ข้ามไปเนื้อหา

ตรันส์เฟอเกอเรอชัน

พิกัด: 45°35′53″N 24°36′59″E / 45.5981°N 24.6165°E / 45.5981; 24.6165
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
National Road 7C shield}}
National Road 7C
ตรันส์เฟอเกอเรอชัน
RO B Transfagarasan view towards the north from Balea Lake 2.jpg
ข้อมูลของเส้นทาง
บำรุงรักษาโดย บริษัทบริหารโครงสร้างพื้นฐานทางถนนแห่งชาติ
ความยาว151 กิโลเมตร (94 ไมล์)
ประวัติ
มีขึ้นเมื่อ1974[1]–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
จากปีเตชต์
ถึงอาร์ปาชูเดฌอส
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศRomania
เมืองสำคัญเกอเปิตซือเนน, ทะเลสาบบือเลอา, อาร์ปาชูเดฌอส, อาเรฟู, ปีเตชต์, กูร์เตอาเดอาร์เฌช
ระบบทางหลวง
ทางหลวงในประเทศโรมาเนีย

ตรันส์เฟอเกอเรอชัน (โรมาเนีย: Transfăgărășan) หรือ DN7C เป็นถนนลาดยางสายภูเขาที่ตัดผ่านตอนใต้ของเทือกเขาคาร์เพเทียนในประเทศโรมาเนีย มีสถานะถนนของรัฐ และถือเป็นถนนลาดยางที่อยู่สูงที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ รองมาจากตรันซัลปีนา ถนนเริ่มต้นใกล้กับหมู่บ้านบัสกอฟ ใกล้กับเมืองปีเตชต์ และวิ่งไปยาว 90 กิโลเมตร (56 ไมล์) ตัดกับ DN1 และซีบิว ระหว่างยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศสองยอด คือ มอลดอเวอานูกับเนกอยู ถนนสร้างขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์การทหาร เขื่อมต่อภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ทรานซิลเวเนียกับวอลเลเกียเข้าด้วยกัน[1]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ตรันส์เฟอเกอเรอชันสร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1970 ถึง 1974 ในสมัยปกครองของนีกอลาเอ ชาวูเชสกู เพื่อรับมือกับกับการรุกรานเชโกสโลวาเกียของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1968[2] ชาวูเชสกูต้องการจะสร้างความมั่นใจว่ากองทัพจะสามารถเดินทางข้ามเทือกเขาคาร์เพเทียนได้หากสหภาพโซเวียตบุกรุกรานโรมาเนีย ในเวลานั้นโรมาเนียมีเส้นทางช่องเขายุทธศาสตร์จำนวนหนึ่งที่ผ่านเทือกเขาคาร์เพเทียนใต้อยู่แล้ว เช่น DN1, DN67C และ DN66 อย่างไรก็ตาม เส้นทางเหล่านี้ทอดผ่านพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ทำให้สหภาพโซเวียตสามารถจะกีดกันและโจมตีได้ ชาวูเชสกูจึงมีคำสั่งให้ก่อสร้างถนนตัดผ่านทิวเขาเฟอเกอรัช ซึ่งแบ่งโรมาเนียตะวันตกเฉียงเหนือ ออกจากโรมาเนียใต้[1][2]

ถนนสร้างขึ้นด้วยแรงงานที่ส่วนใหญ่มาจากกองทัพ ด้วยค่าใช้จ่ายทั้งเงินทุนและแรงงานสูง ในภูมิอากาศแบบอัลไพน์ ที่ความสูง 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ในการก่อสร้างถนนใช้ระเบิดไดนาไมต์ไปรวม หกล้าน กิโลกรัม (5,900 long ton; 6,600 short ton) ซึ่งดำเนินการจุดระเบิดโดยทหารชั้นผู้น้อยที่ไม่ได้รับการฝึกฝนเรื่องเทคนิคการระเบิด มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตเป็นจำนวนมากในการก่อสร้างถนน รายงานทางการระบุยอดเสียชีวิตของทหารขณะก่อสร้างอยู่ที่ 40 ราย ในขณะที่การประมาณอย่างไม่เป็นทางการโดยคนงานคาดว่ายอดเสียชีวิตอยู่ที่หลายร้อยราย[2]

ถนนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1974 ในขณะที่งานลาดถนนยังดำเนินไปจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980[1]

เส้นทาง

[แก้]

ถนนสายตรันส์เฟอเกอเรอชันไต่ความสูงไปถึง 2,042 เมตร (6,699 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล จึงถือเป็นถนนช่องเขาที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองของโรมาเนีย รองจากตรันซัลปีนา ถนนมีลักษณะคดเคี้ยว และเต็มไปด้วยโค้งหักศอก, โค้งรูป S ขนาดยาว, และทางเลี้ยวลงที่หักศอก เส้นทางจึงเป็นทั้งที่ท่องเที่ยวและเส้นทางที่ท้าทายนักไต่เขา นักปั่นจักรยาน และนักขี่มอเตอร์ไซค์[3] นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นทางเข้าถึงน้ำตกและทะเลสาบบือเลอา โดยปกติและถนนจะปิดในเดือนตุลาคมถึงมิถุนายนเนื่องด้วยหิมะ แต่อาจจะปิดสั้นกว่าหรือยาวนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในปีนั้น ๆ

ตลอดเส้นทางมีอุโมงค์รวม 5 อุโมงค์[4] ซึ่งมากที่สุดในโรมาเนีย

ในวัฒนธรรม

[แก้]

รายการโทรทัศน์สัญชาติอังกฤษ Top Gear ในตอนแรกของฤดูกาลที่ 14 (พฤศจิกายน 2009) ถ่ายทำที่ถนนสายนี้ ผู้ดำเนินรายการ เจเรมี คลาร์กสัน อ้างว่าตรันส์เฟอเกอเรอชันเป็น "ถนนที่ดีที่สุดในโลก"[2] ก่อนหน้านี้เขาเคยให้ตำแหน่งนี้กับทางช่องเขาสเตลวีโอ ในอิตาลี

ถนนยังได้รับการเรียกล้อเลียนว่าเป็น "เรื่องโง่ของชาวูเชสกู" (Ceaușescu's Folly)[3]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Voinea, Mihai (20 กันยายน 2014). "40 de ani de la inaugurarea Transfăgărășanului, șoseaua care trebuia să poarte numele lui Ceaușescu" [40 years since the inauguration of the Transfăgărășan road that was supposed to bear the name of Ceaușescu]. Adevărul (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Stancu, Cristina (19 กุมภาพันธ์ 2015). "Cum s-a construit Transfăgărășanul, cel mai frumos drum din lume și moftul anti-URSS al lui Ceaușescu" [How the Transfăgărășan, the most beautiful road in the world and a caprice of anti-Soviet Ceaușescu, was built]. Adevărul (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2015.
  3. 3.0 3.1 Markowitz, Andy (23 เมษายน 2005). "Ceausescu's folly". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2013.
  4. "Prezentarea generala a retelei de drumuri" [General view of the road network]. CNADNR.ro (ภาษาโรมาเนีย). Ministerul Transporturilor și Infrastructurii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
KML is not from Wikidata