ท่าอากาศยานนานาชาติฟูนาฟูตี
ท่าอากาศยานนานาชาติฟูนาฟูตี | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() อากาศยานกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ขณะกำลังลงจอด | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
สถานที่ตั้ง | ฟูนาฟูตี ประเทศตูวาลู | ||||||||||
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | 3 เมตร / 9 ฟุต | ||||||||||
พิกัด | 08°31′30″S 179°11′47″E / 8.52500°S 179.19639°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 08°31′30″S 179°11′47″E / 8.52500°S 179.19639°E | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
Source:[1] |
ท่าอากาศยานนานาชาติฟูนาฟูตี (IATA: FUN, ICAO: NGFU) เป็นท่าอากาศยานแห่งเดียวของประเทศ ตั้งอยู่ในฟูนาฟูตี[1][2][3] เมืองหลวงของประเทศตูวาลู โดยมีฟีจีแอร์เวส์ (ในนามของฟีจีลิงก์) เป็นผู้ให้บริการเส้นทางระหว่างซูวากับฟูนาฟูตี[4] ส่วนแอร์คิริบาสเป็นผู้ให้บริการเส้นทางระหว่างตาราวากับฟูนาฟูตีจำนวน 1 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติฟูนาฟูตีสร้างโดยกองทัพสหรัฐใน ค.ศ. 1943 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2[5][6] สนามบินทางทหารแห่งนี้ประกอบด้วยทางขึ้นลงของเครื่องบิน หอบังคับการและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น โดยมีการต่อสายเคเบิลเพื่อเชื่อมต่อระหว่างสนามบินกับสถานีวิทยุที่เตปูกา อาคารบัญชาการและบังเกอร์ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านของเตอาไง อาเปลู
ในช่วงกลาง ต.ศ. 1944 การสู้รบขยับไปทางพื้นที่ตอนเหนือมุ่งสู่ญี่ปุ่น ดังนั้นกองทัพสหรัฐเริ่มถอนตัว ในช่วงที่สงครามแปซิฟิกจบลงใน ค.ศ. 1945 กองกำลังและอุปกรณ์ได้ออกจากพื้นที่เกือบทั้งหมด[5][7][8] หลังสงครามสนามบินทางการทหารจึงได้รับการพัฒนาให้เป็นสนามบินพาณิชย์
สิ่งปลูกสร้าง[แก้]
ท่าอากาศยานตั้งอยู่ 9 ฟุต (3 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีรันเวย์จำนวน 1 ที่ ซึ่งมีความยาวเท่ากับ 1,524 เมตร (5,000 ฟุต)[1] เนื่องจากไม่มีแสงไฟที่รันเวย์ มีระบบวิทยุ VHF และอุปกรณ์นำทางทางอากาศในระดับต่ำ จึงทำให้การใช้งานจำกัดเพียงแค่ตอนกลางวันเท่านั้น[4]
แต่เดิมรันเวย์สร้างด้วยหินปะการังบด กรวดปะการังและวางพื้นผิวด้วยยางมะตอย จากนั้นใน ค.ศ. 1992 จึงมีการถมพื้นผิวเพิ่มเติม เพื่อให้รองรับเครื่องบินที่บินลงหนัก 50 ตันได้ อย่างไรก็ตามสภาพพื้นผิวและฐานรันเวย์เสื่อมสภาพลงจากน้ำและการขาดการซ่อมบำรุง[4] อย่างไรก็ตามมีการวางพื้นผิวใหม่อีกครั้งใน ค.ศ. 2015[9]
การเสื่อมสภาพของรันเวย์เครื่องบินมีสาเหตุจากระดับความสูงที่ต่ำของอะทอลล์ และสภาพพื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ชายเลนมาก่อน รวมไปถึงหินปะการังที่เป็นฐานมักถูกน้ำทะเลซึมผ่านได้[10] ซึ่งนั่นทำให้น้ำทะเลเข้าท่วมรันเวย์ในช่วงที่น้ำเกิดได้[11]
ใน ค.ศ. 2011 ธนาคารโลกและรัฐบาลตูวาลูตกลงที่จะเริ่มโครงการลงทุนการบินตูวาลู (Tuvalu Aviation Investment Project, TvAIP) เพื่อพัฒนามาตรการความปลอดภัยและกำกับดูแลการขนส่งทางอากาศนานาชาติ รวมถึงโครงสร้างที่จำเป็นสำหรับท่าอากาศยานนานาชาติฟูนาฟูตี[12][13] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ธนาคารโลกได้อนุมัติเงินจำนวน $6.06 ล้านสำหรับ TvAIP[14] นอกจากนี้ธนาคารโลกยังจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้ใน ค.ศ. 2017 อีกด้วย[15] TvAIP เป็นโครงการที่มีเป้าหมายจะพัฒนารันเวย์ให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ PCN (pavement classification number) 18 เพื่อให้สามารถรองรับเที่ยวบินฉุกเฉิน นอกจากนี้ TvAIP ยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเครื่องช่วยนำทางและการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ[9]
ท่าอาศยานนี้มีความแปลกกว่าที่อื่น ชาวตูวาลูจะใช้พื้นที่ท่าอากาศยานทำกิจกรรมทางกีฬาและสังคมเมื่อไม่มีเครื่องบินเข้า เนื่องด้วยพื้นที่บนเกาะมีอยู่จำกัด เมื่อมีเครื่องบินลงจอด จะมีเสียงไซเรนแจ้งเตือนเพื่อให้ประชาชนออกจากพื้นที่ ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อเสนอให้ติดตั้งรั้วเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับท่าอากาศยาน[16][17]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Airport information for Funafuti Atoll, Tuvalu (NGFU / FUN) at Great Circle Mapper.
- ↑ Map of Funafuti Centre - Fogafale Motu. Tuvaluislands.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ Lal, Andrick. South Pacific Sea Level & Climate Monitoring Project - Funafuti atoll (PDF). SPC Applied Geoscience and Technology Division (SOPAC Division of SPC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-03.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Andrew McIntyre; Brian Bell; Solofa Uota (February 2012). ""Fakafoou – To Make New": Tuvalu Infrastructure Strategy and Investment Plan" (PDF). Government of Tuvalu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
- ↑ 5.0 5.1 Building the Navy's Bases in World War II History of the Bureau of Yards and Docks and the Civil Engineer Corps 1940-1946. US Government Printing Office. 1947. p. 236.
- ↑ "To the Central Pacific and Tarawa, August 1943 - Background to GALVANIC (Ch 16, p. 622)". สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
- ↑ Maurer, Maurer (1983). Air Force Combat Units Of World War II. Maxwell AFB, Alabama: Office of Air Force History. ISBN 0-89201-092-4.
- ↑ www.pacificwrecks.com
- ↑ 9.0 9.1 "Abbreviated Resettlement Action Plan for: Funafuti Airport and Road Tuvalu Aviation Investment Project (TvAIP)" (PDF). World Bank (SFG1582). April 2015. สืบค้นเมื่อ 18 March 2016.
- ↑ Nakada S, Umezawa Y, Taniguchi M, Yamano H (Jul–Aug 2012). "Groundwater dynamics of Fongafale Islet, Funafuti Atoll, Tuvalu". Groundwater. 50 (4): 639–44. doi:10.1111/j.1745-6584.2011.00874.x. PMID 22035506.
- ↑ Nakada S.; Yamano H.; Umezawa Y.; Fujita M.; Watanabe M.; Taniguchi M. (2010). "Evaluation of Aquifer Salinization in the Atoll Islands by Using Electrical Resistivity". Journal of the Remote Sensing Society of Japan. 30 (5): 317–330. doi:10.11440/rssj.30.317. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
- ↑ "Pacific Aviation Investment Program (PAIP) Environmental Management Plan - Funafuti International Airport(FUN) and Road Interim Working Document" (PDF). AECOM. 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ 18 March 2016.
- ↑ "World Bank Approves Additional Funds for Tuvalu". World Bank. 1 November 2013. สืบค้นเมื่อ 9 February 2015.
- ↑ "Tuvalu Aviation Investment Project (TvAIP)". Government of Tuvalu/World Bank. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 18 March 2016.
- ↑ "Tuvalu's international airport to be upgraded". Radio New Zealand. 21 November 2017. สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.
- ↑ "Considering social impacts of investments in Tuvalu: is it a runway or a recreational area?". The World Bank Group. March 25, 2015. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
- ↑ "A plane landing at Tuvalu's tiny airport in Funafuti in 2013". PT&I Video Hosting. 2013. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
