การพองตัวของจักรวาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทฤษฎีการพองตัว)

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา การพองตัวของจักรวาล (อังกฤษ: Cosmic Inflation) หรือการพองตัวของเอกภพ คือแบบจำลองการขยายตัวแบบเอ็กโปเนนเชียลของเอกภพตามทฤษฎี ที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดบิกแบงเป็นเวลา 10−36 วินาที เนื่องจากมีความหนาแน่นของพลังงานสุญญากาศเป็นแรงดันลบ.[1] คำว่า "การพองตัว" ยังใช้ในความหมายถึงสมมุติฐานของการเกิดการพองตัว ทฤษฎีการพองตัว และยุคแห่งการพองตัวด้วย

ผลสืบเนื่องโดยตรงจากการขยายตัวของเอกภพในลักษณะนี้ เอกภพที่สังเกตได้ทั้งหมดจึงมีจุดเริ่มต้นจากย่านที่ต่อเชื่อมกันเป็นบริเวณเล็ก ๆ การพองตัวช่วยอธิบายปัญหาเก่าแก่ของจักรวาลวิทยาตามแนวทางบิกแบงได้ว่า ทำไมเอกภพจึงมีรูปร่างแบน มีความกลมกลืนกัน และสมมาตรในทุกทิศทาง ตามหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา แทนที่จะมีความโค้งสูงมาก ๆ และยุ่งเหยิงมาก ๆ ตามหลักพื้นฐานทางฟิสิกส์ การพองตัวยังช่วยอธิบายถึงจุดกำเนิดของโครงสร้างขนาดใหญ่ในจักรวาล เนื่องจากความแปรปรวนทางควอนตัมในบริเวณการพองตัวขนาดเล็ก ๆ ทำให้เกิดเป็นจุดที่เติบโตขึ้นเป็นโครงสร้างในเอกภพ (ดู กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร)[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Liddle and Lyth (2000) and Mukhanov (2005) are recent cosmology textbooks with extensive discussions of inflation. Kolb and Turner (1988) and Linde (1990) miss some recent developments, but are still widely used. Peebles (1993) provides a technical discussion with historical context. Recent review articles are Lyth and Riotto (1999) and Linde (2005). Guth (1997) and Hawking (1998) give popular introductions to inflation with historical remarks.
  2. Tyson, Neil deGrasse and Donald Goldsmith (2004), Origins: Fourteen Billion Years of Cosmic Evolution, W. W. Norton & Co., pp. 84-5.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]