ทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ  
ผู้ประพันธ์อาร์ลีน โมเซล
ผู้วาดภาพประกอบแบลร์ เลนต์
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ประเภทหนังสือภาพสำหรับเด็ก
สำนักพิมพ์โฮลต์, ไรน์ฮาร์ต แอนด์ วินสตัน
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1968
ชนิดสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือปกแข็ง)
ISBN0805006621
OCLC303376
398.27/0951
LC ClassPZ8.1.M8346 Ti

ทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ (อังกฤษ: Tikki Tikki Tembo) เป็นหนังสือภาพในปี ค.ศ. 1968 เขียนโดยอาร์ลีน โมเซล และวาดภาพโดยแบลร์ เลนต์[1] หนังสือเล่าเรื่องราวของเด็กชายชาวจีนผู้มีชื่อยาวซึ่งตกลงไปในบ่อน้ำ เป็นเรื่องเล่าในเชิงตำนานจุดกำเนิดของการที่ชื่อของชาวจีนมีขนาดสั้นมากในปัจจุบัน

เนื้อเรื่อง[แก้]

เรื่อง ทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ ดำเนินเรื่องในประเทศจีนยุคโบราณ สมัยที่มีธรรมเนียมว่าพ่อแม่จะให้เกียรติลูกชายคนโตด้วยการตั้งชื่อที่ยาวและซับซ้อนที่ทุกคนจะต้องพูดชื่อให้ครบถ้วน  – ไมมีชื่อเล่นและชื่อย่อใด ๆ – ในขณะที่ลูกชายคนรองมักตั้งชื่อสั้น ๆ และไม่สำคัญ ครั้งหนึ่งมีเด็กชายชื่อ ทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ-โน ซา เร็มโบ-ชาริ บาริ รูชิ-พีป เพริ เพ็มโบ (Tikki Tikki Tembo-no Sa Rembo-chari Bari Ruchi-pip Peri Pembo) ที่ชื่อมีความหมายว่า "สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดในโลกทั้งใบ" และน้องชายของเขาที่มีชื่อว่า "ชาง" (Chang) ที่ชื่อมีความหมายว่า "เล็กน้อย" หรือ "ไม่มี" ทั้งสองเล่นด้วยกันใกล้กับบ่อน้ำของที่บ้านซึ่งแม่ของทั้งสองเคยเตือนให้เลี่ยงการอยู่ใกล้บ่อน้ำ เมื่อชางตกลงไปในบ่อน้ำ พี่ชายของเขาจึงวิ่งมาบอกแม่ว่าชางตกลงไปในบ่อน้ำ แม่จึงบอกลูกคนพี่ให้ขอบันไดมาจากชายชรา พี่ชายของชางจึงไปบอกกับชายชรา ชางจึงได้รับการช่วยเหลือจากบ่อน้ำและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ต่อมาเด็กชายทั้งคู่เล่นด้วยกันใกล้บ่อน้ำอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้พี่ชายตกลงไปในบ่อน้ำ ชางจึงวิ่งไปบอกแม่และพยายามบอกเธอว่า "ทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ-โน ซา เร็มโบ-ชาริ บาริ รูชิ-พีป เพริ เพ็มโบตกลงไปในบ่อน้ำ" ตอนแรกแม่ฟังไม่ชัด ชางจึงพูดอีกครั้ง แต่ชางหายใจไม่ทันจากการวิ่ง จึงพูดละล่ำละลักและออกเสียงชื่อของพี่ชายผิด แม่ก็ยังคงบอกให้ชางพูดชื่อซ้ำอีกครั้งให้ถูกต้องเพื่อเป็นการให้เกียรติ ชางพยายามพูดซ้ำ ๆ จนที่สุดแม่จึงบอกให้ชางไปขอบันไดมาจากชายชรา ชางไปหาชายชราผู้มีบันได ตอนแรกชายชราไม่ตอบเพราะเขากำลังหลับอยู่ จากนั้นเมื่อชางพยายามปลุก ชายชราผู้มีบันไดรู้สึกรำคาญพยายามที่จะหลับต่อ หลังจากที่ชางพยายามเล่าสถานการณ์ของพี่ชายซ้ำไปซ้ำมา ในที่สุดชายชราก็ไปกับชางเพื่อช่วยพี่ชายของชางขึ้นจากบ่อน้ำ พวกเขาช่วยทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ-โน ซา เร็มโบ-ชาริ บาริ รูชิ-พีป เพริ เพ็มโบไว้ได้ แต่เพราะเขาอยู่ในบ่อน้ำนานเกินไปจึงใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า ฉากจบของเรื่องราวกล่าวว่านี่คือสาเหตุที่ชื่อของคนจีนมีขนาดสั้น

การตอบรับ[แก้]

การตกแต่งในวันคริสต์มาสของทำเนียบขาวในปี ค.ศ. 2003 แสดงฉากจากทิกกิ ทิกกิ เท็มโบ

หนังสือได้รับเสียงชื่นชมหลังการตีพิมพ์ นิตยสารเคอร์คัสรีวิวระบุว่าภาพวาดของหนังสือภาพนี้เป็น "การสอดประสานอันชาญฉลาดของรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ และภูมิทัศน์อันกว้างขวาง และฉากที่ดีของนิทานพื้นบ้านอันมีชีวิตชีวา"[2] หนังสือชนะเลิศรางวัลบอสตันโกลบ-ฮอร์นบุ๊กประจำปี ค.ศ. 1968 ในสาขาหนังสือภาพ[3]

ในปี ค.ศ. 1997 หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์เลือกให้หนังสือภาพเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน 59 วรรณกรรมเด็กของในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา[4] จากการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์เกี่ยวกับเด็กโดยสมาคมการศึกษาแห่งชาติในปี ค.ศ. 1999–2000 หนังสือนิทานภาพเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน "100 หนังสือยอดนิยมสำหรับเด็ก" (Kids' Top 100 Books)[5] Based on a 2007 online poll, the National Education Association listed the book as one of its "Teachers' Top 100 Books for Children".[6]จากผลสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ของ 100 หนังสือภาพยอดนิยม (Top 100 Picture Books) โดยนิตยสาร สคูลไลบรารีเจอร์นัล หนังสือติดอันดับที่ 35 ในผลสำรวจความคิดเห็นรายการเดียวกันในปี ค.ศ. 2012 หนังสือติดอันดับที่ 89[7][8] ตามข้อมูลชองสำนักพิมพ์ หนังสือมียอดจำหย่ายมมากกว่าหนึ่งล้านเล่มในปี ค.ศ. 2013[9]

รูปแบบหนังสือเสียงในปี ค.ศ. 2009 ได้รับการจัดอันดับโดยมูลนิธิทางเลือกผู้ปกครองเป็น "ผ่าน"[10]

คำวิจารณ์และความไม่ถูกต้อง[แก้]

หนังสือภาพถูกวิจารณ์ว่า "สนับสนุนการการเหมารวมว่าชื่อของชาวเอเชียฟังเหมือนพยางค์โง่ ๆ"[11] โดยเฉพาะเรื่องที่ชื่อตัวละครหลักไม่เหมือนชื่อของคนจีนจริง ๆ[12][13]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • จูเงมุ เรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกันจากประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. Mosel, Arlene. Tikki Tikki Tembo. New York and Chicago: Holt, Rinehart and Winston, 1968.
  2. "Tikki Tikki Tembo (review)." Kirkus Reviews, March 25, 1968. Accessed February 5, 2013.
  3. "Past Boston Globe — Horn Book Award Winners." May 30, 2011. Accessed February 5, 2013.
  4. "Children's books; 50 Years of Children's Books". New York Times (ภาษาอังกฤษ). 1997-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.
  5. National Education Association. "Kids' Top 100 Books". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2013. สืบค้นเมื่อ February 5, 2013.
  6. National Education Association (2007). "Teachers' Top 100 Books for Children". สืบค้นเมื่อ August 22, 2012.
  7. Bird, Elizabeth (April 16, 2009). "Top 100 Picture Books Poll Results (#35-31)". School Library Journal "A Fuse #8 Production" blog. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
  8. Bird, Elizabeth (May 18, 2012). "Top 100 Picture Books #89: Tikki Tikki Tembo by Arlene Mosel, illustrated by Blair Lent". School Library Journal "A Fuse #8 Production" blog. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.
  9. "(advertisement) Tikki Tikki Tembo". Macmillan Publishers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ June 29, 2022.
  10. Joy, Flora. "Tikki Tikki Tembo". Parents' Choice Foundation. สืบค้นเมื่อ February 12, 2013.[ลิงก์เสีย]
  11. Yamate, Sandra. "Asian Pacific American Children's Literature: Expanding Perceptions About Who Americans Are." Using Multiethnic Literature in the K-8 Classroom, pp. 95–128. Christopher-Gordon Publishers (1997). ISBN 0-926842-60-9.
  12. Cai, Mingshui (1994). "Images of Chinese and Chinese Americans Mirrored in Picture Books". Children's Literature in Education. 25 (3): 169–191. doi:10.1007/BF02355394. S2CID 143693966.
  13. Cai, Mingshui (2002). Multicultural Literature for Children and Young Adults: Reflections on Critical Issues. Westport, CT: Greenwood Press. p. 108. ISBN 0-313-31244-3. This name [Tikki Tikki Tembo...] does not sound like Chinese, ancient or modern. As portrayed in illustrations, the buildings, the dress, and hairdo of the lady, and the clogs worn by children are in the Japanese rather than Chinese style.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]