ดุจดวงใจไทยทั้งผอง เดอะมิวสิคัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดุจดวงใจไทยทั้งผอง เดอะมิวสิคัล
ประเภทละครเพลง (มิวสิคัล ออน ทีวี)
ละครเฉลิมพระเกียรติ
สร้างโดยบริษัท รีมายน์ จำกัด
กำกับโดยวรายุฑ มิลินทจินดา
รัญญา ศิยานนท์
ปกหญิง อินทรัตน์
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างวรายุฑ มิลินทจินดา
ความยาวตอน120 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ช่อง 3 เอชดี
ช่อง 3 เอสดี
ช่อง 3 แฟมิลี่
ออกอากาศ13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ดุจดวงใจไทยทั้งผอง เดอะมิวสิคัล เป็นละครพิเศษละครเพลงเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 ละครพิเศษ "ดุจดวงใจไทยทั้งผอง เดอะมิวสิคัล" นั้นสร้างเป็นละครเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท รีมายน์ จำกัด

ที่มาของเรื่อง[แก้]

ละครพิเศษเรื่องนี้ได้ถูกนำทำเป็นละครเพลง-คอนเสิร์ตทางโทรทัศน์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้จัดทำละครพิเศษ “ดุจดวงใจไทยทั้งผอง เดอะมิวสิคัล” ซึ่งจะออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตลอดทั้งเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2560[1] โดยเป็นการถ่ายทอดพระราชประวัติต่างๆ , พระราชกรณียกิจ , พระราชสมภพ , เหตุการณ์ต่างๆ ที่สำคัญ ทั้งพระราชจริยวัตร , ชีวิตส่วนพระองค์ต่างๆ ทั้งกีฬา, ดนตรี และพระราชดำรัสต่างๆ ของพระองค์ที่ได้ทรงวางแนวทางการดำเนินชีวิตไว้ให้กับเหล่าพสกนิกรชาวไทย รวมถึงการเล่าย้อนเหตุการณ์กลับไปในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นวันที่คนไทยทั้งประเทศต่างรู้สึกโศกเศร้ากับการสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต โดยมี สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ทำหน้าที่เป็นผู้อ่านประกาศจาก สำนักพระราชวัง นอกจากนี้ยังมีการขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ ซึ่งเป็นบทเพลงไพเราะหลากหลายบทเพลงหลากหลายแนวเพลง โดยมี อุรัสยา เสปอร์บันด์, ปริญ สุภารัตน์, คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ พร้อมด้วยเหล่าผู้จัดละคร และเหล่านักแสดงช่อง 3 อีกกว่าร้อยชีวิต มาร่วมถ่ายทอดบทเพลงพระราชนิพนธ์อันทรงคุณค่าที่คนรุ่นใหม่หาฟังได้ยากในครั้งนี้อีกด้วย และความพิเศษในการจัดสร้างละครพิเศษเรื่องนี้อยู่ที่สถานที่จัดการแสดงละครเวทีเรื่องนี้ได้จัดขึ้นที่สตูดิโอช่อง 3 หนองแขม[2] โดยมีพิธีกรผู้ดำเนินรายการ 3 ท่าน ได้แก่ ศัลย์ อิทธิสุขนันท์, รินลณี ศรีเพ็ญ และ คัทลียา แมคอินทอช

ละครโทรทัศน์[แก้]

ละครพิเศษ ดุจดวงใจไทยทั้งผอง เดอะมิวสิคัล ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท รีมายน์ จำกัด ในวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 สองช่วงเวลา ในเวลา 20:00 - 20:15 น. และเวลา 20:31 - 22:55 น. พร้อมกันทั้ง 3 ช่องได้แก่ ช่อง 3 เอชดี, ช่อง 3 เอสดี, ช่อง 3 แฟมิลี่ และออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทางช่อง 3 และช่อง 33 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.05 - 15.40 น. และวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 20.00 - 20.15 น. และรับชมต่อเนื่องในวันเดียวกันในเวลา 20.45 - 22.20 น.

รายนามนักแสดง[แก้]

เพลงประกอบละครพิเศษ[แก้]

  1. เพลง ดุจดวงใจไทยทั้งผอง - ขับร้องโดย เกียรติกมล ล่าทา
  2. เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ ๑๐ - เพลง คำหวาน - ขับร้องโดย เหล่าผู้จัดละคร-นักแสดงช่อง 3 กว่า 100 ชีวิต
  3. เพลง รูปที่มีทุกบ้าน - ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พุทธศักราช 2565
  4. เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ ๔๗ - เพลง รัก - ขับร้องโดย เหล่าผู้จัดละคร-นักแสดงช่อง 3 กว่า 100 ชีวิต
  5. เพลง ของขวัญจากก้อนดิน - ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พุทธศักราช 2565
  6. เพลง เหตุผลของพ่อ - ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พุทธศักราช 2565
  7. เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ ๙ - เพลง เทวาพาคู่ฝัน - ขับร้องโดย ปริญ สุภารัตน์ , คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
  8. เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ ๒๖ - เพลง ไกลกังวล - ขับร้องโดย เหล่าผู้จัดละคร-นักแสดงช่อง 3 กว่า 100 ชีวิต
  9. เพลง ร่มฉัตร - ขับร้องโดย ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล และเหล่าผู้จัดละคร-นักแสดงช่อง 3 กว่า 100 ชีวิต
  10. เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ ๒๔ - เพลง ค่ำแล้ว - ขับร้องโดย อุรัสยา เสปอร์บันด์
  11. เพลง พระราชาผู้ทรงธรรม - ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พุทธศักราช 2565
  12. เพลง ในหลวงของแผ่นดิน (ต้นฉบับโดยรวมศิลปิน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) - ขับร้องโดย เหล่าผู้จัดละคร-นักแสดงช่อง 3 กว่า 100 ชีวิต
  13. เพลง สรรเสริญพระบารมี - ขับร้องโดย เหล่าผู้จัดละคร-นักแสดงช่อง 3 กว่า 100 ชีวิต

อ้างอิง[แก้]