ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554
การคาดคะเนระดับความรุนแรงของวิกฤตของเครือข่ายระบบเตือนทุพภิกขภัยล่วงหน้าในแอฟริกาตะวันออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน จากระดับการตอบสนองปัจจุบัน
วันที่กรกฎาคม 2554 – สิงหาคม 2555
ที่ตั้งโซมาเลีย, เอธิโอเปีย, เคนยา, ยูกันดา และประเทศเพื่อนบ้าน[1]
เสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน[2]
ประเมินมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตในโซมาเลียมากกว่า 29,000 คน[3]
ทรัพย์สินเสียหายความรุนแรงระดับมหันตภัยในโซมาเลียใต้, ความรุนแรงระดับฉุกเฉินตลอดจะงอยแอฟริกา[1]

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 เป็นทุพภิกขภัย (famine)[2] อันเกิดขึ้นในหลายท้องที่ของจะงอยแอฟริกา เนื่องจากภัยแล้งสาหัสที่เกิดขึ้นตลอดแอฟริกาตะวันออก[4] ภัยแล้งนี้ ว่ากันว่า "รุนแรงที่สุดในรอบหกสิบปี"[5] เกิดจากวิกฤติอาหารซึ่งอุบัติขึ้นทั่วโซมาเลีย, เอธิโอเปีย และเคนยา และยังให้ผู้คนมากกว่า 13.3 ล้านคนผจญทุกขเวทนาในการเลี้ยงชีพ[6] ผู้ที่อาศัยอยู่ทางโซมาเลียตอนใต้จำนวนมากได้อพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เคนยาและเอธิโอเปีย ซึ่งทำให้ทั้งสองแห่งนั้นเกิดแออัด สภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะประกอบกับทุพโภชนาการอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก[7] บรรดาประเทศในและรายรอบจะงอยแอฟริกา เป็นต้นว่า จิบูตี, ซูดาน, ซูดานใต้ และยูกันดาบางส่วน ก็เผชิญวิกฤติอาหารนี้เช่นกัน[8][6][9][10]

ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 เครือข่ายระบบเตือนทุพภิกขภัยล่วงหน้า (Famine Early Warning Systems Network หรือเรียกโดยย่อว่า FEWS-Net) ประกาศภาวะฉุกเฉินในหลาย ๆ พื้นที่อันไพศาลของโซมาเลียใต้, เอธิโอเปียตะวันออกเฉียงใต้ และเคนยาตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถ้าปราศจากการประกาศดังกล่าว ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่าทุพภิกขภัยจะกินวงกว้างกว่านี้มาก[11] วันที่ 20 เดือนนั้น สหประชาชาติประกาศอย่างเป็นทางการในโซมาเลียใต้ซึ่งภาวะทุพภิกขภัย นับเป็นการประกาศทุพภิกขภัยครั้งแรกหลังทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย พ.ศ. 2527-2528 สืบมา ในครั้งนั้น ชาวเอธิโอเปียมากกว่าหนึ่งล้านคนได้ถึงแก่ชีวิต[2][12] ส่วนในทุพภิกขภัยครั้งนี้ เชื่อว่าผู้คนมากกว่าหนึ่งแสนคนในโซมาเลียใต้ได้จบชีวิตลงก่อนประกาศของสหประชาชาติแล้ว[2] การตอบสนองทางมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างยากเข็ญ เพราะขาดเงินทุนสนับสนุนระดับนานาชาติเป็นอันมาก ประกอบกับความมั่นคงในภูมิภาคประสบภัยก็เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายหาความวางใจมิได้[2][13][14] ในจำนวนเงินสนับสนุนที่สหประชาชาติร้องขอ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น องค์การได้รับแล้ว 63%[15]

ภูมิหลัง[แก้]

ซากแกะและแพะท่ามกลางความแห้งแล้งรุนแรงในภูมิภาคโซมาลิแลนด์

สภาพอากาศเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งปรากฏการณ์ลานีญารุนแรงผิดปกติ ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลกว่าสองฤดูกาลติดต่อกันแล้ว ในเคนยาและเอธิโอเปียขาดแคลนฝนในปีนี้ ส่วนในโซมาเลียขาดแคลนฝนตั้งแต่ปีที่แล้ว[4] ในหลายพื้นที่ อัตราหยาดน้ำฟ้าระหว่างช่วงฤดูฝนหลักระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนมีค่าน้อยกว่า 30% ของค่าเฉลี่ยระหว่าง พ.ศ. 2538–2553[16] การขาดฝนทำให้ปศุสัตว์ล้มตายเป็นอันมาก ในบางพื้นที่สูงถึง 40%-60% ซึ่งลดปริมาณการผลิตน้ำนมเช่นเดียวกับการเก็บเกี่ยวพืชผลซึ่งไม่ได้ผลดี เป็นที่คาดกันว่าฝนจะไม่ตกกระทั่งเดือนกันยายน พ.ศ. 2554[4] วิกฤตดังกล่าวทวีความเลวร้ายลงโดยกิจกรรมของฝ่ายกบฏทางตอนใต้ของโซมาเลียจากกลุ่มอัล-ชาบาบ[6]

หัวหน้าสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ราจีฟ ชาห์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนทำให้วิกฤตการณ์ดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสภาพที่กำลังร้อนและแห้งแล้งขึ้นในแอฟริกาซับสะฮาราลดการฟื้นคืนสภาพของชุมชนเหล่านี้"[17] แต่อีกด้านหนึ่ง สถาบันวิจัยปศุสัตว์ระหว่างประเทศ แนะว่า ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะโทษการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ว่าเป็นต้นเหตุของภัยแล้งครั้งนี้ ขณะที่ยอมรับว่า ปรากฏการณ์ลานีญาที่ค่อนข้างรุนแรงมีส่วนต่อความรุนแรงของภัยแล้ง ความสัมพันธ์ระหว่างลานีญากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจน[18]

ความล้มเหลวของนานาชาติในการใส่ใจต่อระบบป้องกันภัยล่วงหน้าได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้วิกฤตเลวร้ายลงไปอีก ผู้อำนวยการมนุษยธรรมของอ็อกซ์แฟม เจน ค็อกกิง กล่าวว่า "นี่เป็นภัยพิบัติที่ป้องกันได้และหนทางแก้ไขก็เป็นไปได้"[19] ซูซาน ดิวอรเรค ประธานผู้บริหารเซฟเดอะชิลเดรน เขียนว่า "นักการเมืองและผู้กำหนดนโยบายในประเทศร่ำรวยมักสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการป้องกัน เพราะพวกเขาคิดว่าหน่วยงานช่วยเหลือกำลังทำให้ปัญหาขยายตัว รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนากำลังอับอายที่ถูกมองว่าไม่สามารถทำให้ประชาชนอิ่มท้องได้ [...] เด็กเหล่านี้อดตายไปในภัยพิบัติซึ่งเราสามารถ และควร จะป้องกัน"[20]

สถานการณ์ทางมนุษยธรรม[แก้]

เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในเขตโลเวอร์ชาเบลและบากูล ทางตอนใต้ของโซมาเลีย[2] ตามข้อมูลของผู้ประสานงานด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติในโซมาเลีย ทุพภิกขภัยจะลุกลามไปยังทั้งหมดแปดเขตของโซมาเลียหากไม่มีการดำเนินมาตรการทันที[21] ดิอีโคโนมิสต์รายงานว่า ทุพภิกขภัยในวงกว้างอาจเกิดขึ้นตลอดจะงอยแอฟริกา "สถานการณ์แบบนี้...ไม่เคยเกิดขึ้นมาเป็นเวลา 25 ปี"[19]

ปัจจุบันราคาอาหารหลักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยห้าปี 68% รวมทั้งที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 240% ในโซมาเลียใต้, 117% ในเอธิโอเปียตะวันออกเฉียงใต้ และ 58% ในเคนยาเหนือ[16][20] อัตราภาวะขาดสารอาหารในเด็กแตะระดับ 30% ในบางส่วนของเคนยาและเอธิโอเปีย และมากกว่า 50% ในโซมาเลียใต้[22][16][17] ต้นเดือนกรกฎาคม โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติว่า คาดว่ามีประชากร 10 ล้านคนทั่วจะงอยแอฟริกาที่ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร โดยปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขประเมินที่ 6 ล้านคนก่อนหน้านี้ ปลายเดือนเดียวกัน สหประชาชาติปรับปรุงตัวเลขเป็น 12 ล้านคน โดยมี 2.8 ล้านคนอยู่ในโซมาเลียใต้เพียงแห่งเดียว ที่ซึ่งทุพภิกขภัยเลวร้ายที่สุด วิกฤตการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเลวร้ายลงในเดือนต่อมา โดยเลวร้ายที่สุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน ความช่วยเหลือขนาดใหญ่เป็นที่ต้องการอย่างน้อยจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554[23]

ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้สถานการณ์เลวลงไปอีกในโมกาดิชู โดยทำลายบ้านชั่วคราวลง ทิ้งให้คนอพยพย้ายถิ่นในประเทศในโซมาเลียใต้นับหมื่นคนให้อยู่ในความหนาวเหน็บ[24]

นอกเหนือจากนี้ กาชาดเคนยาเตือนว่าเค้าลางของวิกฤตการณ์มนุษยธรรมกำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคเตอร์กานา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเคนยา ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับซูดานใต้ ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่พร้อมหน่วยงานช่วเหลือ ประชากรในพื้นที่มากกว่าสามในสี่ขณะนี้ต้องการเสบียงอาหารอย่างมาก ระดับทุพโภชนาการยังอยู่ที่ระดับสูงสุดด้วย[25] ผลคือ โรงเรียนหลายแห่งในภูมิภาคได้ปิดลง "เพราะไม่มีอาหารแก่นักเรียน"[26] เด็กราว 385,000 คนในพื้นที่ที่ถูกปล่อยปละละเลยในเคนยานี้ขาดอาหารแล้ว ร่วมกับหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 90,000 คน มีประเมินว่าชาวเคนยาอีกกว่า 3.5 ล้านคนเสี่ยงต่อทุพโภชนาการ[27]

นอกจากนี้ ยังได้มีรายงานการขาดแคลนอาหารทางเหนือและตะวันออกของยูกันดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคการาโมจาและบุลัมบุลี เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยประเมินไว้ว่ามีชาวยูกันดาได้รับผลกระทบ 1.2 ล้านคน รัฐบาลยูกันดาได้ชี้ว่า จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 การขาดแคลนโภคภัณฑ์ฉับพลันคาดว่าเกิดขึ้นใน 35% ของพื้นที่ทั่วประเทศ

วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย[แก้]

จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม มีผู้ลี้ภัยมากกว่า 920,000 คน จากโซมาเลียอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคนยาและเอธิโอเปีย[28] ฐานสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในดาดับ ประเทศเคนยา ปัจจุบันให้ที่พักพิงแก่ประชาชนอย่างน้อย 440,000 คน ในค่ายผู้ลี้ภัยสามแห่ง ซึ่งรองรับสูงสุดได้ 90,000 คน[29] ผู้อพยพอีก 1,500 คนยังอพยพเข้ามาทุกวันจากโซมาเลียใต้ ซึ่งในจำนวนนั้น 80% เป็นผู้หญิงและเด็ก[30][31] โฆษกข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติว่า มีหลายคนเสียชีวิตระหว่างทาง[32] ภายในค่าย อัตราการตายของทารกได้เพิ่มขึ้นสามเท่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อัตราการตายทั้งหมดอยู่ที่ 7.4 คน ทุก 10,000 คนต่อวัน ซึ่งคิดเป็นมากกว่าเจ็ดเท่าของอัตราการตายใน "ภาวะฉุกเฉิน" ที่ 1 คน ทุก 10,000 คนต่อวัน[33][34] และยังมีจำนวนความรุนแรงทางเพศต่อสตรีและเด็กหญิงเพิ่มขึ้น โดยจำนวนรายงานเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 4 เท่า เหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศนี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่ระหว่างการเดินทางมายังค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งในบางกรณีรายงานในค่ายหรือเมื่อผู้อพยพใหม่ออกไปหาฟืน[31] กรณีดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเอดส์สูง[35]

ภาวะสุขอนามัยและการเกิดโรค[แก้]

เกิดการระบาดของโรคหัดในค่ายผู้ลี้ภัยในดาดับ ประเทศเคนยา โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรค(confirmed cases) จำนวน 462 ราย และเสียชีวิต 11 ราย [6] นอกจากนี้ ทั้งประเทศเอธิโอเปียและประเทศเคนยาต่างก็กำลังประสบปัญหาการระบาดอย่างหนักของโรคหัด ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัญหาวิกฤตผู้ลี้ภัย โดยในช่วงหกเดือนแรก มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 17,500 ราย [36][37] ขณะที่สถิติขององค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหัดจำนวนทั้งสิ้น 2 ล้านคน[37] การระบาดของโรคหัดในประเทศเอทิโอเปียอาจนำไปสู่การระบาดของโลกหัดในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย [37] องค์การอนามัยโลกระบุว่าในประเทศเอทิโอเปีย "มีผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรีย 8.8 ล้านคน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคอหิวาตกโรคจำนวน 5 ล้านคน" เนื่องจากมีสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดและไม่ถูกสุขอนามัย อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการรายงานว่ามีผุ้ป่วยเป็นโรคโปลิโอ [38] อัตราการเกิดโรคขาดสารอาหารในเด็กได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ในบางส่วนของประเทศเคนยาและเอธิโอเปีย และสูงกว่าร้อยละ 50 ในทางใต้ของประเทศโซมาเลีย [39][40][41] องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders หรือ Medecins Sans Frontieres) กำลังทำการรักษาเด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารรุนแรงกว่า 10,000 คนในศูนย์ให้อาหารและบริการการแพทย์ [42] หน่วยวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของสหประชาชาติระบุว่า สถานการณ์ในภาคใต้ของประเทศโซมาเลียในขณะนี้ มีลักษณะครบสามประการในการเกิดทุพภิกขภัยในวงกว้าง อันได้แก่

  1. เด็กจำนวนเกินกว่าร้อยละ 30 ประสบปัญหาโรคขาดสารอาหารรุนแรง
  2. มีผู้ใหญ่เกินกว่าสองคน หรือเด็กเกินกว่าสี่คน เสียชีวิตจากทุพภิกขัย (ความหิวโหย) ในแต่ละวัน ต่อประชากร 10,000 คน
  3. ประชากรเข้าถึงสารอาหารได้น้อยกว่า 2,100 กิโลแคลอรี่ และเข้าถึงน้ำได้น้อยกว่าสี่ลิตร ในแต่ละวัน[43] ในเดือนสิงหาคม มีการรายงานการเสียชีวิตที่ต้องสงสัยว่าจะมาจากอหิวาตกโรคจำนวน 181 ราย ในกรุงโมกาดิชู ซึ่งโรคดังกล่าวมีอาการหนักถึงเสียชีวิตได้ในกลุ่มคนที่สุขภาพดี และอาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในกลุ่มประชากรที่มีร่างกายอ่อนแอเป็นอย่างมาก[44]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Famine in Southern Somalia - Evidence for a declaration" (PDF). FEWS Net. 19 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "UN declares first famine in Africa for three decades as US withholds aid". Telegraph. 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  3. "U.S. estimates nearly 30,000 children have died in famine". Macleans CA. 5 สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 OCHA (UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs) (10 มิถุนายน 2011). "Eastern Africa Drought Humanitarian Report No. 3". reliefweb.int. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  5. Mike Wooldridge (4 กรกฎาคม 2011). "Horn of Africa tested by severe drought". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Ben Brown (8 กรกฎาคม 2011). "Horn of Africa drought: 'A vision of hell'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  7. "UNHCR chief in Eid solidarity visit to Horn of Africa". UNHCR. 30 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2011.
  8. OCHA, FEWS-Net (24 มิถุนายน 2011). "East Africa: Famine warning for southern Somalia" (PDF). FEWS-Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011.
  9. Mike Wooldridge (4 กรกฎาคม 2011). "Horn of Africa tested by severe drought". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  10. "Horn of Africa drought: Somalia aid supplies boosted". BBC News. 12 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  11. Integrated Regional Information Networks (IRIN) (5 กรกฎาคม 2011). "East Africa: Famine warning for southern Somalia". reliefweb.int. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011.
  12. "Somalia on verge of famine". CBC News. 18 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011.
  13. "UN to declare famine in parts of drought-hit Somalia". BBC. 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  14. "The forgotten people of Africa's famine cry out for aid". Telegraph. 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  15. "Famine victims soar". Sydney Morning Herald. Nairobi. 11 กันยายน 2011.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Eastern Africa: Humanitarian Snapshot" (PDF). 24 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011.
  17. 17.0 17.1 Joshua Hersh (13 กรกฎาคม 2011). "East Africa Famine Threatens Regional Stability, USAID Chief Says". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011.
  18. "EASTERN AFRICA: Too soon to blame climate change for drought". 12 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011.
  19. 19.0 19.1 "Once more unto the abyss". The Economist. 7 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011.
  20. 20.0 20.1 "African crisis exposes failed logic of humanitarian system". 18 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011.
  21. "UN Declares Famine in Two South Somalia Regions as 3.7 Million Need Help". 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  22. "UN declares famine in rebel-held Somalia". Financial Times. 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011.
  23. "Expanding famine across southern Somalia" (PDF). FEWS NET. 20 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2011.
  24. "Somali famine victims lose homes as torrential rain hits refugee camps". The Guardian. London. 31 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2011.
  25. SawaSawa.com (webmaster@sawasawa.com) (25 กรกฎาคม 2011). "Red Cross warns of catastrophe in Turkana". Kbc.co.ke. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2011.
  26. "Kenya: schools close as famine takes hold in Turkana". Indcatholicnews.com. 28 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2011.
  27. Dugan, Emily (29 กรกฎาคม 2011). "Now Kenya stands on brink of its own famine". London: Independent.co.uk. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2011.
  28. "UN: One-Third of Somalis Now Displaced". 15 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2011.
  29. "Help Kenya manage Somalia crisis, US pleads". Capital FM. 16 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011.
  30. BBC video (30 second commercial at beginning). Dadaab refugee camp in Kenya, 29 July 2011.
  31. 31.0 31.1 "Famine refugees face increased violence, aid groups say". CBC News. 25 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2011.
  32. "UNHCR chief urges more help for drought-hit Somalis". Tehran Times. 14 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011.
  33. "Somalia Food Crisis One Of Biggest In Decades: U.S. State Department Official". Huffington Post. USA. 16 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011.
  34. "Somali refugee death rate at 15 times above norm: UNHCR". Hindustan Times. India. 20 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011.
  35. "Horn of Africa Drought Crisis Factsheet 25 July 2011". United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (OCHA). 25 กรกฎาคม 2011.
  36. "UN reports measles outbreaks in Ethiopia, Kenya". USA Today. 15 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011.
  37. 37.0 37.1 37.2 "Ethiopia, Kenya Face Measles Epidemic". USA Today. 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011.
  38. Stephanie Nebehay (15 กรกฎาคม 2011). "Millions at risk of cholera in Ethiopia: WHO warns". Reuters. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2023.
  39. "UN declares famine in rebel-held Somalia". Financial Times. 20 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  40. "Eastern Africa: Humanitarian Snapshot" (PDF). Vancouver Sun. 24 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011.
  41. Joshua Hersh (15 กรกฎาคม 2011). "East Africa Famine Threatens Regional Stability, USAID Chief Says". Vancouver Sun. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011.
  42. "MSF: No More Delays or Restrictions For Somalis Needing Aid and Refuge". Médecins Sans Frontières. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011.
  43. Uri Friedman (20 กรกฎาคม 2011). "What It Took for the U.N. to Declare a Famine in Somalia". The Atlantic Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  44. "U.N.: Cholera scourge now ravaging Somalia | | The Bulletin". Bendbulletin.com. 13 สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]