ตั๊กแตนใบไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตั๊กแตนใบไม้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีน - ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Phasmatodea
อันดับฐาน: Areolatae
สกุล

ดู #เผ่า สกุลและชนิด

ตั๊กแตนใบไม้ (อังกฤษ: Leaf Insect) มีลักษณะเหมือนใบไม้ที่มีทั้งแกนใบและเส้นใบ ที่เหมือนถูกแมลงกัดกิน โดยจะมีลักษณะหนวดของตั๊กแตนใบไม้นั้นจะเป็นแบบเส้นด้าย โดยหนวดชนิดนี้จะมีลักษณะยาว ซึ่งปล้องทุกปล้องมีขนาดเกือบเท่ากัน และจะมีปากทำหน้าที่ในการกัดและบดเคี้ยวอาหาร ประกอบด้วย Labrum เป็นแผ่นบาง ปากมีลักษณะเป็นชั้นเดียว มี mandibles ใหญ่และแข็งแรง ซึ่งด้านข้างมีลักษณะเป็นฟันเลื่อยเพื่อกัดและบดเคี้ยวอาหาร ทั้งนี้ยังมีปีกคู่หน้า ซึ่งเนื้อปีกครึ่งแข็งครึ่งอ่อนตลอดทั้งปีก และปีกคู่หลัง มีเนื้อบางใสทั้งปีก เห็นเส้นปีกชัดเจน และมี jumping leg ทำหน้าที่ยึดหรือหนีบเหยื่อที่จับได้ เช่นเดียวกับขาคู่หลังของตั๊กแตนตำข้าว

ในปัจจุบันนั้นมีการจับตั๊กแตนใบไม้กันมากเพื่อนำไปจำหน่ายหรือนำไปเลี้ยงทำให้ตั๊กแตนใบไม้ลดจำนวนลงมาก เนื่องจากมันเคลื่อนไหวได้ช้าจึงทำให้ถูกจับได้ง่าย ด้วยเหตุนี้เองกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงจัดให้ตั๊กแตนในสกุลนี้ เช่นตั๊กแตนใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้ อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าที่กำหนดให้มีการนำเข้าหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช[1]

ลักษณะ[แก้]

ตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Phasmatodea สกุล Phylium โดยแมลงในอันดับนี้คือพวกตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนใบไม้ ซึ่งถือว่าเป็นแมลงหายากที่รู้จักกันดีในชื่อของแมลงกลุ่ม Phasmids โดยลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ เป็นแมลงที่ไม่ค่อยว่องไว มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด มีรูปร่างเหมือนใบไม้และลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย แมลงกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญในแง่ของการศึกษากระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้เทคนิคการพรางตัว เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นตั๊กแตนใบไม้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการป้องกันตัว โดยใช้เทคนิคการพรางตัว ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในแง่ของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์และพืชที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 47 ล้านปี โดยคำว่า Phasma มาจากภาษาละติน แปลว่า ผี ซึ่งมาจากกลไกที่ใช้ในการหลบหลีกศัตรูของแมลงกลุ่มนี้ นั่นเอง

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของตั๊กแตนใบไม้และญาติ[แก้]

ในการศึกษาแมลงกลุ่มนี้ซึ่งมีมาตั้งแต่ ศ.ต. ที่ 18 จนถึงปัจจุบันมีรายงานว่าพบชนิดพันธุ์ทั้งสิ้นประมาณ 3000 ชนิด โดยจำแนกออกเป็น 6 วงศ์ ตามการจำแนกของ Toole (2002) ได้แก่ วงศ์ Heteromiidae วงศ์ Phamatidae วงศ์ Bacillidae วงศ์ Pseudophasmatidae วงศ์ Phyllidae และวงศ์ Timenatidae[2]

พฤติกรรม[แก้]

การพรางตัว[แก้]

เนื่องจากตั๊กแตนใบไม้เป็นแมลงที่เคลื่อนไหวช้าและไม่กระโดด การเคลื่อนที่นั้นจะใช้วิธีเดิน ปีนป่ายไปตามกิ่งไม้ ใบไม้อย่างช้าๆ ทั้งนี้พบว่ามันมีรูปร่างคล้ายกับใบไม้ที่มันกาะอาศัย ปีกมีสีเขียวคล้ายๆใบไม้ อีกทั้งยังมีปีกที่มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายกับเส้นใบไม้ จึงมองดูคล้ายกับใบไม้มาก บางครั้งมันมีการโยกตัวไหวไปมาเล็กน้อยคล้าย ๆ กับใบไม้ถูกลมพัด และบางชนิดก็มีสีน้ำตาลปนแดง ปีกมีสีคล้ายกับใบไม้แห้งที่มันเกาะอยู่ซึ่งลักษณะที่มันพรางตัวให้คล้ายกับใบไม้ที่มันเกาะอยู่นั้นก็เพื่อการหลบหนีศัตรูและการหาอาหารทำให้ศัตรูและเหยื่อไม่สามารถมองเห็นมันได้เนื่องจากรูปลักษณ์ที่เหมือนใบไม้มากๆของมันนั่นเอง จึงอาจทำให้ศัตรูและเหยื่อเข้าใจว่ามันเป็นแค่ใบไม้ใบหนึ่งเท่านั้น [3]

ในการเปลี่ยนสีของตั๊กแตนใบไม้นั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น แลความเข้มของแสงในสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ โดยการทำงานของเซลล์ Epidermis ที่อยู่เหนือผิว Cuticle ซึ่งจะมีเม็ดสี (Pigment Granules) คอยเคลื่อนที่เข้าในเซลล์ เพื่อตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ขาที่เป็นแผ่นบางๆของมันยังช่วยทำให้มีโครงสร้างกลมกลืนกับใบไม้ทำให้มันกลายเป็นใบไม้ใบหนึ่งได้ไม่ยาก [4]

ตั๊กแตนใบไม้มีวิธีการหนีศัตรูด้วยการอยู่นิ่งๆตามต้นไม้โดยเฉพาะบริเวณใบ ซึ่งตั๊กแตนใบไม้บางชนิดจะมีสีเขียวทั้งหมดเหมือนใบไม้สด บางชนิดมีสีน้ำตาลเหมือนใบไม้แห้ง นอกจากนั้นเมื่อถูกศัตรูพบเห็นก็มักจะข่มขู่ให้ศัตรูตกใจกลัว ด้วยการแผ่กางปีกที่มีสีสันสวยงามซ่อนไว้ภายในออกมาจนมีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง 2 เท่า พร้อมกับกรีดปีกให้มีเสียงดังเพื่อเป็นการขับไล่ศัตรู[5]

เผ่า สกุลและชนิด[แก้]

The Phasmida Species File (V. 5.0) ในรายชื่อมีสอง เผ่า:

Nanophylliini[แก้]

พบใน: ออสตราเลเซีย นิวกินี; ทวินาม. Zompro & Grösser, 2003

Phylliini[แก้]

พบใน: ออสตราเลเซีย เอเชีย แปซิฟิก; ทวินาน. Brunner, 1893

ชนิดที่สูญพันธุ์[แก้]

ซากดึกดำบรรพ์ของEophyllium messelensis อายุ 47 ล้านปีซึ่งเป็นบรรพบุรุษยุคก่อนประวัติศาสตร์ของตั๊กแตนใบไม้ แสดงลักษณะเดียวกับตั๊กแตนใบไม้สมัยใหม่หลายอย่างซึ่งบ่งชี้ว่าวงศ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. สุนทร ตรีนันทวัน.2555. ตั๊กแตนใบไม้สุดยอดนักพรางตัว.http://edtech.ipst.ac.th/index.php/2011-07-29-04-02- 00/2011-08-09-07-26-40/18-2011-08-09-06-29-06/316-2012-07-03-07-35-42.html
  2. สมชาย ธนสินชยกุล.2548.การศึกษานิเวศวิทยาของแมลงหายากของประเทศไทย http://www.rdi.ku.ac.th/exhibition/Year2548/01-KasetNational/Project/index_87.htm เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. สุนทร ตรีนันทวัน.2555.ตั๊กแตนใบไม้สุดยอกนัพรางตัว.http://edtech.ipst.ac.th/index.php/2011-07-29-04-02-00/2011-08-09-07-26-40/18-2011-08-09-06-29-06/316-2012-07-03-07-35-42.html
  4. นิรนาม.มปป.ความมหัศจรรย์ในการปรับตัว พรางตัว เลียนแบบ และร่วมมือของเหล่าสัตว์และพืช http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=10467.30
  5. นิรนาม.มปป.ความมหัศจรรย์ในการปรับตัว พรางตัว เลียนแบบ และร่วมมือของเหล่าสัตว์และพืช http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=10467.30
  6. Wedmann, Sonja; Bradler, Sven; Rust, Jens (9 January 2007). "The first fossil leaf insect: 47 million years of specialized cryptic morphology and behavior". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (2): 565–9. doi:10.1073/pnas.0606937104. PMC 1766425. PMID 17197423.