ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี (AYIA)

Bandar Udara Internasional Achmad Yani (AYIA)
  • IATA: SRG
  • ICAO: WARS
    SRGตั้งอยู่ในเกาะชวา
    SRG
    SRG
    Location of airport in Java
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานการทหาร
สาธารณะ
ผู้ดำเนินงานPT Angkasa Pura I
พื้นที่บริการเซอมารัง
สถานที่ตั้งเซอมารัง
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล3 เมตร / 10 ฟุต
พิกัด06°58′17″S 110°22′27″E / 6.97139°S 110.37417°E / -6.97139; 110.37417
เว็บไซต์http://www.achmadyani-airport.com/
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
13/31 2,680 8,793 ยางมะตอย
สถิติ (2013)
จำนวนผู้โดยสาร3,295,022
จำนวนเที่ยวบิน25.858
สินค้า9.379.788

ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี (อินโดนีเซีย: Bandar Udara Internasional Achmad Yani) (IATA: SRGICAO: WARS) เป็นสนามบินในเขตเมืองเซอมารัง จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย เคยใช้งานด้านกองทัพอากาศจนถึงปี ค.ศ. 1966 หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นสนามบินพาณิชย์ สนามบินตั้งอยู่ใกล้ชายหาดมารอน ในเขตเซอมารังตะวันตก และมีแผนปลูกป่าชายเลนบริเวณชายหาดใกล้สนามบิน เพื่อพัฒนาให้เป็นสนามบินสีเขียว โครงการนี้กำหนดเสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013[1] พื้นที่บริเวณนี้รู้จักกันในชื่อกาลิบันเตง ส่วนชื่อสนามบินมาจากชื่อวีรบุรุษท่านหนึ่งของประเทศ ชื่อว่า อัคมัด ยานี สนามบินแห่งนี้กลายเป็นสนามบินนานาชาติในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 จากการเปิดเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ ของสายการบินการูดาอินโดนีเซีย

ในปัจจุบัน[แก้]

มีอาคารผู้โดยสาร 1 แห่งทางด้านทิศใต้ของทางวิ่ง รองรับทั้งเที่ยวบินภายในและระหว่างประเทศ อาคารมีเนื้อที่ 2,657 ตารางเมตร สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ร้านขายของที่ระลึก, ภัตตาคาร, ธนาคาร, บริการแลกเงินตรา, โรงแรม, รถแท็กซี่ และรถเช่า ทางวิ่งมีเนื้อที่ 2,680 x 45 ตารางเมตร

การเดินทางเข้า-ออกสนามบิน[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ทรานส์เซอมารัง เป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเมืองเซอมารัง มีเพียงสายเดียวเท่านั้นที่เชื่อมต่อกับระหว่างเมืองกับสนามบิน จุดจอดรถอยู่ห่างจากประตูขาเข้าประมาณ 50–100 เมตร และอยู่ใกล้ทางรถไฟ

การให้บริการ สาย หมายเหตุ
ทรานส์เซอมารังซิตีบัส
ทรานส์เซอมารังซิตีบัส สาย 4 จังกีรัน – สนามบิน — สถานีรถไฟเซอมารังตาวัง บางจุดจอดสามารถเชื่อมต่อกับสาย 1, 2 ได้

รถแท็กซี่[แก้]

นอกจากนี้ยังมีรถแท็กซี่วิ่งรับ-ส่งระหว่างเมืองกับสนามบินอีกด้วย

รางวัล[แก้]

ได้รับรางวัลสนามบินที่สะอาดที่สุด 3 ปีติดต่อกัน (ค.ศ. 2013, 2012 และ 2011) จาก 9 สนามบินในกลุ่มสนามบินระดับที่สอง[2]

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Semarang airport redesigned to go green". 4 January 2012.
  2. "Ahmad Yani Semarang Raih Penghargaan Bandara Terbersih". August 17, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]