ข้ามไปเนื้อหา

ทรงพาราโบลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรงพาราโบลาของการหมุนรอบ
ทรงพาราโบลาเชิงไฮเพอร์โบลา
พื้นผิวแสดงทรงพาราโบลาเชิงไฮเพอร์โบลา

ทรงพาราโบลา หรือ พาราโบลอยด์ (paraboloid) คือผิวกำลังสองที่แสดงด้วยสมการ

ภาพตัดขวางของทรงพาราโบลาที่แสดงโดยสมการนี้เทียบกับระนาบแนวตั้ง (ตั้งฉากกับแกน z) จะเป็นพาราโบลา

โดยเครื่องหมาย แสดงว่าอาจเป็นบวกหรือลบ อาจแบ่งเป็น

เรียกว่า ทรงพาราโบลาเชิงวงรี (elliptical paraboloid) ซึ่งภาพตัดขวางตามระนาบแนวนอนเป็นรูปวงรี และ

เรียกว่า ทรงพาราโบลาเชิงไฮเพอร์โบลา (hyperbolic paraboloid) ซึ่งภาพตัดขวางตามระนาบแนวนอนจะเป็นรูปไฮเพอร์โบลา

สำหรับทรงพาราโบลาเชิงวงรีที่ a = b นั่นคือ

จะเรียกว่าเป็น ทรงพาราโบลาของการหมุนรอบ (paraboloid of revolution) ภาพตัดขวางตามระนาบแนวนอนจะเป็นรูปวงกลม

การใช้ในงานวิศวกรรม

[แก้]

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (แสง) และเสียงที่แผ่เข้ามาขนานกับทรงพาราโบลาของการหมุนรอบจะมารวมกันที่จุดเดียวคือที่จุดโฟกัสของทรงพาราโบลา หลักการนี้ถูกใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น

  • เสาอากาศพาราโบลา
  • กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง
  • ไมโครโฟนพาราโบลา
    ไมโครโฟนที่ใช้ตัวสะท้อนพาราโบลาเพื่อเพิ่มพลังงานของเสียงเป้าหมาย[1]
  • โทรศัพท์พาราโบลา (เครื่องอัดเสียงพาราโบลา)
    อุปกรณ์ทดลองซึ่งออกแบบโดยให้พาราโบลาสองอันหันเข้าหากัน เพื่อให้ได้ยินเสียงเบา ๆ ที่จุดโฟกัสฝั่งตรงข้าม[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. スポーツ中継向け「ターゲットマイク技術」を開発 เก็บถาวร 2020-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน、NTT、2019年10月8日閲覧。
  2. 展示物・実験アイテム、学研科学創造研究所、2019年10月8日閲覧。
  3. パラボラ、名古屋市科学館、2019年10月8日閲覧。