ตายโหง (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตายโหง
กำกับ
บทภาพยนตร์พัฒนะ จิรวงศ์
มานุสส วรสิงห์
ทศพร มงคล
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
เนื้อเรื่องพจน์ อานนท์
อำนวยการสร้างธวัชชัย พันธุ์ภักดี
พจน์ อานนท์
นักแสดงนำ
ผู้จัดจำหน่ายพระนครฟิล์ม
วันฉาย28 มกราคม พ.ศ. 2553
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

ตายโหง เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญเหนือธรรมชาติ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2553 จัดทำโดยพระนครฟิลม์ กำกับโดย พจน์ อานนท์, ธัญญ์วาริน สุขพิสิษฐ์, มานุสส วรสิงห์ และ ชาติชาย เกษนัส ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่นำข่าวหน้าหนึ่งที่เกี่ยวกับผีและความตาย 4 เรื่องมาทำเป็นภาพยนตร์ ประกอบด้วย ข่าวฆ่ากันตายในม่านรูด, ข่าวฆ่ายัดศพลงแท็งก์น้ำ, ข่าวผีโผล่ในคุกกองปราบ และข่าวอัคคีภัยในซานติก้าผับ

พจน์ อานนท์ ได้กล่าวเกี่ยวกับความประสงค์ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า สร้างขึ้นมาเพื่อเตือนเป็นอุทาหรณ์ว่าชีวิตมีค่า ไม่ควรมาตายอย่างผิดธรรมชาติ (ตายโหง) และอย่าประมาทในการใช้ชีวิต [1] และได้วางคติพจน์ว่า "ทุกชีวิตถูกลิขิตให้...ตายโหง" ภาพยนตร์ทำรายได้ 31 ล้านบาท[2]

เนื้อเรื่อง[แก้]

ลักษณะเนื่อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้นำเอาข่าวหน้าหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผีมาทำเป็นเนื้อเรื่อง และแบ่งออกเป็น 4 ตอน โดยมีตัวละครดำเนินบทบาทให้เนื้อเรื่องเชี่ยมโยงกัน โดยมีเนื้อเรื่องดังนี้

ท่ามกลางคืนหนึ่งของผับแห่งหนึ่งชื่อ SANTAKA ได้มีผู้คนเข้ามาและออกไปอย่างมากมาย ในขณะที่ ดาว (ผีขนุน) ได้หลอก(หลอน)ล่อผู้ชายให้มาพูดเคยเพื่อขโมยของมีค่าออกไป และหนึ่งในนั้น อาร์ม ก็เป็นหนึ่งในผู้ถูกขโมยของนั้นด้วย แต่เขาไม่รู้ตัว และเดินเข้าไปในผับเพื่อไปฉลองส่งท้ายปีกับ แป้ง ซึ่งเป็นแฟนสาวของเขา ต่อจากนี้ เนื้อเรื่อง จะเริ่มในตอน "ซานติฆ่า"

ตอนที่ 1 ซานติฆ่า[แก้]

ในการฉลองส่งท้ายปีที่ผับ SANTAKA นั้น เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และมีการจุดพลุเพื่อเตรียมฉลองในงานส่งท้ายปี แต่ด้วยความประมาทของพนักงานในการเล่นไฟ จึงทำให้เกิดโศกนาฏกรรม นั่นก็คือ อัคคีภัย ทำให้ทุกคนหนีตายกันไป แต่ก็ต้องสังเวยชีวิตในกองไฟที่เผาสิ่งต่าง ๆ ไปกันจนหมดสิ้น

ในตอนนั้น อาร์มได้ไปพักที่ห้องพักแห่งหนึ่ง และเจอผีระหว่างอาบน้ำ แต่ปรากฏว่า เขาได้ฝันไป และดูข่าวก็พบว่า แป้งเสียชีวิตลงด้วยการถูกไฟคลอกตายที่ผับ อาร์มยังไม่เชื่อว่าแป้งเสียชีวิต จึงเกิดบันดาลโทสะ โวยวายที่งานศพของแป้งว่าเอาศพมาผิด ต่อมาแป้งก็โทรมาในอาการสำลักควัน เขาจึงกลับมาที่โรงแรม และพบว่า แป้งเป็นวิญญาณไปแล้ว และแสดงอาการถูกไฟเผาและหายไป ทำให้อาร์มเสียใจมาก และยิงตัวตาย

แต่ที่จริงแล้ว อาร์มก็ถูกไฟคลอกตายในตอนนั้น โดยที่มีแป้งกอดศพอาร์มด้วยความเสียใจและร้องไห้จนถูกไฟคลอกตายในที่สุด เมื่อทั้งรู้ตัวว่าตายแล้ว วิญญาณของทั้งสองก็ได้เจอกันอีกครั้งและแสดงความรักที่ความตายมิอาจพรากจากกันได้

ตอนที่ 2 คุกกองปราบ[แก้]

ที่คุกแห่งหนึ่ง ก้อง ถูกจับด้วยข้อหาค้ามียาเสพติดไว้ในครอบครองและถูกจำคุก ก่อนหน้านี้ ได้มีคนตายในคุกมาแล้ว และก้อง ผู้โชคร้ายก็ได้เข้าไปอยู่ในคุกนั้น อย่างไรก็ตาม ก็มีเพื่อนมาเยี่ยม และได้พูดคุยกันบ้าง

ในระหว่างที่ก้องอยู่ในคุก ก็เกิดเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวหลายอย่าง โดยหลัก ๆ นั้น มีผู้ชายเสื้อแดงคนหนึ่งเข้ามาพูดคุยในบริเวณดังกล่าว ตอนนั้น ก้องหวาดกลัวมากจนเจอผีในคุกกองปราบ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ มีพระมาพรมน้ำมนต์ให้แล้ว

สุดท้าย ก้องตัดสินใจ ฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอในคุก และเสียชีวิตในที่สุด (สุดท้าย กล้องวงจรปิดคุณภาพต่ำของกองปราบเกิดการขัดข้อง เนื่องจากการคอร์รัปชั่นของตำรวจ และก้องก็ถูกแขวนคอตายอย่างปริศนาในคุก)

ตอนที่ 3 ศพแท็งก์น้ำ[แก้]

ปู ชายหนุ่มหูหนวกและเป็นใบ้ (และฉลาดน้อยมากๆจนน่ากลัว) ผู้ส่งยาให้กับลูกค้า ได้กลับมาที่หอพักแห่งหนึ่ง โดยที่หอนี้ มีนวล สาวโรงงานอาศัยอยู่ที่หอนี้ด้วย ที่ห้องของปู เขาเก็บซ่อนยาไว้ยังบริเวณต่าง ๆ โดยที่ไม่มีใครรู้หรือไม่มีใครเห็น ในตอนนั้น ก็มีจ๊อยส์ มาขอซื้อยาจากปู แต่เนื่องจากไม่มีเงิน ทำให้ยอมเอารองเท้าให้และนอนค้างคืนกับปู

เมื่อปูเผลอ ด้วยอาการขาดยาของจ๊อยส์ ทำให้ไปหายามาเสพ เมื่อปูเข้ามาพบ จึงทำการบีบคอจ๊อยส์จนเสียชีวิตคาที่ ด้วยอาการกลัวของปู จึงนำศพไปซ่อนในแท็งก์น้ำ จึงทำให้จ๊อยส์ที่เสียชีวิตไป ได้หลอกหลอนปูในเวลาต่อมา เมื่อศพเริ่มเน่า ทำให้ผู้อาศัยอยู่ในหอ เริ่มมีอาการสะอิดสะเอียนกับน้ำ เพราะน้ำที่แช่ศพเริ่มเน่า จนบางคนอยู่ไม่ได้ และต้องย้ายออก

ผีจ๊อยส์ ยังคงหลอกหลอนปูอย่างต่อเนื่อง และคนที่อาศัยอยู่ในหอ เริ่มทนใช้น้ำแช่ศพไม่ไหว จน นวล เจ้าของหอและเพื่อน ๆ ต้องขึ้นไปดูว่ามีอะไรผิดปกติที่แท็งก์น้ำ ขณะนั้นปูก็ได้ขึ้นไปด้วย เมื่อนวลไปเปิดแท็งก์น้ำก็พบศพ ปูจึงพยายามผลักนวลลงแท็งก์และกดน้ำเพื่อหวังฆ่า แต่ผีจ๊อยส์จับปูลงน้ำ ส่วนนวลรอดมาได้จึงรีบออกมา และปูถูกผีฆ่าตายด้วยการถูกจับอยู่ใต้น้ำ ในที่สุด ก็มีรถมารับศพทั้งสองออกไป โดยที่นวลรู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และเพื่อนชายของนวลได้เข้าไปปลอบด้วย

ตอนที่ 4 ขึ้นครู (ฆ่ากันตายในม่านรูด)[แก้]

ดาวได้มาทำการขายบริการโดยการรอผู้ชายมารับไปนอนด้วยกัน และก็พบกับ ถั่ว และ ดำ มาขอรับตัวไป แต่ก็มีการต่อรองราคา และตกลงกันที่ 350 บาท และขับไปยังโรงแรมม่านรูดลึกลับแห่งหนึ่ง โดยมีป้าลึกลับคนหนึ่งอาศัยอยู่พร้อมกับแมวดำ และได้จัดห้องไว้ให้ทั้งสามพักกัน ระหว่างนั้นก็มีการตกลงว่าใครจะอาบน้ำก่อนหลังอย่างไร ขณะนั้น ถั่วได้ออกมาหาป้า และตกใจว่าป้าคนนั้นฆ่าแมวตาย และป้าได้เล่าเรื่องฆ่ากันตายในม่านรูดให้ฟัง และถั่วก็ได้ทราบว่า ห้องที่อยู่ มีศพอยู่ใต้เตียง

ด้วยความกลัวของถั่ว ทำให้ถั่วไปบอกทั้งสองว่าใต้เตียงมีศพ และทันใดนั้น ศพเด้งออกจากเตียงและก็ล้มลง ดำจึงเปิดดูพบว่าเป็นศพตัวเอง นั่นหมายความว่า ดำตายไปแล้ว ทำให้ดาวกลัว และพยายามหนีไปในตู้เสื้อผ้า และก็พบศพของนายถั่วซึ่งอยู่ในตู้เสื้อผ้า ดาวตกใจมาก และดาวก็รู้ว่า นายดำมีอาการเบี่ยงเบนทางเพศ และพยายามปล้ำกับนายถั่ว จนถั่วใช้มีดฆ่าปาดคอดำตาย และป้าลึกลับคนนั้น มาฆ่าถั่วด้วยความโรคจิต และซ่อนศพนายดำไว้ไต้เตียง และเอามีดให้ถั่วถือ ก่อนที่ถั่วตาย ก็ได้แทงที่ข้างหลังป้า และมาตายที่หน้าห้อง

เมื่อดาวรู้ความจริงทั้งหมด จึงรีบออกไปโรงแรมทันที โดยการนั่งรถจักรยานยนต์ (เนื่องจากวิ่งหาโอ่งลงไม่เจอ) แต่ไม่มีกุญแจ และรีบวิ่งออกไป เพราะกลัวว่าผีจะมาหลอกอีก และได้ซ้อนท้ายที่รถของนวลกับแฟนหนุ่ม และบอกให้รีบขับออกไป แต่ในที่สุด ทั้งสามถูกรถบรรทุกที่ขับเข้ามาด้วยความเร็วสูงชนเข้าอย่างจังและเสียชีวิตคาที่

บทสรุปเรื่องทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า "ตายโหง" คือตายแบบผิดธรรมชาติ จนวิญญาณก็ยังไม่รู้ตัวว่าตายไปแล้ว และตัวละครทั้งหมดในแต่ละเรื่องนั้น ได้เสียชีวิตแบบตายโหงในแต่ละเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด

นักแสดง[แก้]

เกร็ดภาพยนตร์[แก้]

  • พจน์ อานนท์ ได้กล่าวถึงการสร้างภาพยนตร์ว่า ได้พยายามสร้างโดยให้ตัวละครเชื่อมเนื้อหากันโดยไม่แบ่งเป็นตอน ๆ และได้ให้ข้อคิดถึงการใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
  • เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ชื่อเพลง "ลมหายใจของกันและกัน" ขับร้องโดย เบน ชลาทิศ ด้วยเนื้อเพลงสั้น ๆ ว่า "อาจเป็นเพราะเราคู่กัน มาแต่ชาติไหน จะรัก รักเธอตลอดไป ดั่งลมหายใจของกันและกัน"
  • พจน์ อานนท์ ได้กล่าวไว้ว่าก่อนทำโปรเจกต์เรื่อง ตายโหง เขาจะทำเกี่ยวกับ เหตุการณ์สึนามิปี 2547 แล้วยกเลิกจนเป็นเรื่อง ตายโหง ในปัจจุบัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พจน์"ตีแผ่เรื่องจริงผุดหนัง"ตายโหง"สอนใจคน[ลิงก์เสีย]
  2. "สรุป 5 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุด และต่ำสุด ครึ่งปีแรก 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 2010-06-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]