ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทางด่วนเฉลิมมหานคร)
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ระบบทางด่วนขั้นที่ 1
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (สีแดง)
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร Chalerm Maha Nakhon Expressway.jpg
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว27.1 กิโลเมตร (16.8 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2524–ปัจจุบัน
สายดินแดง–ท่าเรือ
ความยาว8.9 กิโลเมตร (5.5 ไมล์)
ปลายทางทิศเหนือทางยกระดับอุตราภิมุข ทางยกระดับอุตราภิมุข / ถนนวิภาวดีรังสิต ใน เขตดินแดง
ทางแยก
ที่สำคัญ
ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษศรีรัช ใน เขตราชเทวี
ปลายทางทิศใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย
สายท่าเรือ–บางนา
ความยาว7.9 กิโลเมตร (4.9 ไมล์)
ปลายทางทิศตะวันตกทางพิเศษศรีรัช ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย
ทางแยก
ที่สำคัญ
ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษฉลองรัช ใน เขตคลองเตย
ปลายทางทิศตะวันออก ถนนเทพรัตน ใน เขตบางนา
สายท่าเรือ–ดาวคะนอง
ความยาว10.3 กิโลเมตร (6.4 ไมล์)
ปลายทางทิศตะวันออกทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย
ทางแยก
ที่สำคัญ
ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษศรีรัช ใน เขตบางคอแหลม
ปลายทางทิศตะวันตก ถนนพระรามที่ 2 ใน เขตจอมทอง
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
เมืองสำคัญกรุงเทพมหานคร
ระบบทางหลวง

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524[1][2] โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นทางพิเศษที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคต่าง ๆ ของประเทศเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องเดินทางผ่านการจราจรหนาแน่นในใจกลางกรุงเทพมหานคร ช่วยลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนถนนระดับดิน รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือคลองเตยกับภาคต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว มีระยะทางทั้งสิ้น 27.1 กิโลเมตร[2]

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ทางพิเศษเฉลิมมหานครมีจำนวน 3 เส้นทาง มีจุดเริ่มต้นทางฝั่งทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เชื่อมต่อกันที่ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายดินแดง–ท่าเรือ สายบางนา–ท่าเรือ และสายดาวคะนอง–ท่าเรือ[3]

สายดินแดง–ท่าเรือ[แก้]

จุดเริ่มต้นของทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายดินแดง - ท่าเรือ บริเวณปลายถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน
ทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงที่เป็นทางระดับดิน

ทางพิเศษสายดินแดง–ท่าเรือ เปิดให้บริการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน ผ่านถนนสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และเป็นทางระดับดินตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนพระรามที่ 4 และเป็นทางยกระดับอีกครั้งในช่วงถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง–ท่าเรือ ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 7 ด่านคือ ด่านดินแดง, ด่านเพชรบุรี, ด่านสุขุมวิท, ด่านลุมพินี (กำลังก่อสร้าง), ด่านพระรามสี่ 1, ด่านเลียบแม่น้ำ และด่านท่าเรือ 1 โดยด่านลุมพินีเชื่อมต่อโดยตรงกับโครงการวัน แบงค็อก[4]

สายท่าเรือ–บางนา[แก้]

ทางพิเศษสายท่าเรือ–บางนา เปิดให้บริการ 17 มกราคม พ.ศ. 2526 ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 บริเวณทางแยกบางนา แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านจุดตัดทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางระดับดินขนาด 6 ช่องจราจร และเป็นทางยกระดับตั้งแต่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท 50 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 4 ด่านคือ ด่านท่าเรือ 2, ด่านอาจณรงค์, ด่านสุขุมวิท 62 และด่านบางนา

สายท่าเรือ–ดาวคะนอง[แก้]

ทางพิเศษสายท่าเรือ–ดาวคะนอง เปิดให้บริการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ มีถนนรัชดาภิเษก กับ ถนนพระรามที่ 3 คู่ขนานไปตามทางด่วน ผ่านทางแยกต่างระดับบางโคล่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 9 ช่วงนี้เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และลดช่องจราจรเหลือ 4 ช่อง ตั้งแต่สะพานพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2 ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 5 ด่านคือ ด่านสาธุประดิษฐ์ 1, ด่านสาธุประดิษฐ์ 2, ด่านพระราม 3, ด่านสุขสวัสดิ์ และด่านดาวคะนอง

รายชื่อทางแยกและทางต่างระดับ[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ดินแดง–บางนา
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกดินแดง เชื่อมต่อจาก: ถนนวิภาวดีรังสิต ไป สุทธิสาร, ดอนเมือง และ ทางยกระดับอุตราภิมุข ไปดอนเมือง, รังสิต
ถนนดินแดง ไป แยกประชาสงเคราะห์ ถนนดินแดง ไป แยกสามเหลี่ยมดินแดง
2+200 ต่างระดับมักกะสัน ทางพิเศษศรีรัช ไป อโศก, พระราม 9, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางพิเศษศรีรัช ไป อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, แจ้งวัฒนะ, ดาวคะนอง
3+700 แยกทางด่วนเพชรบุรี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ไป แยกอโศก-เพชร ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ไป แยกประตูน้ำ
4+450 แยกทางด่วนเพลินจิต ถนนสุขุมวิท ไป นานา, เอกมัย ถนนเพลินจิต ไป แยกเพลินจิต
6+650 แยกทางด่วนพระราม 4 ถนนพระรามที่ 4 ไป คลองเตย ถนนพระรามที่ 4 ไป สามย่าน, หัวลำโพง
7+400 ต่างระดับท่าเรือ ไม่มี ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บางโคล่, ดาวคะนอง
ตรงไป: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ท่าเรือ, บางนา
10+750 แยกทางด่วนท่าเรือ ถนนเกษมราษฎร์ ไป ท่าเรือคลองเตย ถนนเกษมราษฎร์ ไป แยกศุลกากร
14+250 ต่างระดับอาจณรงค์ ไม่มี ทางพิเศษสาย S1 ไป บรรจบทางพิเศษบูรพาวิถี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
ไม่มี ทางพิเศษฉลองรัช ไป คลองตัน, พระราม 9, รามอินทรา
17+950 แยกบางนา ถนนสุขุมวิท ไป สำโรง, สมุทรปราการ ถนนสุขุมวิท ไป อุดมสุข, พระโขนง
ตรงไป: ถนนเทพรัตน ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
ท่าเรือ–ดาวคะนอง
กรุงเทพมหานคร 0+000 ต่างระดับท่าเรือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป พระรามที่ 4, ดินแดง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ท่าเรือ, บางนา
23+150 แยกทางด่วนสาธุประดิษฐ์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ไป ถนนจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ไป ถนนพระรามที่ 3
24+000 ต่างระดับบางโคล่ เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก จาก สมุทรสาคร
ทางพิเศษศรีรัช ไป พระราม 9, แจ้งวัฒนะ ไม่มี
25+425 สะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
27+000 ต่างระดับสุขสวัสดิ์ ถนนสุขสวัสดิ์ ไป ดาวคะนอง ถนนสุขสวัสดิ์ ไป พระประแดง
31+000 ต่างระดับดาวคะนอง ถนนพระรามที่ 2 ไป สมุทรสาคร ถนนพระรามที่ 2 ไป แยกบางปะแก้ว, ดาวคะนอง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางเข้า-ออก[แก้]

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ดินแดง-บางนา)[แก้]

จังหวัดอำเภอกม. ที่ทางออกชื่อจุดหมายปลายทางหมายเหตุ
กรุงเทพมหานครดินแดง0+000ด่านเก็บค่าผ่านทางดินแดง
0+000-ทางขึ้นดินแดง ทางพิเศษเฉลิมมหานครท่าเรือ - บางนา - ดาวคะนอง ทางพิเศษศรีรัชถ.พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
0+0001ทางลงดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต - สุทธิสารดอนเมือง
0+0001ทางยกระดับอุตราภิมุขดอนเมือง - บางปะอิน
ราชเทวี-ทางแยกต่างระดับมักกะสันทางพิเศษศรีรัชพระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
ปทุมวัน--ทางขึ้นเพชรบุรี ทางพิเศษเฉลิมมหานครท่าเรือ - บางนา - ดาวคะนอง
-4Aทางลงเพชรบุรีถนนเพชรบุรีประตูน้ำคลองตัน
-4Bถนนเพชรบุรีคลองตัน
--ทางขึ้นเพลินจิต ทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - ถนนพระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
-4ทางลงเพลินจิตถนนสุขุมวิทอโศก - สุขุมวิทเพลินจิตฝั่งเหนือ – ประตูนํ้า
-5ทางออกเพลินจิตฝั่งใต้เพลินจิตฝั่งใต้ - สวนลุมพินี
--ทางเข้าลุมพินีทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
--ทางออกลุมพินีวัน แบงค็อก - ถนนวิทยุ - ซอยปลูกจิต
--ทางขึ้นพระราม 4ทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
-6ทางลงพระราม 4พระราม ๔คลองเตย - ลุมพินี
--ทางขึ้นพระราม 4 (2)ทางพิเศษเฉลิมมหานครบางนา - ดาวคะนอง - รามอินทรา - สนามบินสุวรรณภูมิ
-7ทางลงพระราม 4 (2)พระราม ๔ลุมพินี
คลองเตย--ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ทางพิเศษเฉลิมมหานครบางโคล่ - ดาวคะนอง
--ทางขึ้นท่าเรือทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - ถนนพระราม ๙ - ดาวคะนอง - แจ้งวัฒนะ
-10ทางลงท่าเรือถนนเกษมราษฎร์ – ท่าเรือ - กรมศุลฯ
--ทางขึ้นท่าเรือ (2)ทางพิเศษเฉลิมมหานครบางนา
-11ทางลงท่าเรือ (2)ถนนเกษมราษฎร์ - ท่าเรือ - กรมศุลฯ
--ทางขึ้นอาจณรงค์ทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - ถนนพระราม ๙ - ดาวคะนอง - แจ้งวัฒนะ
-12ทางลงอาจณรงค์ถนนอาจณรงค์ - กล้วยน้ำไท
--ทางแยกต่างระดับอาจณรงค์ ทางพิเศษฉลองรัชพระราม ๙ - รามอินทรา - ทางพิเศษสาย S1เชื่อมต่อ - ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางพลี - บางปะกง - ชลบุรี
--ซ.สุขุมวิท ๕๐
พระโขนง--ทางเข้าสุขุมวิท 62ทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - ถนนพระราม ๙ - ดาวคะนอง - แจ้งวัฒนะ
-15/16ทางออกสุขุมวิท 62ซ.สุขุมวิท 62 – สุขุมวิท - พระโขนง
บางนา-ด่านเก็บค่าผ่านทางบางนา
--ทางแยกต่างระดับบางนาทางพิเศษเฉลิมมหานครดินแดง - ถนนพระราม ๙ - ดาวคะนอง - แจ้งวัฒนะ
-17Aถนนสุขุมวิทพระโขนง - บางนา
-17Bถนนสุขุมวิทสมุทรปราการ
-17Cถนนบางนา-ตราดชลบุรี
-ตรงไปถนนเทพรัตน - บางพลี - ชลบุรี
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ท่าเรือ-ดาวคะนอง)[แก้]

จังหวัดอำเภอกม. ที่ทางออกชื่อจุดหมายปลายทางหมายเหตุ
กรุงเทพมหานครคลองเตย0+0001ทางแยกต่างระดับท่าเรือทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ท่าเรือบางนา
0+0001ทางพิเศษเฉลิมมหานครพระราม ๔ - ดินแดง - พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
ยานนาวา--ทางขึ้นเลียบทางรถไฟสายแม่นํ้าทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ดินแดง - พระราม ๙ - บางนา - แจ้งวัฒนะ
-20ทางลงเลียบทางรถไฟสายแม่นํ้าถนนพระราม ๓ - ช่องนนทรี - นางลิ้นจี่
--ทางขึ้นสาธุประดิษฐ์ทางพิเศษเฉลิมมหานครท่าเรือ - บางนา - ดินแดง
-22ทางลงสาธุประดิษฐ์ถนนสาธุประดิษฐ์รัชดา - พระราม ๓
--ทางแยกต่างระดับบางโคล่ทางพิเศษศรีรัช - พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
--ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก - บางขุนเทียน - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
--ทางพิเศษเฉลิมมหานครดาวคะนอง ทางพิเศษศรีรัชพระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
-23ถนนสาธุประดิษฐ์ - จันท์ - ถนนนางลิ้นจี่
ราษฏร์บูรณะ-สะพานพระราม ๙ ข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา
--ทางแยกต่างระดับสุขสวัสดิ์ กม.9ทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ดินแดง - พระราม ๙ - บางนา - แจ้งวัฒนะ
-26 ถนนสุขสวัสดิ์พระประแดง
จอมทอง-ด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง
--ทางแยกต่างระดับดาวคะนองทางพิเศษเฉลิมมหานคร - พระราม ๙ - บางนา - ดินแดง - แจ้งวัฒนะ
-30Aถนนพระรามที่ 2ดาวคะนอง
-30Bถนนพระรามที่ 2สมุทรสาคร
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi





รายชื่อทางเข้าออกบน ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทิศทาง: บางนา - ท่าเรือ - ดินแดง - บางโคล่ - ดาวคะนอง
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด หมายเลขทางออก จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
ดินแดง - บางนา
กรุงเทพมหานคร 0+000 ทางขึ้น-ลงดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต - ลาดพร้าวหลักสี่ ไม่มี
0+000 - เชื่อมต่อจาก ทางยกระดับอุตราภิมุขดอนเมือง ไม่มี
2+200 ทางแยกต่างระดับมักกะสัน 3 ทางพิเศษศรีรัชพระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ ไม่มี
3+700 ทางขึ้น-ลงเพชรบุรี 4A ถนนเพชรบุรีประตูน้ำคลองตัน ไม่มี
3+700 ทางขึ้น-ลงเพชรบุรี 4B ถนนเพชรบุรีคลองตัน ไม่มี
4+450 ทางลงเพลินจิต - ถนนสุขุมวิทอโศก - สุขุมวิทเพลินจิตฝั่งเหนือ – ประตูนํ้า ไม่มี
ทางออกเพลินจิตฝั่งใต้ 5 เพลินจิตฝั่งใต้ - สวนลุมพินี ไม่มี
6+650 ทางขึ้น-ลงพระราม 4 6 พระราม ๔คลองเตย - ลุมพินี ไม่มี
ทางขึ้น-ลงพระราม 4 (2) 7 พระราม ๔ลุมพินี ไม่มี
7+400 ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ทางพิเศษเฉลิมมหานครบางโคล่ - ดาวคะนอง ไม่มี
10+750 ทางขึ้น-ลงท่าเรือ 10 ถนนเกษมราษฎร์ – ท่าเรือ ไม่มี
10+750 ทางขึ้น-ลงท่าเรือ (2) 11 ถนนเกษมราษฎร์ - แยกกรมศุลกากร ไม่มี
ทางขึ้น-ลงอาจณรงค์ 12 ถนนอาจณรงค์ - กล้วยน้ำไท ไม่มี
14+250 ต่างระดับอาจณรงค์ ทางพิเศษฉลองรัชพระราม ๙ - รามอินทรา - ทางพิเศษสาย S1เชื่อมต่อ - ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางพลี - บางปะกง - ชลบุรี ไม่มี
ต่างระดับอาจณรงค์ ซ.สุขุมวิท ๕๐ ไม่มี
ทางเข้า-ออกสุขุมวิท 62 15/16 ซ.สุขุมวิท 62 – สุขุมวิท - พระโขนง ไม่มี
17+950 ทางแยกต่างระดับบางนา 17A ถนนสุขุมวิทพระโขนง - บางนา ไม่มี
17+950 ทางแยกต่างระดับบางนา 17B ถนนสุขุมวิทสมุทรปราการ ไม่มี
17+950 ทางแยกต่างระดับบางนา 17C ถนนบางนา-ตราดชลบุรี ไม่มี
ท่าเรือ–ดาวคะนอง
กรุงเทพมหานคร 0+000 ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ท่าเรือบางนา ไม่มี
0+000 - ทางพิเศษเฉลิมมหานครพระราม ๔ - ดินแดง - พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ ไม่มี
ทางขึ้น-ลงพระราม 3 20 ถนนพระราม ๓ - ช่องนนทรี - นางลิ้นจี่ ไม่มี
23+150 ทางขึ้น-ลงสาธุประดิษฐ์ 22 ถนนสาธุประดิษฐ์รัชดา - พระราม ๓ ไม่มี
24+400 ทางแยกต่างระดับบางโคล่ ทางพิเศษศรีรัช - พระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ ไม่มี
24+400 ทางแยกต่างระดับบางโคล่ 23 ถนนสาธุประดิษฐ์ - จันท์ - ถนนนางลิ้นจี่ ไม่มี
25+425 สะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
27+000 ทางแยกต่างระดับสุขสวัสดิ์ กม. 9 ถนนสุขสวัสดิ์พระประแดง - ดาวคะนอง ไม่มี
31+000 ทางแยกต่างระดับดาวคะนอง 30A ถนนพระรามที่ 2ดาวคะนอง ไม่มี
31+000 ทางแยกต่างระดับดาวคะนอง 30B ถนนพระรามที่ 2สมุทรสาคร ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

การก่อสร้าง[แก้]

เมื่อเปิดใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานครแล้ว ได้มีการปรับจุดขึ้น-ลง และด่านเก็บเงินเพิ่มเติมในภายหลังดังนี้

  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพิ่มทางขึ้น-ลงถนนพระราม 4 ให้สามารถขึ้นจากจุดนี้ไปลงที่ดินแดงได้ โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านพระรามสี่ 2
  • 8 กรกฎาคม 2536 รายงานประจำปี 2536 - 2537 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หน้า 90 - 98 ซึ่งมีนายสุขวิช รังสิตพล เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีความรายละเอียดว่า คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 ให้เร่งดำเนินการปรับปรุงทางขึ้น - ลง ทางด่วนขั้นที่ 1 และคณะรัฐมนตรีรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชวน 1 ได้มีมติเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนขั้นที่ 1 บริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และบริเวณแยกต่างระดับคลองเตย [5]
  • 2 กันยายน พ.ศ. 2536 ได้เพิ่มทางต่างระดับมักกะสัน เพื่อเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช
  • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ยกเลิกด่านพระราม 3 เนื่องจากมีการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช ช่วงพญาไท-บางโคล่ ภายหลังเมื่อทางพิเศษศรีรัชช่วงนี้เปิดให้บริการแล้ว ด่านพระราม 3 ได้เปิดบริการตามปกติ แต่ปรับเส้นทางขึ้น จากเดิมขึ้นแล้วไปบางนา-ดินแดงได้ เปลี่ยนเป็นขึ้นแล้วไปแจ้งวัฒนะ ด่านพระราม 3 จึงขึ้นกับทางพิเศษศรีรัชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
  • 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539 เพิ่มด่านอาจณรงค์ 1 สำหรับรับรถที่มาจากทางพิเศษฉลองรัช ที่จะเข้าทางพิเศษเฉลิมมหานคร เพื่อไปบางนา-ดาวคะนอง-ดินแดง
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เพิ่มทางเชื่อมต่อระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุข กับทางพิเศษศรีรัช บริเวณดินแดง - มักกะสัน โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านดินแดง 1
  • 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เพิ่มทางเชื่อมระหว่างทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ กับทางด่วนเฉลิมมหานคร โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านบางจาก
  • 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เพิ่มทางขึ้น รับรถที่มาจากถนนทางรถไฟสายปากน้ำ และทางลงซอยสุขุมวิท 50 โดยมีด่านเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นมาคือ ด่านอาจณรงค์ 3

อ้างอิง[แก้]

  1. "โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 8 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ทางพิเศษเฉลิมมหานคร". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 21 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ทางพิเศษเฉลิมมหานคร". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
  4. "กทพ.แจ้งปิดเบี่ยงจราจร "ด่านพระราม 4-2 ถึงด่านลุมพินี" 6-11 ก.ค. ช่วง 4 ทุ่ม-ตี 4". mgronline.com. 2023-07-04.
  5. https://www.exat.co.th/

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]