ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย
Darjeeling Himalayan Railway
ขณะพักเติมน้ำที่ดาร์จีลิง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
ปลายทาง
จำนวนสถานี12
การดำเนินงาน
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศอินเดีย
ประวัติ
เปิดเมื่อ23 สิงหาคม พ.ศ. 2423
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง79.27 กม. (49.26 ไมล์)
รางกว้าง2 ฟุต (610 มม.)

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย (อังกฤษ: Darjeeling Himalayan Railway) เนื่องจากรถหัวจักรและขบวนรถมีขนาดย่อมจึงเป็นที่รู้จักในนาม รถไฟของเล่น (Toy Train) เป็นรถไฟรางแคบขนาด 2 ฟุต (610 มิลลิเมตร) เดินรถจากสถานีชุมทางนิวชัลปาอิคุฬี (New Jalpaiguri) ในเมืองศิลิคุฬี (Siliguri) กับเมืองดาร์จีลิง (Darjeeling) ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ก่อสร้างช่วงปี พ.ศ. 2422–2424 ระยะทาง 78 กิโลเมตร บนระดับความสูงชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่สถานีชุมทางนิวชัลปาอิคุฬีที่มีความสูง 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไปจนถึงสถานีดาร์จีลิงที่มีความสูง 2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขบวนรถจึงมีขนาดเล็กเพื่อความเหมาะสมแก่การเดินทางที่คดเคี้ยวบนเทือกเขาหิมาลัย

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยเดินรถโดยใช้รถจักรไอน้ำดีเอ็ชอาร์ บีคลาส (DHR B Class)[1][2] ซึ่งถูกใช้งานมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมและมีให้บริการทุกวัน นอกจากหัวรถจักรไอน้ำแล้วยังมีหัวรถจักรดีเซลให้บริการด้วย

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยได้รับเกียรติจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในนามทางรถไฟภูเขาของประเทศอินเดีย (Mountain Railways of India) เมื่อ พ.ศ. 2542[3] ร่วมกับทางรถไฟสายภูเขานีลคิรี (Nilgiri Mountain Railway) และทางรถไฟสายกาลกา-ศิมลา (Kalka–Shimla Railway)[4] ส่วนทางรถไฟสายเขามาเถราน (Matheran Hill Railway) อยู่ในบัญชีเบื้องต้นของมรดกโลก

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hughes, Hugh (1994). Indian Locomotives: Part 3 – Narrow Gauge 1863–1940. Harrow, Middlesex: The Continental Railway Circle, p. 34
  2. Marshall, Lawrence G (2001). Indian Narrow Gauge Steam Remembered. East Harling, Norfolk: Plateway Press, pp. 60–61
  3. "Mountain Railways of India". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 2006-04-30.
  4. "Kalka–Shimla Railway makes it to Unesco's World Heritage list". The Hindu Business Line. 2008-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]