ท็อกซิก (เพลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ท็อกซิก"
ซิงเกิลโดยบริตนีย์ สเปียส์
จากอัลบั้มอินเดอะโซน
ด้านบี"มีอะเกนสต์เดอะมิวสิก"
วางจำหน่าย13 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-13)
บันทึกเสียง2003
สตูดิโอ
แนวเพลง
ความยาว3:19
ค่ายเพลงจิฟ
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์บลัดชายแอนด์อาวองต์
ลำดับซิงเกิลของบริตนีย์ สเปียส์
"มีอะเกนสต์เดอะมิวสิก"
(2003)
"ท็อกซิก"
(2004)
"เอเวอรีไทม์"
(2004)
มิวสิกวิดีโอ
"ท็อกซิก" ที่ยูทูบ

"ท็อกซิก" (อังกฤษ: Toxic) เป็นเพลงที่บันทึกเสียงโดยนักร้องชาวอเมริกัน บริตนีย์ สเปียส์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สี่ อินเดอะโซน (2003) เพลงเขียนและผลิตโดยบลัดชายแอนด์อาวองต์ ร่วมด้วยแคธี เดนนิส และเฮนริก จอนแบ็ก ที่มีส่วนในการเขียนด้วย เพลงออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลที่สองจาก อินเดอะโซน แรกเริ่มเพลงนี้เสนอให้ ไคลี มิโนก ขับร้องในอัลบั้ม บอดีแลงเกวจ แต่เธอกลับปฏิเสธ หลังจากพยายามเลือกระหว่าง "(ไอก็อตแดต) บูมบูม" และ "เอาต์เรเจียส" เป็นซิงเกิลที่สอง ท้ายที่สุดสเปียส์เลือกเพลง "ท็อกซิก" แทน ในด้านดนตรี เป็นเพลงแนวแดนซ์ป็อปและเทคโนป็อปที่มีองค์ประกอบของดนตรีปังกรา นำเสนอเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น กลอง เครื่องสังเคราะห์เสียง และกีตาร์เซิร์ฟ บรรเลงพร้อมกับเสียงลมแทรกและเครื่องสายบอลลีวูดที่มีเสียงแหลมสูง ซึ่งนำเค้าโครงมาจากเพลง "Tere Mere Beech Mein" (1981) ของลักษมีกันต์–พญาเรลาล (Laxmikent–Pyarelal) ขณะที่เนื้อเพลงมีการเปรียบเปรยถึงคนรักว่าเป็นยาเสพติดที่อันตราย

"ท็อกซิก" ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางจากนักวิจารณ์เพลง ซึ่งยกย่องท่อนฮุกและท่อนคอรัส โดยหลายคนเลือกให้เป็นเพลงโดดเด่นจากอัลบั้ม เพลงได้รับรางวัลบันทึกเสียงเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 47 นับเป็นการคว้ารางวัลแกรมมีครั้งแรกในอาชีพของสเปียส์ เพลงยังประสบความสำเร็จทั่วโลก สามารถขึ้นอันดับหนึ่งในสิบประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฮังการี ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร และขึ้นถึงห้าอันดับแรกในสิบห้าประเทศ ในสหรัฐ กลายเป็นซิงเกิลที่สี่ของเธอที่อยู่ในสิบอันดับแรก โดยขึ้นสูงสุดที่อันดับเก้า "ท็อกซิก" กลายเป็นหนึ่งในเพลงอันเอกลักษณ์ของสเปียส์และถูกกล่าวขานว่าเป็นเพลงที่มีอิทธิพลและสร้างสรรค์มากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงป็อป เพลงยังอยู่ในรายชื่อเพลงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลหลายรายการ ซึ่งรวมถึง พิตช์ฟอร์ก และ เอ็นเอ็มอี และในปี 2021 เพลงถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อ "500 เพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ของนิตยสาร โรลลิงสโตน

อ้างอิง[แก้]

  1. Pitchfork Staff (August 21, 2009). "The 200 Best Songs of the 2000s". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ October 21, 2022. ...the backing track remains deeply, enjoyably weird-but-catchy: a club-tempo stepping breakbeat colored by James Bond soundtrack outtakes.