ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
โพ้นหิมาลัย
ภูมิภาค:เอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
ภาษาดั้งเดิม:จีน-ทิเบตดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:sit
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:79- (phylozone)
กลอตโตลอก:sino1245[1]
{{{mapalt}}}
สาขาหลักของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (อังกฤษ: Sino-Tibetan languages) หรือบางแห่งเรียกว่า ตระกูลภาษาโพ้นหิมาลัย (Trans-Himalayan languages)[2][3] เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มีสมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออก มีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน[4] ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต์

การจัดจำแนก[แก้]

การจัดจำแนกของ James Matisoff[แก้]

การจัดจำแนกของ George van Driem[แก้]

การจัดแบ่งแบบนี้ให้ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าขึ้นมาเป็นตระกูลใหญ่ และให้ภาษาจีนเป็นกลุ่มย่อย เป็นดังนี้

  • พราหมาปูตรัน ได้แก่ ภาษาธิมิล ภาษาโบโด-กอซ (รวมภาษาตรีปุระ ภาษากาโร) กลุ่มกอนยัค (รวมภาษานอคต์) กลุ่มกะชีน (รวมภาษาจิ่งเผาะ)
  • กลุ่มทิเบต-พม่าใต้ ได้แก่กลุ่มโลโล-พม่า กลุมกะเหรี่ยง
  • กลุ่มจีน-ทิเบต ได้แก่ ภาษาจีน ภาษากลุ่มทิเบต-หิมาลัย (รวมภาษาทิเบต) ภาษากลุ่มกิรันตี ภาษากลุ่มตามันกิก และอื่นๆ
  • ภาษากลุ่มอื่นๆที่เป็นกลุ่มหลักของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าเดิม เช่น ภาษาเนวารี ภาษาเกวียง ภาษานุง ภาษามาคัร

การจัดแบ่งแบบนี้เรียกสมมติฐานจีน-ทิเบต โดยถือว่าภาษาจีนและภาษาทิเบตมีความใกล้เคียงกัน

สมมติฐานจีน-ทิเบต[แก้]

เหตุผลที่จัดภาษาจีนเข้าเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เพราะมีความสัมพันธ์กันระหว่างภาษาจีนกับภาษาทิเบต เช่นลักษณะคู่ขนานระหว่างภาษาจีนโบราณกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ และมีรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้มีข้อโต้แย้งคือ ความชัดเจนของรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษากลุ่มทิเบตยังไม่ชัดเจนพอ และจากการสร้างภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมโดยใช้ข้อมูลจากวรรณคดีภาษาทิเบตและพม่า และข้อมูลจากภาษาจิ่งโปและภาษาไมโซ พบว่าภาษาจีนมีลักษณะที่จะเป็นภาษาลุกหลานของภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมน้อย สมมติฐานนี้จึงยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

คำศัพท์[แก้]

ตัวเลขจีน-ทิเบต
ชื่อ จีนเก่า[5] ทิเบตเก่า[6] พม่าเก่า[6] จิ่งเผาะ[7] กาโร[7] ลิมบู[8] กินเนารี[9] ทูเจีย[10]
"หนึ่ง" *ʔjit ac sa id
*tjek "เดี่ยว" gcig tac thik
"สอง" *njijs gnyis nhac gini nɛtchi niš ne⁵⁵
"สาม" *sum gsum sumḥ mə̀sūm gittam sumsi sum so⁵⁵
"สี่" *sjijs bzhi liy mə̀lī bri lisi pə: ze⁵⁵
"ห้า" *ŋaʔ lnga ṅāḥ mə̀ŋā boŋa nasi ṅa ũ⁵⁵
"หก" *C-rjuk drug khrok krúʔ dok tuksi țuk wo²¹
"เจ็ด" *tsʰjit khu-nac sə̀nìt sini nusi štiš ne²¹
"แปด" *pret brgyad rhac mə̀tshát chet yɛtchi rəy je²¹
"เก้า" *kjuʔ dgu kuiḥ cə̀khù sku[11] sku sgui kɨe⁵⁵
"สิบ" *gjəp kip[12] gip
bcu chay shī chikuŋ səy

อ้างอิง[แก้]

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Sino-Tibetan". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. van Driem (2014), p. 16.
  3. List, Lai & Starostin (2019), p. 1.
  4. Handel (2008), p. 422.
  5. Baxter (1992).
  6. 6.0 6.1 Hill (2012).
  7. 7.0 7.1 Burling (1983), p. 28.
  8. van Driem (1987), pp. 32–33.
  9. Sharma (1988), p. 116.
  10. Tian Desheng and He Tianzhen, et al., eds. 1986. . Beijing: Nationalities Press. Accessed via STEDT database <http://stedt.berkeley.edu/search/> on 2021-04-05.
  11. Gutman, Alejandro. "Garo". Languages Gulper. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  12. Yanson (2006), p. 106.

ข้อมูล[แก้]

ทั่วไป[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]