองบ้านธาตุพนมลำดับที่ ๓ ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ภาคอีสานของประเทศไทย หลังสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าเมืองหรือขุนโอกาส และอดีตกรมการเมืองมุกดาหาร

ประวัติ[แก้]

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ) มีนามเดิมว่า ท้าวคูณ[1] บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวราชวัตริ์ กรมการเมืองเมืองมุกดาหาร เป็นเจ้านายจากตระกูลผู้ปกครองและตั้งเมืองหลวงโพนสิม ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว[2] ที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้านายจากราชวงเวียงจันทน์ผู้ปกครองธาตุพนม จึงได้ขึ้นปกครองธาตุพนมในลำดับที่ ๖[3] ต่อจากท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) ผู้เป็นพี่ชาย ก่อนขึ้นปกครองกองข้าพระมหาธาตุพนมนั้น ท้าวคูณได้ถูกส่งตัวไปเรียนวิชาการปกครองยังราชสำนักกรุงเทพมหานครตามธรรมเนียมบุตรหลานของเจ้านายหัวเมืองลาว พร้อมกันกับท้าวอ้วนผู้เป็นพี่ชาย เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาบิดาจึงลาออกจากตำแหน่งนายกองข้าพระมหาธาตุพนมแล้วมอบตำแหน่งให้ท้าวสุริยะ (อ้วน) ขึ้นปกครองแทน จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ท้าวสุริยะ (อ้วน) ให้เป็นที่ ท้าวสุริยะราชวัตร์นายกองข้าพระมหาธาตุพนม ต่อมาไม่นาน ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน) ก็ลาออกจากตำแหน่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนท้าวราชวัตร์ (คูณ) ผู้เป็นน้องชายเป็นนายกองข้าพระมหาธาตุพนมในบรรดาศักดิ์ที่ ท้าวสุริยะราชวัตร์ แทนพี่ชาย

ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าเมืองธาตุพนม[แก้]

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ) มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับอาชญานางบุษดี ชายาเอกในเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองหรือขุนโอกาสพระมหาธาตุพนมองค์ที่ ๒ อีกด้วย เนื่องจากอาชญานางบุษดีนั้นเป็นธิดาในหมื่นนำรวงผู้เป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับหลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร) บิดาของท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ)

ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าเมืองหลวงโพนสิม[แก้]

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ) เป็นนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าสุวรรณสีหะ (ท้าวคำสิงห์) กวานเวียงชะโนดองค์แรก[4] และเป็นปนัดดา (เหลนทวด) ในอาชญาบ่าวหลวง (ยั้งขะหม่อมบ่าวหลวง) กับอาชญานางสิมมา ผู้ตั้งเมืองหลวงโพนสิม ปัจจุบันคือบ้านโพนสิม ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว[5]

พี่น้อง[แก้]

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) มีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากันทั้งหมด ๑๐ ท่าน ได้แก่

  • อาชญานางหล้า
  • อาชญานางตุ๊
  • อาชญาท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) นายกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุพนมท่านที่ ๒
  • อาชญาท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) นายกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุพนมท่านที่ ๓
  • อาชญาท้าวสีหานาม (กวานสีหานาม) ผู้ตั้งหว้านใหญ่ ปัจจุบันคืออำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร มีบุตรธิดา คือ
  • อาชญาท้าวราชวัตริ์ (กวานราชวัตริ์) ผู้ตั้งบ้านนาดี
  • อาชญาท้าวทา ผู้ร่วมกับท้าวราชวัตริ์ตั้งบ้านนาดี
  • อาชญาท้าวโพธิ์สะราช (กวานโพชะราช) ผู้ตั้งบ้านหนองผือ
  • อาชญาแสนจันทร์ ผู้ร่วมกับท้าวโพธิ์สะราชตั้งบ้านหนองผือ
  • อาชญานางซาว

บุตรธิดาและทายาท[แก้]

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) สมรสกับอาชญานางแก้วฝา ธิดาในอาชญาท้าวสีหานาม (กวานสีหานาม) ผู้ตั้งบ้านหว้านใหญ่และมีศักดิ์เป็นเชษฐาของท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ) มีบุตรธิดาทั้งหมด ๖ ท่าน ได้แก่

  • อาชญานางทุม (แดงทุม) สมรสกับท้าวสีหาบุตร (แก้ว) กรมการบ้านหว้านใหญ่ ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงเดชพลพักตร์ (กวานหลวงเดชพลพักตร์) กำนันตำบลหว้านใหญ่ เป็นบุตรชายของหลวงอินทร์หรือพระจำเริญ กวานเวียงชะโนดคนที่ ๔ และเป็นนัดดา (หลานปู่) ในท้าวมหานาม กวานเวียงชะโนดองค์แรก
  • อาชญาท้าวจูม
  • อาชญาท้าวกุ
  • อาชญาท้าวเล
  • อาชญานางใบ
  • อาชญานางหลอย สมรสกับขุนหว้านวิรุฬคาม (ท้าวพังคี) กำนันตำบลหว้านใหญ่ บุตรชายในท้าวบุญเฮือง (บุญเรือง) กับนางผอง และเป็นนัดดา (หลานปู่) เจ้าเมืองโขง ฝ่ายนางผองนั้นเป็นธิดาของท้าวมหานะคร (ท้าวขาว) กับนางบุ ท้าวมหานะคร (ท้าวขาว) เป็นบุตรของหลวงอะภัยเวียงชะโนด ฝ่ายนางบุเป็นธิดาของท้าวควรกับนางทองสุก พระธิดาในเจ้าสุวรรณสีหะหรือท้าวคำสิงห์ผู้ตั้งเวียงชะโนด อาชญานางหลอยกับขุนหว้านวิรุฬคาม (ท้าวพังคี) มีบุตรธิดาด้วยกันทั้งหมด ๗ ท่าน ได้แก่
    • ท้าวทองทิพย์
    • ท้าวสีทวน
    • นางเทพ
    • นางคำบ่อ
    • นางโซ่น
    • นางรัดเซน
    • นางบรรเย็น (บานเย็น)


ก่อนหน้า ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) ถัดไป
ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) นายกองข้าพระธาตุพนม,
หัวหน้าผู้ควบคุมข้าพระธาตุพนม

ท้าวอุปละ (มุง รามางกูร)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข. ประวัติบ้าน. มุกดาหาร. : ม.ป.พ.. ม.ป.ป..
  2. ธวัชชัย พรหมณะ. (๒๕๔๕). ความสำคัญของการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงต่อความเป็นเมืองสุวรรณเขต ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๕๔. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์เอเชีย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  3. ดวง รามางกูร. พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.. ม.ป.ป..
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-25. สืบค้นเมื่อ 2016-10-31.
  5. http://www.foodtravel.tv/travelShow_Detail.aspx?viewId=710[ลิงก์เสีย]