ตำนานโลกแบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพประกอบโลกกลมในสำเนา L'Image du monde สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14
ด้านนอกบานพับภาพ "สวนสำราญ" โดยฮีเยโรนีมึส โบสที่แสดงภาพโลกเป็นจานลอยอยู่ในทรงกลมใส

ตำนานโลกแบน เป็นความเข้าใจผิดทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่เชื่อว่านักวิชาการและผู้มีความรู้ชาวยุโรปสมัยกลางเชื่อว่าโลกแบน[1][2]

การบันทึกที่ชัดเจนแรกสุดของแนวคิดโลกกลมมาจากชาวกรีกโบราณสมัยศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล แนวคิดนี้แพร่หลายในกรีซโบราณเมื่อเอราทอสเทนีสคำนวณเส้นรอบวงโลกราว 240 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาความรู้นี้แพร่ไปพร้อมอิทธิพลกรีกในสมัยกลางตอนต้น (ประมาณค.ศ. 600–1000) ซึ่งปัญญาชนชาวยุโรปและตะวันออกกลางส่วนใหญ่น้อมรับแนวคิดโลกกลม[3] ความเชื่อโลกแบนในหมู่ชาวยุโรปที่มีการศึกษาแทบไม่ปรากฏในสมัยกลางตอนปลายเป็นต้นมา แม้จะมีการพรรณาโลกอย่างเหนือจริงในงานศิลปะ เช่น บานพับภาพ "สวนสำราญ" (The Garden of Earthly Delights) โดยฮีเยโรนีมึส โบสที่แสดงภาพโลกเป็นจานลอยอยู่ในทรงกลมใส[4]

สตีเฟน เจ กูลด์ นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันบรรยายว่า "ไม่เคยมีช่วง 'โลกแบน' ในหมู่ปัญญาชน ไม่ว่าผู้คนในสมัยนั้นและสมัยนี้จะมีแนวคิดต่อโลกเรายังไง ความรู้โลกกลมของชาวกรีกไม่เคยสูญหาย นักวิชาการสมัยกลางคนสำคัญทั้งหมดยอมรับว่าทรงกลมของโลกนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มั่นคงทางจักรวาลวิทยา"[5] เดวิด ซี. ลินด์เบิร์กและรอนัลด์ นัมเบอส์ นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชี้ว่า "มีปัญญาชนชาวคริสต์ในสมัยกลางน้อยคนที่จะไม่รู้ว่าโลกกลม [พวกเขา] ยังรู้ค่าประมาณเส้นรอบวงโลกด้วยซ้ำ"[6]

เจฟฟรีย์ เบอร์ตัน รัสเซลล์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันกล่าวว่าความเข้าใจผิดว่าโลกแบนเฟื่องฟูสูงสุดช่วงค.ศ. 1870–1920 และเกี่ยวข้องกับมโนคติที่มาจากการต่อสู้เหนือวิวัฒนาการ รัสเซลล์อ้างว่า "นอกเหนือจากข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อย ไม่มีผู้มีการศึกษาคนใดในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลเป็นต้นมาที่เชื่อว่าโลกแบน" และสันนิษฐานว่าความนิยมที่แพร่หลายของตำนานโลกแบนมาจากงานของจอห์น วิลเลียม ดราเปอร์, แอนดรูว์ ดิกสัน ไวต์และวอชิงตัน เออร์วิง[2][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Russell 1991, p. 3.
  2. 2.0 2.1 Russell 1997.
  3. Dicks, D.R. (1970). Early Greek Astronomy to Aristotle. Ithaca, N.Y.: Cornell University Press. pp. 72–198. ISBN 978-0-8014-0561-7.
  4. Gombrich 1969, pp. 162–170.
  5. Gould 1997.
  6. Lindberg & Numbers 1986, pp. 338–354.
  7. Russell 1991.
  8. Russell 1993.