ทวี ญาณสุคนธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวี ญาณสุคนธ์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(คณบดีคนแรก)
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2460
พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เสียชีวิต12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (96 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ อาจารย์รุ่นบุกเบิกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในคณะผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1] ผู้บุกเบิกด้านการสอนจุลชีววิทยาทางการเกษตรในประเทศไทย และวิชาดังกล่าวได้พัฒนาจนกระทั่งกำเนิดเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา ตลอดจนดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนแรก[2]และเป็นติดต่อกันหลายสมัยจนเกษียณอายุราชการ

ชีวิต[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ เป็นบุตรของนายตา นางสมบุญ ญาณสุคนธ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และได้เข้าศึกษาเพิ่มเติมอีกหนึ่งปีที่โรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย ต่อมาได้สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ไปศึกษาระดับปริญญาตรีที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในด้านเกษตรศาสตร์ ณ University of the Philippines at Los Banos ภายหลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้กลับมาเข้ารับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ และต่อมาได้รับทุนคุรุสภาจากกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ Utah State University ในสาขาวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์นม (Dairy Science) และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกจาก Southern California University ในสาขาจุลชีววิทยา และได้ทำวิจัยหลังปริญญาเอกต่ออีกราวหนึ่งปี จึงได้เดินทางกลับพร้อมทั้งโอนย้ายสังกัดมาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีววิทยา คณะกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[3]

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างมากในด้านการวิจัย และการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ เช่น งานวิจัยด้านการใช้บักเตรีที่ให้คุณประโยชน์แก่พืชตระกูลถั่ว ซึ่งผลงานดังกล่าวได้เผยแพร่จนเป็นที่สนใจแก่วงการวิทยาศาสตร์การเกษตรทั่วโลก เคยเป็นผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมระดับนานาชาติเกี่ยวกับการเกษตรและชีววิทยาหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในด้านการวางหลักสูตรการศึกษา โดยได้ริเริ่มวางรากฐานการศึกษาสาขาจุลชีววิทยาในด้านการเกษตร อาหาร และอุตสาหกรรม ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งยังเป็นคณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วย[4]

นอกจากนี้ ในภายหลังจากที่เกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังคงเอาใจใส่ปฏิบัติงานวิชาการอย่างไม่หยุดหย่อน คือ เป็นอาจารย์พิเศษในวิชาจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยจุลชีววิทยาทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปอยู่เสมออีกด้วย

การศึกษา[แก้]

การรับราชการ[แก้]

ตำรา งานเขียน และบทความวิชาการ[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในทางวิชาการทั้งตำรา งานเขียน บทความวิชาการ ตลอดจนงานวิจัย อาทิ

ตำรา[แก้]

ชื่อตำรา ปีที่พิมพ์ รายละเอียด
คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยา[8] พ.ศ. 2501 หนังสือคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและการกำจัดเชื้อ การแยกเชื้อบริสุทธิ์ การศึกษาสมบัติบางประการของจุลินทรีย์ การควบคุมจุลินทรีย์ด้วยวิธีทางกายภาพ และเคมี การตรวจสอบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม
หลักสัตววิทยา เล่ม 1[9][10] ม.ป.ป. หนังสือชีววิทยาเบื้องต้นของเซลล์ เนื้อเยื่อและระบบอวัยวะของสัตว์ การจัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ วิวัฒนาการของสัตว์ และพฤติกรรมของสัตว์
คู่มือปฏิบัติการหลักชีววิทยา[11] พ.ศ. 2516 หนังสือคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การแบ่งเซลล์ การลำเลียงสารผ่านเซลล์ กระบวนการเมแทบอลิซึม เนื้อเยื่อพืช และโครงสร้างพืช เนื้อเยื่อสัตว์และโครงสร้างสัตว์ การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต นิเวศวิทยาเบื้องต้น และ พันธุศาสตร์เบื้องต้น
ไวน์[12] พ.ศ. 2518 หนังสืออนุสรณ์ฯ บรรยายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไวน์ ชนิดไวน์ ความหลากหลายของไวน์ และยีสต์

บทความในหนังสือ[แก้]

ชื่อบทความ ปีที่พิมพ์ ชื่อหนังสือ
การค้นคว้าเรื่องบักเตรีในแหนม[13] พ.ศ. 2509 รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 สาขาพืชและชีววิทยา สาขาสัตว์ และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 2-4 กุมภาพันธ์ 2509

บทความในวารสาร[แก้]

ชื่อบทความ ปีที่พิมพ์ ชื่อวารสาร
จำนวนบัคเตรีในไอสครีมที่กรุงเทพฯ[14] พ.ศ. 2505 วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
การศึกษาบักเตรีในลำไส้ของหอยทากยักษ์[15] พ.ศ. 2509 วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
สิ่งมีชีวิต[16] พ.ศ. 2525 วารสารวิทยาศาสตร์ ม.ก.
มะเร็งระบาดในปลา[17] พ.ศ. 2527 วารสารวิทยาศาสตร์ ม.ก.

การเชิดชูเกียรติ[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม[แก้]

  • ห้องประชุมทวี ญาณสุคนธ์ ห้องประชุมใหญ่ภายในอาคารทวี ญาณสุคนธ์ ใช้สำหรับการประชุม บรรยาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนใช้เป็นห้องบรรยายหลักของนิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือที่ระลึก “30 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก.”
  2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำเนียบคณบดี เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-05-31
  3. ที่ระลึกพิธีเปิด อาคารทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2552. (2552). ม.ป.ท: . เก็บถาวร 2019-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-19
  4. หนังสือที่ระลึก “ครบรอบ 25 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก.”
  5. หอประวัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์. บูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ. เรียกดูวันที่ 2019-07-30
  6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำเนียบคณบดี เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-05-31
  7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กึ่งศตวรรษ KU27[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2019-10-13
  8. ทวี ญาณสุคนธ์. (2501). คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  9. ทวี ญาณสุคนธ์. ([ม.ป.ป.]). หลักสัตววิทยา เล่ม 1 (I). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา.
  10. ทวี ญาณสุคนธ์. ([ม.ป.ป.]). หลักสัตววิทยา เล่ม 1 (II). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา.
  11. ทวี ญาณสุคนธ์. (2516). คู่มือปฏิบัติการหลักชีววิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.
  12. ทวี ญาณสุคนธ์. (2518). อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายตา ญาณสุคนธ์. ไวน์. (น. 73 หน้า). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศรีเมืองการพิมพ์.
  13. ทวี ญาณสุคนธ์ และ จรูญ คำนวณตา. (2509). รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 สาขาพืชและชีววิทยา สาขาสัตว์ และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 2-4 กุมภาพันธ์ 2509. การค้นคว้าเรื่องบักเตรีในแหนม. (น. 754 หน้า). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  14. ทวี ญาณสุคนธ์ และ ศรีวัย พิกุล. (2505). จำนวนบัคเตรีในไอสครีมที่กรุงเทพฯ. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์, 2(2), 77-88.
  15. ทวี ญาณสุคนธ์ และ โชคชัย เสนะวงศ์. (2509). การศึกษาบักเตรีในลำไส้ของหอยทากยักษ์. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์, 6(2), 49-59.
  16. ทวี ญาณสุคนธ์. (2525). วารสารวิทยาศาสตร์ มก., 1(1), 9-18.
  17. ทวี ญาณสุคนธ์. (2527). มะเร็งระบาดในปลา. วารสารวิทยาศาสตร์ ม.ก., 3(1), 19-21.
  18. หนังสือที่ระลึก “ครบรอบ 25 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก.”
  19. หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้ทำประโยชน์ฯ. ศาสตราจารย์ ดร. ทวี ญาณสุคนธ์ เก็บถาวร 2019-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรียกดูวันที่ 2019-07-30
  20. คำสั่งคณะวิทยาศาสตร์ ที่ 98/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานเปิดป้ายชื่อ อาคารทวี ญาณสุคนธ์. (2551). ม.ป.ท: . เรียกดูวันที่ 2020-01-02
  21. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" พระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่มีต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2019-06-28
  22. ที่ระลึกพิธีเปิด อาคารทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2552. (2552). ม.ป.ท: . เก็บถาวร 2019-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-19
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๕๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ทวี ญาณสุคนธ์ ถัดไป
สถาปนาตำแหน่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2521)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา