ทุนนิยมยุคปลาย
ทุนนิยมยุคปลาย[1] (อังกฤษ: late-stage capitalism) เป็นคำที่ปรากฏช้ในงานพิมพ์ครั้งแรกโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน เวอร์เนอร์ ซอมบาร์ต[2] ในสหรัฐและแคนาดาปัจจุบันนิยมใช้คำนี้เพื่อเรึยกความไร้สาระ, ความย้อนแย้ง, วิกฤต, ความอยุติธรรม และความไม่เท่าเทียมที่สามารถรับรู้ได้ อันเกิดจากการพัฒนาธุรกิจในยุคใหม่[3][4]
ทุนนิยมยุคปลายเป็นคำใช้เรียกยุคสมัยทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ปี 1940 ซึ่งรวมถึงการเติบโตขอบธุรกิจยุคหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองที่เรียกว่า "ยุคทองของทุนนิยม" คำนี้ปรากฏใช้ในยุโรปภาคพื้นทวีปมาก่อน และเป็นที่รู้จักในโลกภาษาอังกฤษจากการแปลของเออร์เนสต์ แมนเดล ในหนังสือเรื่อง Late Capitalism ตีพิมพ์ในปี 1975 ที่ซึ่งแมนเดลพยายามจะให้คำอธิบายแบบมาร์กซิสต์ดั้งเดิมเกี่ยวกับ "ยุคทองของทุนนิยม"
เออร์เนสต์ แมนเดล
[แก้]นักเศรษฐศาสตร์สายมาร์กซิสตฺ เออร์เนสต์ แมนเดล ระบุว่า "ทุนนิยมยุคปลาย" จะเต็มไปด้วยเล่ห์กล (machinations) หรือ ความไม่แน่นอน (fluidities) ของทุนทางเศรษฐกิจ[5] และผ่านการการกลายเป็นสินค้า (commodification) และ การกลายเป็นอุตสาหกรรมที่สูงชึ้นมาก ที่ครอบคลุมไปถึงแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตมนุษย์มากขึ้น แมนเดลเชื่อว่า "ภาพของ[ทุนนิยมยุคปลาย]นั้นไม่ใกล้เคียงกับการเป็นภาพแทนของ 'สังคมยุคหลังอุตสาหกรรม' เลย" และทุนนิยมยุคปลาย "ประกอบสร้างการกลายเป็นอุตสาหกรรมไปทั่ว (generalized universal industrialization) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์"[6]
แมนเดลเลือกใช้คำว่า "neo-capitalism" มากกว่าจนถึงปลายทศวรรษ 1960s คำนี้ปรากฏใช้โดยนักวิชาการชาวเบลเยียมและฝรั่งเศสมากในเวลานั้น[7]
เฟรดดริก เจมซัน
[แก้]เฟรดดริก เจมซัน หยิบยืมมุมมองแบบแมนเดลมาเป็นพื้นฐานในงานเขียนชิ้นสำคัญของเขา Postmodernism, or, the Cultural Logic of Late Capitalism[8] ความเป็นหลังสมัยใหม่ของเจมซันรวมถึงรูปแบบ (mode) ใหม่ของการผลิตวัฒนธรรม (การพัฒนาของวรรณกรรม, ภาพยนตร์, วิจิตรศิลป์, วิดีโอ, ทฤษฎีทางสังคม ฯลฯ) ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากยุคสมัยใหม่
เจมซันระบุว่ายุคของทุนนิยมยุคปลายเป็นยุคใหม่และเป็นการพัฒนาที่เคยไม่คู่ขนานไปกับความต้องการของโลกมาก่อน อย่างไรก็ตาม ทุนนิยมยุคปลายแตกต่างจากการทำนายของมาร์กซ์เกี่ยวกับระยะทชนุดท้ายของทุนนิยมึงระยะนุดท้ายขอบทุนนิยม[9]
การใช้ในบริบทสมัยใหม่
[แก้]บทความปี 2017 บน The Atlantic ระบุว่า "ทุนนิยมยุคปลาย" เป็นคำกว้าง ๆ ใช้เรียกวัฒนธรรมธุรกิจยุคใหม่[2] และกลายเป็นคำที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ของทุนนิยมที่มีผลบิดเบือนชีวิตมนุษย์ มักใช้เป็นคำประชดประชันหรือวิจารณ์ นอกจากนี้ยังใบ้ในแง่ที่ว่า ทุนนิยมลักษณะนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป อะนเป็นผลจากปัญหาที่สร้างขึ้นโดยธุรกิจนั้นเริ่มมีมากขึ้นและควบคุมยากขึ้น[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สรวิศ ชัยนาม. เมื่อโลกซึมเศร้า : Mark Fisher, โลกสัจนิยมแบบทุน และลัดดาแลนด์. กรุงเทพมหานคร: Illuminations Edition; 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Lowrey, Annie (May 1, 2017). "Why the Phrase 'Late Capitalism' Is Suddenly Everywhere: An investigation into a term that seems to perfectly capture the indignities and absurdities of the modern economy". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ November 29, 2019.
- ↑ Desmond, Matthew (2019-08-14). "American Capitalism Is Brutal. You Can Trace That to the Plantation". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-06-24.
- ↑ "Late capitalism isn't killing us". theweek.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2020-06-24.
- ↑ The Jameson Reader p. 268–269
- ↑ Ernest Mandel, Late Capitalism (London: Humanities Press, 1975) p. 387
- ↑ Ernest Mandel, The economics of neocapitalism. Socialist Register 1964, pp. 56–67.
- ↑ Postmodernism, or, the Cultural Logic of Late Capitalism. Durham, NC: Duke University Press. 1991. pp. 438. ISBN 8190340328. OCLC 948832273.
- ↑ The Jameson Reader p. 164–171
- ↑ Kimberley Amadeo, “Late Stage Capitalism, Its Characteristics, and Why the Term's Trending”. The Balance, 24 August 2018.[1]; Youtube late capitalism video [2].
บรรณานุกรม
[แก้]- Fredric Jameson, "Culture and Finance Capitalism" Critical Inquiry 24 (1997) pp. 246–65
- Immanuel Wallerstein. The Essential Wallerstein (New York: The New Press, 2000), World-Systems Analysis: An Introduction (Durham: Duke University Press, 2004).
- Jacques Derrida, Specters of Marx (1994)
- Paul Mattick : Ernest Mandel’s Late Capitalism (1972)
- Chris Harman : Mandel’s Late Capitalism (July 1978)