นิโครธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ต้นกร่าง)
นิโครธ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช
ไม่ได้จัดลำดับ: พืชดอก
ไม่ได้จัดลำดับ: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
ไม่ได้จัดลำดับ: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: ขนุน
สกุล: โพ
สปีชีส์: F.  benghalensis
ชื่อทวินาม
Ficus benghalensis
L.
ชื่อพ้อง
  • Ficus indica L.

นิโครธ[1] (บาลี: นิโคฺรธ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus benghalensis) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ในสกุลโพ

ถิ่นกำเนิด[แก้]

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย, ศรีลังกา และปากีสถาน และแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นตรงเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านแน่นทึบ เรือนยอดแผ่กว้าง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ซึ่งรากอากาศนี้สามารถเจริญเติบโต เป็นลำต้นต่อไปได้ด้วย

ลักษณะ[แก้]

ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ มีความเงามัน กว้าง 10-14 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบโค้งกว้าง ออกเป็นคู่สลับกัน แขนงใบมีระหว่าง 4-6 คู่ ก้านใบอวบ ยาว 2-5 เซนติเมตร ผลกลมโต วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลจะติดแนบอยู่กับกิ่ง แต่ละผลจะมีกาบ 2-4 กาบ เมื่อผลแก่จะมีสีแดงคล้ำหรือสีแดงเลือดหมู เป็นอาหารของพวกนกได้เป็นอย่างดี การขยายพันธุ์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปเองตามธรรมชาติ โดยพวกนกมากินผลแล้วไปถ่ายมูลยังที่ต่าง ๆ

ใบและลูกไกร

ในพุทธประวัติ[แก้]

นิโครธเป็นต้นไม้มงคลประเภทหนึ่งในคติของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ กัสสปพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่าพระกัสสปพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้นิโครธ[2] จึงมักปลูกไว้ตามศาสนสถานและสวนสาธารณะต่าง ๆ เพื่อเป็นร่มเงาและเป็นที่พักพิงแก่สัตว์ต่าง ๆ

สรรพคุณทางยา[แก้]

เปลือกต้น ใช้แก้ท้องเดินแก้บิด ยาชงใช้ลดน้ำตาลในเลือด, ยาง ใช้แก้บิด แก้ท้องเดิน, ผล ใช้รับประทานได้, เมล็ด เป็นยาเย็นและยาบำรุง [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "นิโครธ". มูลนิธิพระพุทธเมตตาประชาไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-22. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวังสะ
  3. รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา เรียบเรียง หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2538

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ficus benghalensis ที่วิกิสปีชีส์