ทะเลสาบฮาจิโรงาตะ
ฮาจิโรงาตะ | |
---|---|
ภาพถ่ายดาวเทียมของทะเลสาบฮาจิโรงาตะ (ในวงกลมสีแดง) ทะเลสาบแห่งนี้ถูกถมแทบทั้งหมดยกเว้นมุมตะวันออกเฉียงใต้และสายน้ำแคบ ๆ รอบ ๆ ที่ดินที่ถูกถม คาบสมุทรโองะอยู่ทางซ้ายมือ | |
ที่ตั้ง | จังหวัดอากิตะ |
พิกัด | 39°54′50″N 140°01′15″E / 39.91389°N 140.02083°E |
ชนิด | ทะเลสาบ |
ประเทศในลุ่มน้ำ | ญี่ปุ่น |
พื้นที่พื้นน้ำ | 48.3 km2 (18.6 sq mi) |
ความสูงของพื้นที่ | −4 m (−13 ft) |
ทะเลสาบฮาจิโรงาตะ (ญี่ปุ่น: 八郎潟; โรมาจิ: Hachirō-gata) เป็นทะเลสาบในจังหวัดอากิตะ ประเทศญี่ปุ่น ชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทะเลสาบฮาจิโร (ญี่ปุ่น: 八郎湖; โรมาจิ: Hachirō-ko) หรือเรียกอีกอย่างว่า ทะเลสาบปรับสภาพน้ำฮาจิโรงาตะ (ญี่ปุ่น: 八郎潟調整池; โรมาจิ: Hachirō-gata chōseichi) มีความสูงต่ำกว่า 4 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงเป็นจุดที่มีธรรมชาติที่ต่ำที่สุดในญี่ปุ่น
ทะเลสาบฮาจิโรงาตะเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในญี่ปุ่นรองจากทะเลสาบบิวะ[1] และได้มีการถมที่ดินครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1957 เพื่อเพิ่มผลิตพืชผลและก่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านโอกาตะก็ถูกตั้งขึ้นบนที่ดินที่ถูกถมเช่นกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1964 [2] ทำให้ทะเลสาบเหลือพื้นที่เพียง 48.3 ตารางกิโลเมตร (19 ตร.ไมล์) ด้วยขนาดที่เล็กลงทำให้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 18 ในญี่ปุ่น
บางคนมองว่าการถมทะเลสาบเป็นความผิดพลาดของรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นใส่ใจกับข้าวมากเกินไป และทำให้เกิดการสูญเสียต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ
การประมงหอยชิจิมิเคยเป็นอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรือง แต่ก็ลดลงเพราะทะเลสาบกลายเป็นกร่อยน้อยลง ในฤดูหนาวผู้คนนิยมตกปลาวากาซากิ โดยการเจาะพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็ง ทุกวันนี้การตกปลาแบสดำเป็นที่นิยมและดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดและนอกจังหวัด การตกปลายังคงเกิดขึ้นแม้ว่าบางคนสงสัยว่าสายพันธุ์พื้นเมืองถูกคุกคามจากปลาสายพันธุ์ต่างถิ่น
การตั้งชื่อ
[แก้]ในตํานานของทะเลสาบกล่าวว่า มีชายคนหนึ่งชื่อฮาจิโรเขาสาปเป็นมังกร และเขาเลือกที่จะอาศัยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้หลังจากเดินทางมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นทะเลสาบจึงมีชื่อว่า "ฮาจิโรงาตะ" (งาตะในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงทะเลสาบ) ต่อมาเขาได้รับความสนใจจากผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลสาบทาซาวะซึ่งเป็นทะเลสาบอีกแห่งในจังหวัดอากิตะ ทำให้เขาตัดสินใจที่จะย้ายไปอยู่กับเธอ หลังจากนั้นฮาจิโรงาตะก็ตื้นขึ้นเรื่อย ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Column: Hachirogata Lagoon | The Meiji and Taisho Eras in Photographs: From photographs in publications held by the National Diet Library - Tokyo, Kansai, Tohoku in Photographs". www.ndl.go.jp (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 October 2022.
- ↑ 民憲, 米谷; 寛, 竹谷; 浩志郎, 清水 (1983). "八郎潟干拓事業の史的考察". 日本土木史研究発表会論文集. pp. 92–99. doi:10.11532/journalhs1981.3.92. สืบค้นเมื่อ 17 October 2022.