ตุ๊กแกบินหางแผ่น
ตุ๊กแกบินหางแผ่น | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Lacertilia |
วงศ์: | Gekkonidae |
สกุล: | Ptychozoon |
สปีชีส์: | P. kuhli |
ชื่อทวินาม | |
Ptychozoon kuhli Stejneger, 1902 | |
ชื่อพ้อง | |
|
ตุ๊กแกบินหางแผ่น (อังกฤษ: Kuhl's flying gecko; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptychozoon kuhli) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจำพวกตุ๊กแก มีรูปร่างคล้ายจิ้งจกบ้านทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีความลำตัวประมาณยาว 9.5 เซนติเมตร หางยาว 9.5 เซนติเมตร มีพังผืดยึดระหว่างนิ้วเท้า ใต้เท้ามีแผ่นยึดเกาะเรียงเป็นแถวเดี่ยว ปลายนิ้วมีเล็บ มีแผ่นหนังแผ่กว้างออกมาจากข้างแก้มและลำตัวทำหน้าที่เหมือนปีกเครื่องร่อน หางแบนขอบหางหยัก ปลายหางแผ่เป็นแผ่นกว้างขอบเรียบและกว้างกว่าหาง ส่วนที่เป็นหยัก สันหางมีตุ่ม ลำตัวสีน้ำตาลหรือเทา มีแถบเข้มพาดขวางบนหลัง 4 แถบ หางมีลายพาด
พบในป่าดิบในภาคใต้ของไทย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดปัตตานี พบได้จนถึงภาคเหนือของมาเลเซียจนถึงสิงคโปร์, หมู่เกาะนิโคบาร์ในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่ติดกับพม่า และพบที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ทางภาคเหนือของไทยอีกด้วย[1]
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานเช่นเดียวกับตุ๊กแกบินหางเฟิน (P. lionotum) ซึ่งเป็นตุ๊กแกในสกุลเดียวกันด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เรื่องเล่าเช้านี้". ช่อง 3. 22 October 2014. สืบค้นเมื่อ 22 October 2014.[ลิงก์เสีย]