ตีวานากู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตีวานากู : ศูนย์กลางทางจิตวิญญาณ
และการเมืองของวัฒนธรรมตีวานากู *
Welterbe.svg  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
Zonnepoort tiwanaku.jpg
ประตูพระอาทิตย์
พิกัด16°33′17.1″S 68°40′25.4″W / 16.554750°S 68.673722°W / -16.554750; -68.673722พิกัดภูมิศาสตร์: 16°33′17.1″S 68°40′25.4″W / 16.554750°S 68.673722°W / -16.554750; -68.673722
ประเทศ โบลิเวีย
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv)
อ้างอิง567
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2000 (คณะกรรมการสมัยที่ 24)
พื้นที่71.5 ha (177 เอเคอร์)
ตีวานากูตั้งอยู่ในโบลิเวีย
ตีวานากู
ที่ตั้งของตีวานากูในโบลิเวีย
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ตีวานากู (ไอมาราและเกชัว: Tiwanaku), เตียอัวนาโก (สเปน: Tiahuanaco) หรือ เตียอัวนากู (สเปน: Tiahuanacu) เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนโคลัมบัสใกล้กับทะเลสาบติติกากาทางภาคตะวันตกของประเทศโบลิเวีย และเป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ เขตโบราณคดีในปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร และรวมถึงเครื่องปั้นเผาที่มีลวดลายตกแต่ง สิ่งปลูกสร้าง และบล็อกหินขนาดใหญ่ ประชากรของเมืองนี้อาจมีจำนวนมากถึง 10,000–20,000 คนในช่วงจุดสูงสุดเมื่อประมาณ ค.ศ. 800[1]

แหล่งตีวานากูได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเมื่อ ค.ศ. 1549 โดยเปโดร ซิเอซา เด เลออน ผู้พิชิตชาวสเปน ระหว่างที่กำลังเสาะหาเมืองหลวงของภูมิภาคกุลยาซูยูทางตอนใต้ของจักรวรรดิอินคา[2]

เบร์นาเบ โกโบ นักบันทึกเหตุการณ์และมิชชันนารีเยสุอิตในเปรู รายงานว่าครั้งหนึ่งตีวานากูเคยมีชื่อว่า ไตปีกาลา (Taypiqala) ซึ่งแปลว่า "หินที่อยู่ตรงกลาง" ในภาษาไอมารา สื่อถึงความเชื่อที่ว่าตีวานากูตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของโลก[3] ชื่อที่ชาวตีวานากูรู้จักอาจสูญหายไปเนื่องจากพวกเขายังไม่มีภาษาเขียนใช้[4][5] เฮ็กการ์ตีและเบริสเฟิร์ด-โจนส์เสนอว่าภาษาปูกีนามีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะเป็นภาษาของชาวตีวานากูในสมัยนั้น[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Janusek, John (2004). Identity and Power in the Ancient Andes: Tiwanaku Cities through Time. New York: Routledge. ISBN 978-0415946346.
  2. Kolata, Alan L. (1993). The Tiwanaku: Portrait of an Andean Civilization. Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-55786-183-2.
  3. Kelley, David H.; Milone, Eugene F. (November 19, 2004). Exploring Ancient Skies: An Encyclopedic Survey of Archaeoastronomy. Springer. ISBN 978-0-387-95310-6.
  4. Hughes, Holly (October 20, 2008). Frommers 500 Places to See Before They Disappear (500 Places). Frommers. pp. 266. ISBN 978-0-470-18986-3. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
  5. "Profile: Fabricio R. Santos - The Genographic project". Genographic Project. National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
  6. Heggarty, P.; Beresford-Jones, D. (2013). "Andes: linguistic history". ใน Ness, I. (บ.ก.). The Encyclopedia of Global Human Migration. Oxford: Wiley-Blackwell. pp. 401–409. doi:10.1002/9781444351071.wbeghm852. ISBN 978-1-44435-107-1.