ข้ามไปเนื้อหา

ถนนประเสริฐมนูกิจ

พิกัด: 13°49′51″N 100°37′04″E / 13.830759°N 100.617860°E / 13.830759; 100.617860
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351
ถนนประเสริฐมนูกิจ
ถนนประเสริฐมนูกิจตัดกับถนนประดิษฐมนูธรรม.jpg
ถนนประเสริฐมนูกิจช่วงที่ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว12.328 กิโลเมตร (7.660 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกถนนพหลโยธิน ใน เขตจตุจักร
ปลายทางทิศตะวันออก ทางบริการด้านใน ทล.พ.9 ใน เขตคันนายาว
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนประเสริฐมนูกิจ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 สายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คันนายาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นเส้นทางจราจรระหว่างท้องที่เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 11.656 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร เขตจตุจักร เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มุ่งไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่แขวงเสนานิคม ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว ตัดกับถนนลาดปลาเค้า จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าสู่แขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ข้ามคลองลำเจียก ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์และข้ามคลองบางขวดก่อนตัดกับถนนนวมินทร์ จากนั้นลดเหลือ 6 ช่องจราจร เข้าพื้นที่แขวงคลองกุ่ม ตรงไปทางทิศเดิม วกขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบวบขม ข้ามคลองลำปลาดุกเข้าสู่พื้นที่แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว และข้ามคลองครุก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)[1] ซึ่งในอนาคตอาจมีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับด้วย

ประวัติ

[แก้]

ชื่อถนนประเสริฐมนูกิจตั้งตามราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์; พ.ศ. 2439–2512) นักกฎหมายและศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2500 ราชทินนามหลวงประเสริฐมนูกิจเป็นราชทินนามคู่กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์; พ.ศ. 2443–2526)

เมื่อปี พ.ศ. 2546 กรุงเทพมหานคร (ดำริของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้ให้ทางเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวางเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วนรามอินทรา–อาจณรงค์) เฉพาะช่วงถนนพระราม 9 ถึงถนนลาดพร้าวเป็นชื่อ "ถนนประเสริฐมนูกิจ" โดยให้เหตุผลว่าถนนสายดังกล่าวมีความยาวมาก ทำให้การระบุที่อยู่และชื่อผู้รับทางไปรษณีย์ทำได้ไม่สะดวก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรมช่วงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านขึ้นทั่วไป ทางคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครจึงได้พิจารณาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้เปลี่ยนชื่อถนนประเสริฐมนูกิจกลับมาเป็นถนนประดิษฐ์มนูธรรมตามเดิม

จากนั้น เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่วมกับกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบให้ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 ที่นิยมเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "ถนนเกษตรตัดใหม่" หรือ "ถนนเกษตร-นวมินทร์" เป็น ถนนประเสริฐมนูกิจ แทน

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

[แก้]

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 (ถนนประเสริฐมนูกิจ) ทิศทาง: เกษตรศาสตร์–คันนายาว
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
เกษตรศาสตร์–คันนายาว (ถนนประเสริฐมนูกิจ)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกเกษตรศาสตร์ เชื่อมต่อจาก: ถนนงามวงศ์วาน (ทางลอด)
ถนนพหลโยธิน ไปบางเขน ถนนพหลโยธิน ไปลาดพร้าว
1+600 สะพานข้ามคลองบางบัว
2+110 แยกประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า ถนนลาดปลาเค้า ไป ถนนรามอินทรา (แยกลาดปลาเค้า) ถนนลาดปลาเค้า ไปแยกวังหิน
4+120 แยกเสนานิเวศน์ ซอยประเสริฐมนูกิจ 27 ไปหมู่บ้านเสนานิเวศน์ ซอยประเสริฐมนูกิจ 18 ไปถนนเสนานิคม 1 (แยกวังหิน)
4+380 ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 (มัยลาภ) ไป ถนนรามอินทรา ไม่มี
5+500 แยกสุคนธสวัสดิ์ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ไปถนนประดิษฐ์มนูธรรม ถนนสุคนธสวัสดิ์ ไปแยกโรงไม้
6+215 แยกประดิษฐ์มนูธรรม ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไป ถนนรามอินทรา (ทางแยกต่างระดับวัชรพล) ไม่มี
ทางพิเศษฉลองรัช ไป ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)
(ทางพิเศษพาดผ่านถนน)
ทางพิเศษฉลองรัช ไปบางนา
(ทางพิเศษพาดผ่านถนน)
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปถนนรามอินทรา ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปถนนลาดพร้าว
7+130 ถนนคลองลำเจียก ไปถนนนวลจันทร์ ถนนคลองลำเจียก ไปถนนประดิษฐ์มนูธรรม
8+097 แยกประเสริฐมนูกิจ–รัชดา-รามอินทรา ทล.350 ไปถนนนวลจันทร์, มีนบุรี ( ถนนรามอินทรา) ไม่มี
8+800 ถนนนวลจันทร์ ไปแยกนวลจันทร์–รัชดา-รามอินทรา ไม่มี
9+150 แยกนวลจันทร์-นวมินทร์ ถนนนวมินทร์ ไป ถนนรามอินทรา (กม.8) ถนนนวมินทร์ ไปบางกะปิ
12+328 ทล.3902 ไป ถนนรามอินทรา (ทางแยกต่างระดับรามอินทรา) ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ช่วงตั้งแต่ถนนนวมินทร์ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 เป็นช่วงที่ตัดขึ้นใหม่ในภายหลังและเปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6-8 ช่องทางจราจร

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°49′51″N 100°37′04″E / 13.830759°N 100.617860°E / 13.830759; 100.617860