ทวีปแอนตาร์กติกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนตาร์กติกา
Antarctica
พื้นที่13,720,000 ตร.กม. (อันดับที่ 5)
ประชากร≈135 คน (ถาวร)
≈5,000 (ชั่วคราว)
(อันดับที่ 7)
เดมะนิมชาวแอนตาร์กติกา (Antarctican)
ประเทศ
เขตเวลาดูที่ เวลาในทวีปแอนตาร์กติกา
โดเมนระดับบนสุด.aq
เมืองใหญ่
ภาพถ่ายดาวเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา

แอนตาร์กติกา (อังกฤษ: Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร[1] ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก

โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด[2] แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน[3] แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ[4]) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา

แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง พ.ศ. 2363 นักสำรวจชาวรัสเซียเฟเบียน ก็อทลีป ฟอน เบลลิ่งเชาเซนและมิคาอิล ลาซาเรฟที่อยู่บนเรือสลุบวอสตอคและเรือสลุบเมอร์นีย์ได้สังเกตเห็นหิ้งน้ำแข็งฟิมโบลแต่ก็ไม่ได้สนใจเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อมนุษย์ ขาดแคลนทรัพยากรในการสำรวจและความห่างไกลของพื้นที่ พ.ศ. 2438 ทีมสำรวจชาวนอร์เวย์ได้รับการยืนยันการมาเยือนดินแดนแห่งนี้เป็นครั้งแรก

ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นดินแดนใต้การปกครองร่วมโดยพฤตินัยตามกฎหมายระหว่างประเทศและอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกที่ลงนามครั้งแรกโดย 12 ประเทศใน พ.ศ. 2502 และตามด้วยการลงนามอีกเพิ่ม 38 ประเทศ ระบบสนธิสัญญานี้ห้ามมิให้มีการทำเหมืองแร่ กิจกรรมทางทหาร ทดลองระเบิดนิวเคลียร์และการกำจัดกากนิวเคลียร์แต่จะสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และปกป้องชั้นโอโซนของทวีปทำให้มีการทดลองอย่างต่อเนื่องโดนนักวิทยาศาสตร์ 4,000 คนจากหลายประเทศบนทวีปนี้

นิรุกติศาสตร์

ชื่อแอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นการถอดเป็นอักษรโรมันจากคำผสมภาษากรีกคำว่า ἀνταρκτική (antarktiké) คำนามเพศหญิง ἀνταρκτικός (antarktikós)[5] มีความหมายว่า "ตรงข้ามกับอาร์กติก" หรือ "ตรงข้ามกับทิศเหนือ"[6]

350 ปีก่อนคริสต์ศักราชอาริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับภูมิภาคแอนตาร์กติกลงในหนังสืออุตุนิยมวิทยาของเขา[7] มารินัส ออฟ ไทเออร์ได้ใช้ชื่อนี้ในแผนที่โลกที่ไม่ได้รับการดูแลตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 นักประพันธ์ชาวโรมันไฮจีนัสและอพูเลียส (คริสต์ศตวรรษที่ 1-2) ใช้คำว่า polus antarcticus แทนขั้วโลกใต้ซึ่งเป็นการถอดเป็นอักษรโรมันจากชื่อภาษากรีก[8][9] ภาษาฝรั่งเศสโบราณรับมาเป็น pole antartike (ปัจุบัน pôle antarctique) เขียนอย่างชัดเจนใน พ.ศ. 1813 และภาษาอังกฤษสมัยกลางรับมาต่อเป็นคำว่า pol antartik ในหนังสือวิชาการโดยเจฟฟรีย์ ชอสเซอร์ พ.ศ. 1934 (ปัจจุบัน Antarctic Pole)[10]

ก่อนที่จะมีความหมายทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน คำนี้จะเอาไวใช้เรียกสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ "ตรงข้ามกับทางเหนือ" เช่นอาณานิคมฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในบราซิลเป็นเวลาสั้น ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เรียกว่า "แอนตาร์กติกาฝรั่งเศส" (France Antarctique)

ในยุค 1890 จอห์น จอร์จ บาร์โธโลมิวชาวสกอตแลนด์ได้ทำแผนที่โดยใช้คำว่าแอนตาร์กติกาเป็นชื่อทวีปครั้งแรก[11]

การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้

เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่าง ๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายใต้น้ำแข็งที่หนากว่า 2,000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 2010 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร

ศูนย์วิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติกา

ดินแดนหลาย ๆ แห่งในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่าง ๆ อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1,000 คน และจะเพิ่มเป็น 4,000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมกเมอร์โดที่อยู่ในเขตที่นิวซีแลนด์อ้างกรรมสิทธิ์เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1,000 คน

ภูมิประเทศ

แอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิลรอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร[12]

ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกา พืดน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.6 กิโลเมตร ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร[13]

จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซิฟ มีความสูง 4,892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัสบนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน[14]

อาณาเขตแอนตาร์กติกา

แผนที่ดินแดนอ้างสิทธิในทวีปแอนตาร์กติกา
การอ้างสิทธิ์ดินแดนแอนตาร์กติกาตามสนธิสัญญาแอนตาร์กติก:
ดินแดนอ้างสิทธิในทวีปแอนตาร์กติกา
วันที่ ประเทศ ดินแดน ชื่อในภาษาท้องถิ่น ขอบเขตการอ้างสิทธิ์ แผนที่
1908  บริเตนใหญ่  บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี British Antarctic Territory 20° ตะวันตกถึง 80° ตะวันตก
1923  นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ รอสส์ดีเพนเดนซี Ross Dependency 150° ตะวันตกถึง 160 ตะวันออก
1924  ฝรั่งเศส เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนดส์ อาเดลีแลนด์ Terre Adélie 142°2'ตะวันออก ถึง 136°11'ตะวันตกออก
1929  นอร์เวย์ นอร์เวย์ เกาะปีเตอร์ที่ 1 Peter I Øy 68°50′S 90°35′W / 68.833°S 90.583°W / -68.833; -90.583 (Peter I Island)
1933  ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี Australian Antarctic Territory 160°ตะวันออกถึง 142°2'ตะวันออก และ
136°11'ตะวันออกถึง 44°38'ตะวันออก
1939  นอร์เวย์ นอร์เวย์ ควีนมอดแลนด์ Dronning Maud Land 44°38'ตะวันออกถึง 20°ตะวันตก
1940  ชิลี ชิเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี Territorio Chileno Antártico 53°ตะวันตกถึง 90°ตะวันตก
1943  อาร์เจนตินา  อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา Antártida Argentina 25°ตะวันตกถึง 74°ตะวันตก

อดีตอาณาเขต

วันที่ ประเทศ ดินแดน ชื่อในภาษาท้องถิ่น ขอบเขตการอ้างสิทธิ์ ข้อมูล แผนที่
1912-1912  ญี่ปุ่น ยามาโตะยูคิฮาระ 大和雪原 150° ตะวันตกถึง 160 ตะวันออก ปัจจุบันดินแดนนี้คือ รอสส์ดีเพนเดนซี
1939-1945  เยอรมนี นาซีเยอรมนี นิวสวาเบีย Neuschwabenland 44°38'ตะวันออกถึง 20°ตะวันตก ปัจจุบันดินแดนนี้คือ ควีนมอดแลนด์

อ้างอิง

  1. British Antarctic Survey. "Bedmap2: improved ice bed, surface and thickness datasets for Antarctica" (PDF). The Cryosphere journal: 390. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  2. "La Antártida" (ภาษาSpanish). Dirección Nacional del Antártico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2016. สืบค้นเมื่อ 13 November 2016. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |deadurl= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. Joyce, C. Alan (18 January 2007). "The World at a Glance: Surprising Facts". The World Almanac. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 7 February 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. "Coldest temperature ever recorded on Earth in Antarctica: -94.7C (−135.8F)". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.
  5. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "Antarktikos". ใน Crane, Gregory R. (บ.ก.). A Greek–English Lexicon. Perseus Digital Library. Tufts University. สืบค้นเมื่อ 18 November 2011.
  6. Hince, Bernadette (2000). The Antarctic Dictionary. CSIRO Publishing. p. 6. ISBN 978-0-9577471-1-1.
  7. Aristotle. Meteorologica. Book II, Part 5. 350 BC. Translated by E. Webster. Oxford: Clarendon Press, 1923. 140 pp.
  8. Hyginus. De astronomia. Ed. G. Viré. Stuttgart: Teubner, 1992. 176 pp.
  9. Apuleii. Opera omnia. Volumen tertium. London: Valpy, 1825. 544 pp.
  10. G. Chaucer. A Treatise on the Astrolabe. Approx. 1391. Ed. W. Skeat. London: N. Trübner, 1872. 188 pp.
  11. John George Bartholomew and the naming of Antarctica, CAIRT Issue 13, National Library of Scotland, July 2008, ISSN 1477-4186, and also "The Bartholomew Archive".
  12. Antarctica จากเวิลด์แฟกบุก เรียกข้อมูลวันที่ 13-07-2550 (อังกฤษ)
  13. "How Stuff Works: polar ice caps". howstuffworks.com. สืบค้นเมื่อ 13-07-2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  14. "Scientists Discover Undersea Volcano Off Antarctica". United States National Science Foundation. สืบค้นเมื่อ 13-07-2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น