ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตัวนำยิ่งยวดชนิดที่ 2)

ในการศึกษาเกี่ยวกับสภาพนำยวดยิ่ง ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 (อังกฤษ: Type-II superconductor)

The B-T diagram of type-II superconductor.

คือลักษณะของการก่อตัวของกระแสหมุนวนของแม่เหล็ก (magnetic vortices) ในสนามแม่เหล็กที่นำมาใช้ สิ่งนี้เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากบางค่าของความเข้มของสนามวิกฤติ Hc1 ความหนาแน่นของกระแสหมุนวนเพิ่มขึ้นด้วยความเข้มของสนามที่เพิ่มขึ้น ที่สนามวิกฤติที่สูงขึ้น Hc2 สภาพนำไฟฟ้ายวดยิ่งจะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงและตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 จะไม่เกิดปรากฏการณ์ไมส์เนอร์(Meissner effect)ขึ้นอย่างสมบูรณ์เหมือนกับตัวนำยวดยิ่งประเภทที่ 1 [1][1]

ประวัติ[แก้]

แนวคิดของ ตัวนำยวดยิ่งทั้งสองชนิด ถูกเสนอโดยเลฟ แลนเดา (Lev Landau) และวิแทลลี จินซ์เบิร์ก (Vitaly Ginzburg) ในรายงานวิจัยของพวกเขาเกี่ยวกับทฤษฎีจินซ์เบิร์ก-แลนเดา (Ginzburg-Landau theory) ในการถกเถียงกันของพวกเขานั้น ตัวนำไฟฟ้าชนิดที่ 1 มีพลังงานอิสระเชิงบวกของตัวนำไฟฟ้าขอบเขตโลหะปกติ ในปี ค.ศ. 1935 จูบินิน (Rjabinin), เลฟ เชฟนิคอฟ (Lev Shubnikov) [2] [3] ได้ทำการทดลองและค้นพบตัวนำยวดยิ่งประเภทที่ 2 ในห้องทดลองความเย็นยิ่งยวด หรือ ไครโอเจนิค (cryogenic laboratory) ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติสถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีแห่งคาร์คิฟในเมืองคาร์คอฟ (the National Scientific Center Kharkiv Institute of Physics and Technology in Kharkov) ในยูเครน ได้ให้คำอธิบายไว้อย่างครอบคลุมไว้ในหนังสือที่มีชื่อว่า "ความไม่เป็นเชิงเส้นในสภาพนำยวดยิ่งของคลื่นไมโครเวฟ" (Nonlinearities in Microwave Superconductivity), ที่ร่วมเขียนโดย ดิมิทรี โอ เลเดนเยฟ (Dimitri O. Ledenyov) และ วิคเตอร์ โอ เลเดนเยฟ (Viktor O. Ledenyov) [4] [5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Tinkham, M. (1996). Introduction to Superconductivity, Second Edition. New York, NY: McGraw-Hill. ISBN 0486435032.
  2. J. N. Rjabinin, L.W. Schubnikow, Magnetic properties and critical currents of superconducting alloys, Physikalische Zeitschrift der Sowjetunion, vol .7, no.1, pp. 122-125, 1935.
  3. J. N. Rjabinin, L.W. Schubnikow, Magnetic properties and critical currents of supra-conducting alloys, Nature, 135, no. 3415, pp. 581-582, 1935
  4. http://adsabs.harvard.edu/abs/2012arXiv1206.4426L
  5. http://arxiv.org/abs/1206.4426