ตะบลา
![]() | |
เครื่องกระทบ | |
---|---|
ประเภท | เมมเบรนโฟน เพอร์คัชชัน |
Hornbostel–Sachs classification | 211.12 (ชุดเครื่องดนตรีที่มีตัวกลองเป็นทรงจานหรือทรงชาม) |
คิดค้นเมื่อ | ศตวรรษที่ 18 ในอินเดียเหนือ (รูปแบบปัจจุบัน) |
ช่วงเสียง | |
หนึ่งอ็อกเทฟ (แตกต่างตามกลองแต่ละคู่) [1][2] | |
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง | |
บองโก |
ตะบลา (อังกฤษ: Tabla; ฮินดี: तबला; อูรดู: طبلہ) เป็นกลองคู่จากอนุทวีปอินเดีย นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ตะบลาเป็นเครื่องตีหลักในดนตรีฮินดูสตานีคลาสสิก[3] โดยอาจเล่นเดี่ยว ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นหรือร้อง หรือเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีขนาดใหญ่ มักเล่นในการแสดงดนตรีพื้นบ้านและเพลงยอดนิยมของอินเดีย บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน เนปาล และศรีลังกา[4][5] ตะบลาเป็นเครื่องดนตรีสำคัญในประเพณีการสวดมนต์แบบภักติของศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ เช่น ในระหว่างการร้องเพลงภาชันและกีรตัน[6][7] เป็นเครื่องดนตรีกาววะลีหลักชนิดหนึ่งที่นักดนตรีซูฟีใช้ เครื่องดนตรีชนิดนี้ยังใช้ในการแสดงเต้นรำ เช่น ขะฐัก ตะบลาเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ[8]
ชื่อตะบลา อาจจะมาจากคำว่า tabl ซึ่งเป็นคำภาษาอาหรับที่แปลว่ากลอง[9] นักวิชาการยังคงถกเถียงกันว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอนุทวีปอินเดียหรือไม่ ตะบลาประกอบด้วยกลองเล็ก 2 ใบซึ่งมีขนาดและรูปร่างต่างกันเล็กน้อย[4][10] กลองแต่ละใบทำจากไม้กลวง ดินเหนียว หรือโลหะ กลองขนาดเล็ก (dayan/tabla) ใช้สร้างเสียงแหลมและเสียงโทน ในขณะที่กลองขนาดใหญ่ (baya/dagga) ทำหน้าที่หลักในการสร้างเสียงเบส กลองแต่ละใบมีห่วง เชือก และเดือยไม้ที่ด้านข้าง เดือยและห่วงใช้เพิ่มความตึงของหนังเพื่อปรับเสียงกลอง[11]
เทคนิคการเล่นมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการใช้มือและฝ่ามืออย่างมากในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างเสียงและจังหวะที่แตกต่างกันมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นในจังหวะช่วยจำ (พล - Bol)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Abram, David (1994). India: The Rough Guide (ภาษาอังกฤษ). Rough Guides. p. 1137. ISBN 978-1-85828-104-9.
- ↑ Ellingham, Mark (1999). The Rough Guide to World Music (ภาษาอังกฤษ). Rough Guides. p. 73. ISBN 978-1-85828-636-5.
- ↑ Don Michael Randel (2003). The Harvard Dictionary of Music. Harvard University Press. pp. 820, 864. ISBN 978-0-674-01163-2.
- ↑ 4.0 4.1 Tabla Encyclopædia Britannica
- ↑ Baily, John (1988). Music of Afghanistan : professional musicians in the city of Herat. Cambridgeshire [England]: Cambridge University Press. ISBN 0-521-25000-5. OCLC 17299692.
- ↑ Denise Cush; Catherine Robinson; Michael York (2012). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. pp. 87–88. ISBN 978-1-135-18978-5.
- ↑ Derek B. Scott (2009). The Ashgate Research Companion to Popular Musicology. Ashgate Publishing. p. 289. ISBN 978-0-7546-6476-5.
- ↑ Nettl, Bruno; Stone, Ruth M.; Porter, James; Rice, Timothy (บ.ก.). The Garland encyclopedia of world music. New York. ISBN 0-8240-6035-0. OCLC 36407898.
- ↑ Richard Emmert; Yuki Minegishi (1980). Musical voices of Asia: report of (Asian Traditional Performing Arts 1978). Heibonsha. p. 266. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
- ↑ William Alves (2013). Music of the Peoples of the World. Cengage Learning. p. 252. ISBN 978-1-133-30794-5.
- ↑ Neil Sorrell; Ram Narayan (1980). Indian Music in Performance: A Practical Introduction. Manchester University Press. pp. 40–41. ISBN 978-0-7190-0756-9.