ความดันโลหิตในปอดสูงเรื้อรังในทารกแรกเกิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะไหลเวียนเลือดในทารกแบบเรื้อรัง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10P29.3
ICD-9747.83
DiseasesDB29889
eMedicineped/2530
MeSHD010547

ความดันโลหิตในปอดสูงเรื้อรังในทารกแรกเกิด (อังกฤษ: persistent pulmonary hypertension of the newborn) หรือ ภาวะไหลเวียนเลือดในทารกแบบเรื้อรัง (อังกฤษ: persistent fetal circulation) เป็นโรคของปอดและระบบไหลเวียนเลือดโรคหนึ่งซึ่งพบในทารกแรกเกิด มีลักษณะคือระบบไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจและปอดไม่เปลี่ยนจากการไหลเวียนแบบทารกในครรภ์มาเป็นแบบทารกแรกเกิดที่เกิดแล้วอย่างที่ควร ทำให้มีความดันเลือดในปอดสูง เกิดการไหลของเลือดผ่านทางเชื่อมจากระบบไหลเวียนด้านขวาไปซ้าย ทำให้เลือดดำซึ่งไม่มีออกซิเจนผ่านเข้ามายังระบบไหลเวียนส่วนร่างกาย ทำให้ทารกมีออกซิเจนในเลือดต่ำได้อย่างรุนแรง

พยาธิสรีรวิทยา[แก้]

ทารกในครรภ์จะมีความดันโลหิตในปอดสูงอยู่เป็นปกติ เนื่องจากทารกอาศัยการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อรับออกซิเจนเข้ากระแสเลือดผ่านทางรกแทนที่จะเป็นปอด เลือดจึงไม่จำเป็นต้องไหลผ่านปอด เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วทารกจึงจะจำเป็นต้องมีเลือดไหลผ่านปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซและรับออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อที่จะมีเลือดไหลผ่านปอดได้ความดันโลหิตของหลอดเลือดในปอดจะต้องลดลงเพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านปอดเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซและกลับมาที่หัวใจเพื่อไปเลี้ยงร่างกายส่วนอื่นๆ ได้

ทารกที่ไม่สามารถลดความดันโลหิตในปอดได้หลังคลอดออกมาจะเกิดเป็นภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังในทารกแรกเกิด

สาเหตุ[แก้]

สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตของปอดไม่ลดลงหลังทารกคลอดออกมา ได้แก่

  • เกิดการหดตัวของหลอดเลือดปอดที่ปกติ
  • ผนังหลอดเลือดในปอดหนาตัวทำให้เส้นผ่านศูนย์กลางลดลง
  • แพหลอดเลือดปอดมีขนาดเล็กผิดปกติ
  • มีการอุดกั้นการไหลของเลือดในปอด