ตารางสรุปเหรียญรางวัลโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตารางสรุปเหรียญรางวัลโอลิมปิก เป็นวิธีการเรียงลำดับตำแหน่งของประเทศตามจำนวนเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกยุคปัจจุบัน คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ไม่รับรองการจัดอันดับของประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ[1] อย่างไรก็ตาม ไอโอซีได้เผยแพร่การนับเหรียญรางวัลเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูล โดยแสดงจำนวนรวมของเหรียญรางวัลโอลิมปิก ที่นักกีฬาซึ่งเป็นตัวแทนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติของแต่ละประเทศได้รับ[2] ข้อกำหนดที่ไอโอซีใช้คือ เรียงตามจำนวนเหรียญทองที่นักกีฬาจากประเทศนั้น ๆ ได้รับ ในกรณีที่จำนวนเหรียญทองเท่ากัน จำนวนเหรียญเงินจะถูกนำมาพิจารณา จากนั้นจึงนำจำนวนเหรียญทองแดงมาพิจารณา หากสองประเทศมีจำนวนเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงเท่ากัน จะเรียงลำดับตามตัวอักษรในตารางตาม รหัสประเทศของไอโอซี

ระบบการจัดอันดับ[แก้]

"ฉันเชื่อว่าแต่ละประเทศจะเน้นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ประเทศหนึ่งจะพูดว่า 'เหรียญทอง' ประเทศอื่นจะพูดว่า 'ยอดรวมนับได้' เราไม่มีจุดยืนในเรื่องนี้"

ฌัก โรคเคอ ประธานไอโอซี[3]

เนื่องจากไอโอซีไม่ถือว่าการเรียงลำดับประเทศเป็นระบบการจัดอันดับอย่างเป็นทางการ จึงใช้วิธีต่าง ๆ ในการจัดอันดับประเทศ การจัดอันดับบางประเภทตัดสินจากจำนวนเหรียญรางวัลทั้งหมดที่ประเทศได้รับ แต่รายชื่อส่วนใหญ่มาจากการนับเหรียญทอง อย่างไรก็ตาม หากสองทีมขึ้นไปมีจำนวนเหรียญทองเท่ากัน เหรียญเงินจะเป็นตัวตัดสินโดยเรียงจากมากไปน้อยและตามด้วยเหรียญทองแดง

อันดับการนับเหรียญรางวัล[แก้]

ระบบการจัดอันดับ gold first ที่อธิบายไว้ข้างต้นนั้นถูกใช้โดยสื่อส่วนใหญ่ของโลก รวมถึงไอโอซี ในขณะที่สื่ออเมริกันบางแห่งใช้ระบบการจัดอันดับเหรียญทองเป็นบางครั้ง แต่หนังสือพิมพ์ในสหรัฐเผยแพร่ตารางเหรียญรางวัลเป็นหลักโดยเรียงลำดับตาม จำนวนรวม ของเหรียญรางวัลที่ชนะ[4][5][6][7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Johnson, Ian (13 August 2008). "Who's on First in Medals Race". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  2. Araton, Harvey (18 August 2008). "A Medal Count That Adds Up To Little". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  3. Shipley, Amy (25 August 2008). "China's Show of Power". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  4. Eason, Kevin (2008-08-25). "America refuses to accept defeat in Olympic medal count". The Times (UK). สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  5. Flyan, Kevin (2008-08-19). "Who's top of the medals table?". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  6. Wetzel, Dan (2008-08-22). "U.S. will be rocked by China's heavy medals". Yahoo! Sports. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
  7. Pells, Eddie (5 March 2008). "US, China set low Olympic expectations". USA Today. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.