ทราวิฑ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทราวิฑะ)
ทราวิฑ
ทราวิฑะ, มิลักขะ, ดราวิเดียน
ภูมิภาค:เอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในอินเดียใต้และศรีลังกา
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลของภาษาหลักของโลก
ภาษาดั้งเดิม:ภาษาทราวิฑดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
  • เหนือ
  • กลาง
  • ใต้
  • กลางตอนใต้
ISO 639-2 / 5:dra
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:49= (phylozone)
กลอตโตลอก:drav1251[1]
{{{mapalt}}}
กลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาทราวิฑ:
ชาวทราวิฑ
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 245 ล้าน
ภาษา
ตระกูลภาษาดราวิเดียน
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู, พื้นบ้าน และอื่น ๆ: เชน, พุทธ, อิสลาม, คริสต์, ยูดาย

ทราวิฑ หรือ ทราวิฑะ (สันสกฤต: Drāviḍa) หรือ มิลักขะ (สันสกฤต: Milakkha) หรือ ดราวิเดียน (อังกฤษ: Dravidian) เป็นคำที่ชาวอารยัน (ชาวอิหร่านโบราณ) ใช้เรียกชาวทมิฬ ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดีย[2] โดยดูถูกว่า ชาวพื้นเมืองที่มีความล้าหลัง มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่แปลกประหลาด และเป็นที่เกลียดชังของชาวอารยันผู้ดำรงอารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกจากนี้ มีคำกล่าวว่า "เรารับความเกลียดชังมิลักขะมาจากพระสงฆ์ในศาสนาลังกาวงศ์"[3]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ก่อนที่ชาวอารยัน (ชาวตะวันตกเรียกว่าชาวเปอร์เซีย) ซึ่งเป็นชาวอิหร่านโบราณ จะอพยพเข้ามาในดินแดนชมพูทวีป มีชาวทราวิฑะ หมายถึง ชาวทมิฬเดิมอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธุมานานกว่า 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล

มีทั้งภาษาทมิฬ และอักษรทมิฬ บ่งบอกถึงความเป็นรัฐชาติในอดีต ปัจจุบันกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีภาษาตนเองอย่างเป็นทางการใน อินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์

ประชากร[แก้]

  1. ในอินเดีย ประมาณ 300 ล้านคน ร้อยละ 25
  2. ในศรีลังกา ประมาณ 1.6 ล้านคน ร้อยละ 8
  3. ในสิงคโปร์ ประมาณ 0.4 ล้านคน ร้อยละ 8.1

อ้างอิง[แก้]

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Dravidian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. ทราวิฑะ
  3. มิลักขะ