หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทองแท่ง ทองแถม)
ทองแท่ง ทองแถม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2456
เสียชีวิต22 กันยายน พ.ศ. 2529 (73 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร (2 สมัย) อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และผู้อำนวยการธนาคารออมสิน

ประวัติ[แก้]

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็นโอรสของหม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม[1] กับหม่อมหลวงแฉล้ม ทองแถม (สกุลเดิม อิศรเสนา) หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง สมรสกับคุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม วาระศิริ) ธิดาของพระยาวาระศิริศุภเสวี (เอ. วัน วาระศิริ) และคุณหญิงจิตรลดา วาระศิริ มีบุตรธิดา 5 คน ดังนี้

  1. หม่อมหลวงหญิงจารุพันธุ์ (ทองแถม) ทองใหญ่
  2. หม่อมหลวงหญิงอุษาวดี (ทองแถม) วีรบุตร
  3. พันตำรวจโท หม่อมหลวงทองถวัลย์ ทองแถม
  4. หม่อมหลวงหญิงสุจีรา (ทองแถม) วิศิษฏ์กุล
  5. พันเอก หม่อมหลวงพงษ์ชมพูนุท ทองแถม

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2529

การทำงาน[แก้]

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506[2] เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ในปี พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2515 ในระหว่างนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในระหว่างปี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2514 และเคยเป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2515 - 2518) รวมถึงเป็นผู้จัดตั้งสถาบันธนาคารออมสินนานาชาติประจำภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน[3]

หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เว็บไซต์ราชสกุลทองแถม. ลำดับราชสกุลทองแถม เก็บถาวร 2013-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556
  2. ผู้บริหารกรมธนารักษ์
  3. "เกี่ยวกับธนาคาร > > พิพิธภัณฑ์ธนาคาร > > ผู้ก่อตั้ง > ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน > พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๑๘". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-22. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  4. วุฒิสภาไทย ชุดที่ 3
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๐๘, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๐๔๗, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘๙, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๒๘๒๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖