ทักษิณคังโคตรี
สถานีทักษิณคังโคตรี | |
---|---|
พิกัด: 70°45′S 11°35′E / 70.750°S 11.583°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
บริหารโดย | โครงการแอนตาร์กติกอินเดีย |
ตั้ง | 26 มกราคม ค.ศ. 1984 |
ยุบเลิด | 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 |
เว็บไซต์ | National Centre for Antarctic and Ocean Research (NCAOR) |
ทักษิณคังโคตรี (อักษรโรมัน: Dakshin Gangotri) เป็นสถานีวิจัยแรกของอินเดียบนแอนตาร์กติกา ส่วนหนึ่งของโครงการแอนตาร์กติกอินเดีย สถานีตั้งอยูที่ระยะทาง 2,500 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) จากขั้วโลกใต้[1] ปัจจุบันสถานีใช้งานเป็นจุดเก็บพัสดุ (supply base) และเป็นที่พักค้างแรมเพื่อเดินทางต่อ (transit camp)[2] สถานีตั้งชื่อตามธารน้ำแข็งทักษิณคังโคตรี
สถานีตั้งขึ้นระหว่างอินเดียพิชิตแอนตาร์กติกาครั้งที่สาม ระหว่างปี 1983–84 และเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยอินเดียอาศัยบนแอนตาร์กติกาในฤดูหนาวเพื่อทำการค้นคว้าวิจัย สถานีสร้างขึ้นโดยทีมงานจำนวน 81 คน ซึ่งรวมถึงนักธรณีวิทยา สุทีปตะ เสงคุปตะ[3][4][5] การก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายเดือนมกราคม 1984 โดยความช่วยเหลือของกองทัพอินเดีย และเมื่อสร้างเสร็จก็ได้ฉลองวันสาธารณรัฐอินเดียที่สถานีร่วมกับชาวโซเวียตและเยอรมนีตะวันออก[1]
รูปแบบ
[แก้]ทักษิณคังโคตรีเป็นสถานีไม่มีคนประจำการ (unmanned station) สร้างขึ้นโดยใช้วัสดุจากอินเดีย และใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สถานีติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบเพื่อใช้บันทึกข้อมูลที่วิจัยได้[6] และสร้างขึ้นโดยตั้งใจให้เป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรบนแอนตาร์กติกา ภายในยังมีจุดสื่อสารอินมาร์แซต และสถานีวิทยุสมัครเล่น[1]
สถานีแบ่งออกเป็นสองส่วน บล็อกเอ และ บี โดยบล็อกเอมีตัวสร้างกระแสไฟฟ้า, เชื้อเพลิง และที่สำหรับทำงานก่อสร้าง ซ่อมแซม และประดิษฐ์ ส่วนบล็อกบีมีส่วนห้องทดลอง ห้องวิทยุสื่อสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ[7]
ในสถานียังมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติที่บันทึกรายงานผลไว้ นอกจากนี้สถานียังถูกใช้ทดลองเกี่ยวกับคลื่นวิทยุในแอนตาร์กติกา[6] การใช้งานอื่น ๆ ของสถานีประกอบด้วยใช้เพื่อศึกษาวิทยามหาสมุทรเชิงกายภาพ, เคมีแหล่งน้ำจืด, ชีววิทยาแอนตาร์กติกา, ธรณีวิทยา, วิทยาธารน้ำแข็ง และ สนามพลังแม่เหล็กโลก[6]
ในปี 1984 อินเดียได้เปิดตัวสถานีไปรษณีย์อินเดียแห่งแรกบนแอนตาร์กติกาที่ทักษิณคังโคตรี โดยมีนักอุตุนิยมวิทยา จี. สุธกร เรา (G. Sudhakar Rao) เป็นนายไปรษณีย์คนแรกของอินเดียบนแอนตาร์กติกาเมื่อปี 1988[8][9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Annual Report 1984-1985" (PDF). Ministry of Earth Sciences (PDF). Department of Ocean Development. 1985 [1985]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-25. สืบค้นเมื่อ Apr 14, 2014.
- ↑ "English Releases".
- ↑ "Programme to celebrate India's Antartic [sic] mission". Panaji. The Hindu. 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ Apr 13, 2014.
- ↑ Srinivasan, Madhumitha (3 February 2014). "Lab on ice". Chennai. The Hindu. สืบค้นเมื่อ Apr 13, 2014.
- ↑ "India's Antarctica station at par with world: Geologist Sudipta Sengupta (Interview)"
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Annual Report 1983-1984" (PDF). Ministry of Earth Sciences (PDF). Department of Ocean Development. 1984 [1984]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-25. สืบค้นเมื่อ Apr 14, 2014.
- ↑ Sharma, Satya (2001). "Dakshin Gangotri". Breaking The Ice in Antarctica. New Age International. pp. 103–105. ISBN 9788122412901. สืบค้นเมื่อ Apr 13, 2014.
- ↑ ScoopWhoop (2016-03-04). "Did You Know India Once Had A Post Office At The Antarctic Circle? It Was A Gorgeous Sight To Behold". ScoopWhoop (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-31.
- ↑ "Indian Post Office Away From India". Mintage World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-08-31.
- ↑ "From a Spiti Hamlet to Antarctica: Here's Are India's Most Unusual Post Offices". The Better India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-31.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Antarctica, NATIONAL CENTRE FOR ANTARCTIC AND OCEAN RESEARCH (NCAOR)
- Dakshin Gangotri Station: Pride of India
- REVIEW OF THE HISTORIC SITE AND MONUMENT HSM-44 (A PLAQUE ERECTED AT “DAKSHIN GANGOTRI” STATION