ท่าอากาศยานนานาชาติหนานหนิงอู๋ซู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติ
หนานหนิงอู๋ซู

Nanzningz Vuzhih Gozci Gihcangz
南宁吴圩国际机场
ทางเข้าอาคารผู้โดยสาร 2 ของท่าอากาศยานนานาชาติหนานหนิงอู๋ซู เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2557
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ / ทางทหาร
พื้นที่บริการหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
สถานที่ตั้งเมืองอู๋ซู, เขตเจียงหนาน, หนานหนิง
วันที่เปิดใช้งานพฤศจิกายน พ.ศ. 2505; 61 ปีที่แล้ว (2505-11)
ฐานการบินจีเอกซ์แอร์ไลน์
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล128 เมตร / 420 ฟุต
พิกัด22°36′29.76″N 108°10′20.79″E / 22.6082667°N 108.1724417°E / 22.6082667; 108.1724417
ผังท่าอากาศยานของ กรมการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (CAAC)
ผังท่าอากาศยานของ
กรมการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (CAAC)
NNGตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
NNG
NNG
NNGตั้งอยู่ในประเทศจีน
NNG
NNG
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
05/23 3,200 10,499 คอนกรีต
สถิติ (2564)
ผู้โดยสาร10,851,498
การสัญจรของอากาศยาน92,723
ขนส่งสินค้า (ตัน)124,128.3
ท่าอากาศยานนานาชาติหนานหนิงอู๋ซู
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ南宁吴圩机场
อักษรจีนตัวเต็ม南寧吳圩機場
ชื่อภาษาจ้วง
ภาษาจ้วงNanzningz Vuzhih Gozci Gihcangz

ท่าอากาศยานนานาชาติหนานหนิงอู๋ซู ( IATA : NNG , ICAO : ZGNN ) เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการนครหนานหนิงเมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน ตั้งอยู่ห่าง 32 กิโลเมตร (20 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้จากใจกลางเมือง สนามบินสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2505 โดยมีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2533[1] อาคารผู้โดยสาร 2 เปิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 มีพื้นที่ 189,000 ตารางเมตร (2,030,000 ตารางฟุต) ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับผู้โดยสาร 16 ล้านคนต่อปี โดยในปี 2545 มีจำนวนผู้โดยสารถึง 1 ล้านคน และเพิ่มเป็น 2 ล้านคนในปี 2549 และในปี 2559 มีผู้โดยสาร 11.56 ล้านคนใช้ท่าอากาศยานแห่งนี้

ประวัติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่าอากาศยานนี้เป็นที่รู้จักในชื่อสนามบินหนานหนิง (Nanning Airfield) ซึ่งดำเนินการโดยกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ (กองทัพอากาศที่สิบสี่) เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ป้องกันประเทศจีน (พ.ศ. 2485–2488) สนามบินถูกใช้งานโดยหน่วยลาดตระเวนเป็นหลัก ซึ่งใช้เครื่องบินลาดตระเวน ล็อกฮีด พี-38 ไลท์นิง ไม่ติดอาวุธ บินถ่ายภาพเหนือดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดครอง และเผยแพร่ข้อมูลให้กับหน่วยรบ กองบินพิเศษของฝูงบินขับไล่และทิ้งระเบิดยังปฏิบัติการจากสนามบินเป็นครั้งคราว พร้อมกับเป็นจุดรับส่งเสบียงสำหรับฝูงบินขนส่งยุทธปัจจัย 2d ซึ่งทิ้งเสบียงและยุทโธปกรณ์ทางอากาศให้กับกองกำลังภาคพื้นดินในแนวหน้า ในตอนท้ายของสงครามการขนส่งยังรวมถึงการลำเลียงคน ม้า และล่อ ไปยังสนามบิน สหรัฐยุติการใช้งานสนามบินในสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2488[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Brief Introduction of Transportation". Nanning Municipal Government. 29 กันยายน 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2016.
  2. Maurer, Maurer, บ.ก. (1980) [1961]. Air Force Combat Units of World War II: history and insignia (reprint ed.). Washington DC: Zenger Publishing. ISBN 0-89201-092-4. OCLC 1301787520.
  3. "document search – Nanning". Air Force History Index. United States Air Force Historical Research Agency.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]