ดีน ออร์นิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดีน ออร์นิช

ศ. น.พ. ดีน ไมเคิล ออร์นิช (อังกฤษ: Dean Michael Ornish) เกิดวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เป็นแพทย์ ประธาน และผู้จัดตั้งสถาบันวิจัยการแพทย์เชิงป้องกัน ซึ่งเป็นสถาบันไม่ทำการเพื่อผลกำไรอยู่ในเมือง Sausalito มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นศาสตราจารย์คลินิกการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก (UCSF)[1] ศ. ออร์นิชมีชื่อเสียงในผลงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเรื้อรังประเภทอื่น ๆ โดยวิธีการเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยการบริโภคอาหารที่ไม่ขัดฟอกจากพืช การหยุดสูบบุหรี่ การออกกำลังกายเบา ๆ และการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อบริหารความเครียด

ชีวประวัติ[แก้]

ศ. ออร์นิชเป็นคนพื้นเมืองจากเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส จบการศึกษาขั้นมัธยมปลายจาก ร.ร.มัธยมปลายฮิล์ลเครสต์ จากย่านการศึกษาอิสระดัลลัส เขาได้ปริญญาศิลปะบัณฑิตด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขามนุษยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน เป็นตัวแทนนักศึกษากล่าวคำปราศรัยในงานรับปริญญา เขาได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยการแพทย์เบย์เลอร์ เป็น Clinical Fellow ในด้านการแพทย์ที่โรงเรียนการแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้เป็นแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ฝึกหัดเฉพาะทางที่ ร.พ.สามัญแมสซาชูเซตส์ (ค.ศ. 1981–1984)

อาชีวประวัติ[แก้]

ศ. ออร์นิชมีชื่อเสียงในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเรื้อรังประเภทอื่น ๆ โดยวิธีเปลี่ยนวิถีชีวิต เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 เขาเป็นผู้นำในงานวิจัยคลินิกที่พิสูจน์เป็นครั้งแรกว่า การเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ใช่แต่เพียงสามารถระงับการเจริญขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่สามารถแม้แต่จะฟื้นฟูโรคนั้น วิถีชีวิตที่กล่าวถึงรวมทั้ง อาหารที่ไม่ขัดฟอก ที่มาจากพืช (อาหารมังสวิรัติแบบเคร่ง)[2] การหยุดสูบบุหรี่ การออกกำลังกายเบา ๆ การบริหารความเครียดโดยเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งโยคะ และการนั่งสมาธิ และการอุปการะช่วยเหลือกันด้านจิตใจทางสังคม คุณหมอแสดงความกตัญญูกับสวามีสัตชิตนันทะ ที่ช่วยคุณหมอให้เกิดความคิดแบบองค์รวมในด้านสุขภาพเชิงป้องกัน

ผลงานสำคัญของคุณหมอมาจากงานวิจัยแบบสุ่มมีตัวควบคุม (randomized controlled trial) ที่รู้จักกันว่า "Lifestyle Heart Trial (การทดลองรักษาโรคหัวใจด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิต)" โดยมีข้อมูลที่สะสมช่วงปีหนึ่งพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet[3] ในปี ค.ศ. 1990 และมีข้อมูลที่สะสมช่วง 5 ปี พิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (Journal of the American Medical Association) ซึ่งได้ทำการทดลองกับคนไข้โรคหัวใจ[4][5] ผลงานวิจัยแสดงว่า คนไข้ที่ปฏิบัติตามหลักการของคุณหมอไม่ใช่เพียงแค่มีเหตุการณ์ปัญหาหัวใจ (cardiac event) จำนวนน้อยกว่าคนไข้ที่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางแพทย์ที่เป็นมาตรฐานเท่านั้น สภาพโรคหลอดเลือดแดงแข็งของคนไข้เหล่านั้นก็ยังกลับดีขึ้นอีกด้วย โดยมีหลักฐานเป็นหลอดเลือแดงในหัวใจที่ขยายใหญ่ขึ้น (คือมีการตีบที่ลดลง) ภายในเวลา 1 ปีที่เริ่มการรักษา แต่คนไข้ในกลุ่มควบคุมโดยมาก กลับมีหลอดเลือแดงในหัวใจที่ตีบลงภายหลังการทดลองเทียบกับก่อนการทดลอง นอกจากนั้นแล้ว นายแพทย์อื่น ๆ ก็ได้ยืนยันผลที่คล้ายกันด้วยวิธีการรักษาแบบเดียวกันแล้ว ตัวอย่างเช่น น.พ.คอลด์เวลล์ เอสเซลเตน[6] และ น.พ.เค แลนซ์ กูล์ด[7]

การค้นพบสำคัญนี้น่าสนใจมากเพราะว่าเป็นสิ่งที่เหมือนกับจะเป็นไปไม่ได้ทางกายภาพ และบอกเป็นนัยถึงวิธีการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีค่ารักษาที่ถูกกว่า มีวิธีการรักษาที่ปลอดภัยกว่า วิธีการรักษาที่ต้องอาศัยการผ่าการเจาะเช่นการผ่าตัดหัวใจแบบ bypass (โดยเอาเส้นเลือดจากอีกที่หนึ่งมาเย็บติดเป็นทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบตัน), แบบ balloon (โดยใช้ลูกโป่งเปิดขยายรูที่ตีบ), และแบบ stents (โดยใช้ปล้องสังเคราะห์สอดเข้าไปที่เส้นเลือดหัวใจไม่ให้ตีบ)

ศ. ออร์นิชยังเป็นผู้อำนวยการของการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมการทดลองแรกที่แสดงว่า การเปลี่ยนวิถีชีวิต สามารถชะลอ ยับยั้ง และทำให้ดีขึ้น ซึ่งโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะต้น ๆ งานวิจัยนี้ทำด้วยการร่วมมือกับประธานของแผนกวิทยาทางเดินปัสสาวะ (Urology) ของ UCSF คือ น.พ.ปีเตอร์ แคร์โรลล์ และประธานของศูนย์มะเร็งอนุสรณ์ Sloan-Kettering น.พ.วิลเลียม แฟร์ด้วย[8]

ในปี ค.ศ. 2008 คุณหมอพิมพ์ผลงานวิจัยร่วมกับ ศ.ญ. อะลิซาเบ็ธ แบล็คเบอร์น (ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ปี ค.ศ. 2009) ซึ่งแสดงว่าการเปลี่ยนวิถีชีวิตมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของยีน (gene expression) ภายในเวลาเพียง 3 เดือน มีผลเป็นการเริ่มการทำงานของยีนที่ช่วยป้องกันโรค และหยุดการทำงานของยีนที่ส่งเสริมโรคมะเร็งและโรคหัวใจ และเพิ่มการผลิตเอ็นไซม์ telomerase ซึ่งเพิ่มความยาวให้กับนิวคลีโอไทด์ telomeres ซึ่งเป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่ช่วยควบคุมความแก่[9]

คุณหมอยังเป็นผู้เขียนหนังสือที่ขายดีที่สุดรวมทั้ง Dr. Dean Ornish's Program for Reversing Heart Disease (โปรแกรมของคุณหมออร์นิชเพื่อทำโรคหัวใจให้ดีขึ้น) Eat More, Weigh Less (ทานมากขึ้นแต่หนักน้อยลง) Love & Survival (ความรักและความอยู่รอด) และหนังสือล่าสุดคือ The Spectrum (การบริโภคอาหารแบบสเปกตรัม)

คุณหมอได้เป็นแพทย์ให้คำปรึกษาแก่อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 โดยที่ครั้งแรก สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งฮิลลารี คลินตันได้ขอให้คุณหมอให้คำปรึกษากับพ่อครัวที่ทำเนียบขาว ที่แคมป์เดวิด และบนเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดีแอร์ฟอร์ซวัน เพื่อที่จะปรุงอาหารเพื่อช่วยรักษาสุขภาพ

ในปี ค.ศ. 2010 หลังจากที่เส้นเลือดทางเลี่ยง (ที่เย็บใส่ในการผ่าตัดแบบ bypass) ของอดีตประธานาธิบดีเกิดการอุดตัน ุคุณหมอออร์นิชได้ไปพบกับคลินตันและแนะนำให้ทานอาหารที่มาจากพืชโดยมาก เพราะว่า การเปลี่ยนการทานอาหารแบบพอประมาณยังไม่สามารถจะหยุดการแพร่ขยายของโรคหัวใจ และคลินตันก็ได้ตกลงที่จะทำตาม[10]

โดยไม่เหมือนกับคำแนะนำของ น.พ. เอสเซลเตน คุณหมอออร์นิชแนะนำให้บริโภคน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริม และไม่แนะนำอาหารมังสวิรัติแบบเคร่ง คือ อนุญาตให้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นบางครั้งบางคราว[11]

คุณหมอได้เป็นผู้เขียนคอลัมน์ประจำเดือนของนิตยสาร Newsweek และ Reader's Digest และเป็นบรรณาธิการแพทย์คนปัจจุบันของเว็บไซต์ข่าว The Huffington Post

ภาพยนตร์สารคดียาว 1 ช.ม.ของคุณหมอได้ฉายบนสถานี PBS ในรายการวิทยาศาสตร์ชุด Nova นอกจากคุณหมอยังได้รับสัมภาษณ์ในรายการชุดของบิล มอยเยอร์ เรื่อง Healing & The Mind (การฟื้นฟูตัวและสุขภาพใจ) ในสถานี PBS แล้ว ผลงานของคุณหมอยังปรากฏในภาพยนตร์สารคดี Escape Fire: The Fight to Rescue American Healthcare (หนีไฟ - การต่อสู้เพื่อช่วยระบบการรักษาสุขภาพชาวอเมริกันให้รอด) เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบการรักษาสุขภาพในอนาคตให้เป็นแบบมีคนไข้เป็นศูนย์ มีการรักษาโดยองค์รวม

รางวัลและเกียรติคุณ[แก้]

คุณหมอเป็นกรรมการในคณะกรรมการของธนาคารอาหารซานฟราซิสโก ของสถาบัน J. Craig Venter Institute (ทำงานวิจัยเกี่ยวกับจีโนมิกส์) ของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และของมูลนิธิควินซีโจนส์ เป็นคณะกรรมการให้คำปรึกษาของ HealthCorps[12] เขาได้รับแต่ตั้งให้เป็นกรรมการใน The White House Commission on Complementary and Alternative Medicine Policy (ข้าหลวงใหญ่นโยบายการแพทย์ทางเลือกของทำเนียบขาว) และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของอะแคเดมีการแพทย์แคลิฟอร์เนีย

คุณหมอออร์นิชให้คำปราศรัยที่งาน Google Zeitgeist ปี ค.ศ. 2011
คุณหมอออร์นิชให้คำปราศรัยที่งาน Google Zeitgeist ปี ค.ศ. 2011

คุณหมอเป็นประธานสภาให้คำปรึกษาสุขภาพกูเกิลระหว่างปี ค.ศ. 2001-2009 คุณหมอได้รับรางวัลมากมายรวมทั้ง

  • รางวัลศิษยเก่าดีเด่นเยาว์วัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน
  • รางวัลศิษยเก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์
  • รางวัล "วีรบุรุษสุขภาพประชาชนแห่งชาติ"
  • รางวัล Jan J. Kellermann Memorial Award สำหรับผลงานดีเด่นในการป้องกันโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด จากอะแคเดมีหทัยวิทยานานาชาติ
  • Presidential Citation จากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน
  • เหรียญ Beckmann จากสมาคมเพื่อป้องกันและฟื้นฟูโรคหลอดเลือดร่วมหัวใจเยอรมัน
  • รางวัล "ผู้บุกเบิกการแพทย์เชิงบูรณาการ" จากศูนย์การแพทย์แปซิฟิกแคลิฟอร์เนีย
  • รางวัล Stanley Wallach Lectureship Award จากวิทยาลัยโภชนาการอเมริกัน
  • รางวัล Golden Plate Award จากอะแคเดมีความสำเร็จอเมริกัน
  • รางวัล Linus Pauling Award จาก Institute for Functional Medicine
  • รางวัล Glenn Foundation Award เพื่องานวิจัยเกี่ยวกับความแก่
  • รางวัล Bravewell Collaborative Pioneer of Integrative Medicine (ผู้บุกเบิกร่วมแนวในการแพทย์บูรณาการ)
  • และรางวัล Sheila Kar Health Foundation Humanitarian Award (เพื่อมนุษยธรรม) จาก Cedars-Sinai Medical Center แห่งนครลอสแองเจลลิส

เขาได้เป็นผู้ให้คำปราศรัยหลักเสมอ ๆ เกี่ยวกับผลงานวิจัยของเขา คือที่ทำเนียบขาว ที่งานประชุม Google Zeitgeist และที่งานประชุมผู้นำครั้งแรกของสถาบันการแพทย์เกี่ยวกับการแพทย์บูรณาการของ National Academy of Sciences

คุณหมอ

  • ได้รับเลือกให้เป็น "บุคคลที่น่าสนใจที่สุดคนหนึ่งในปี ค.ศ. 1996" โดยนิตยสาร People
  • ได้อยู่ในรายชื่อ “TIME 100” ของการแพทย์บูรณาการ
  • ได้รับเกียรติคุณให้เป็น "1 ใน 125 ศิษย์เก่าที่พิเศษที่สุดของมหาวิทยาลัยเท็กซัสใน 125 ปีที่ผ่านมา"
  • ได้รับเลือกจากนิตยสาร LIFE ให้เป็น "บุคคล 1 ใน 50 ที่มีอำนาจชักจูงคนอื่นมากที่สุดในรุ่นของเขา"
  • ได้รับเลือกจากนิตยสารฟอบส์ให้เป็น “ครู 1 ใน 7 ที่มีอิทธิพล (ทางความคิด) มากที่สุดในโลก“

ผลงานที่ตีพิมพ์[แก้]

หนังสือและบทความ[แก้]

  • Ornish, D. Dr. Dean Ornish's Program for Reversing Heart Disease (โปรแกรมของคุณหมอดีน ออร์นิชเพื่อการเยียวยาโรคหัวใจ), New York: Random House, 1990; Ballantine Books, 1992.[13]
  • Ornish D. Eat More, Weigh Less. (ทานเพิ่มแต่หนักน้อยลง) New York: HarperCollins Publishers, 1993.[14]
  • Ornish D. Everyday Cooking with Dr. Dean Ornish (การปรุงอาหารในชีวิตประจำวันกับคุณหมอดีน ออร์นิช) . New York: HarperCollins Publishers, 1996.[15]
  • Ornish D. Love & Survival: The Scientific Basis for the Healing Power of Intimacy. (ความรักและการอยู่รอด) New York: HarperCollins, 1998.[16]
  • Ornish D. The Spectrum (การบริโภคอาหารแบบสเปกตรัม) . New York: Ballantine Books, 2008.[17]
  • Billings J, Scherwitz L, Sullivan R, Ornish D. Group support therapy in the Lifestyle Heart Trial. (เทอราปี้อาศัยกลุ่มเพื่อนในการทดลองรักษาโรคหัวใจด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิต) In: Scheidt S, Allan R, eds. Heart and Mind: The Emergence of Cardiac Psychology. Washington, DC: American Psychological Association; 1996:233-253.[18]
  • Ornish D, Hart J. Intensive Risk Factor Modification. (การเปลี่ยนแปลงองค์ความเสี่ยงแบบเข้มข้น) In: Hennekens C, Manson J, eds. Clinical Trials in Cardiovascular Disease. Boston: W.B. Saunders, 1998 (companion to Heart Disease, the Braunwald standard cardiology textbook) .
  • Ornish D. Intensive Lifestyle Changes in Management of Coronary Heart Disease. (การเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบอินเท็นสีฟในการบริหารโรคหัวใจและหลอดเลือด) In: Braunwald E. Harrison’s Advances in Cardiology. New York: McGraw Hill, 2002.[19]
  • Ornish D. “The cost-effectiveness of consumer-driven lifestyle changes in the treatment of cardiac disease. (ความคุ้มค่าของค่ารักษาในการเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภคในการรักษาโรคหัวใจ) ” In: Herzlinger RE. Consumer-Driven Health Care. San Francisco: Wiley & Sons, 2004.[20]
  • Scher B, Guarneri EM, Hart JA, Ornish D. Multiple Risk Factor Intervention Trials. (การทดลองเพื่อแทรกแซงองค์ความเสี่ยงหลายอย่าง) In: Manson J, Buring JE, Ridker PM, Gaziano JM, eds. Clinical Trials in Cardiovascular Disease, Second Edition. Boston: W.B. Saunders, 2004 (companion to Heart Disease, the Braunwald standard cardiology textbook) .
  • Ornish D. “Our Genes Are Not Our Fate.” (พันธุกรรมไม่ใช่พรหมลิขิต) In: Brockman J. This Will Change Everything. New York: HarperCollins, 2010.[21]

รายงานต้นแบบ[แก้]

  • Ornish DM, Gotto AM, Miller RR, et al. Effects of a vegetarian diet and selected yoga techniques in the treatment of coronary heart disease. (ผลของอาหารมังสวิรัติและเทคนิคโยคะในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด) Clinical Research. 1979;27:720A.[22]
  • Ornish DM, Scherwitz LW, Doody RS, Kesten D, McLanahan SM, Brown SE, DePuey G, Sonnemaker R, Haynes C, Lester J, McAllister GK, Hall RJ, Burdine JA, Gotto AM. Effects of stress management training and dietary changes in treating ischemic heart disease. (ผลของการฝึกบริหารความเครียดและการเปลี่ยนอาหารเพื่อรักษาโรคหัวใจแบบขาดเลือด) JAMA. 1983;249:54-59.[23]
  • Ornish DM, Brown SE, Scherwitz LW, et al. Can lifestyle changes reverse coronary atherosclerosis? The Lifestyle Heart Trial. (การเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถทำให้โรคหลอดเลือดแข็งในหัวใจดีขึ้นจริงหรือ ? จากการทดลองรักษาโรคหัวใจด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิต) The Lancet. 1990; 336:129-133. (Reprinted in Yearbook of Medicine and Yearbook of Cardiology (New York: C.V. Mosby, 1991) .[24]
  • Gould KL, Ornish D, Scherwitz L, Stuart Y, Buchi M, Billings J, Armstrong W, Ports T, Scherwitz L. Changes in myocardial perfusion abnormalities by positron emission tomography after long-term, intense risk factor modification. JAMA. 1995;274:894-901.[25]
  • Ornish D, Scherwitz L, Billings J, Brown SE, Gould KL, Merritt TA, Sparler S, Armstrong WT, Ports TA, Kirkeeide RL, Hogeboom C, Brand RJ. Intensive lifestyle changes for reversal of coronary heart disease Five-year follow-up of the Lifestyle Heart Trial. (การเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบอินเท็นสีฟเพื่อการทำโรคหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้น รายงานติดตาม 5 ปีให้หลังจากการทดลองรักษาโรคหัวใจด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิต) JAMA. 1998;280:2001-2007.[26]
  • Ornish D. Avoiding Revascularization with Lifestyle Changes: The Multicenter Lifestyle Demonstration Project. American Journal of Cardiology. 1998;82:72T-76T.[27]
  • Ornish DM, Weidner G, Fair WR, Marlin R, Pettengill EB, Raisin CJ, Dunn-Emke S, Crutchfield L, Jacobs NF, Barnard RJ, Aronson WJ, McCormac P, McKnight DJ, Fein JD, Dnistrian AM, Weinstein J, Ngo TH, Mendell NR, Carroll PR. Intensive lifestyle changes may affect the progression of prostate cancer (การเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบอินเท็นสีฟอาจมีผลต่อความเจริญขึ้นของมะเร็งต่อมลูกหมาก) . Journal of Urology. 2005;174:1065-1070.[28]
  • Ornish D, Magbanua MJM, Weidner G, Weinberg V, Kemp C, Green C, et al. Changes in prostate gene expression in men undergoing an intensive nutrition and lifestyle intervention (ความเปลี่ยนแปลงของการแสดงขออกของยีนเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ในผู้ชายที่กำลังเปลี่ยนการบริโภคอาหารและวิถีชีวิตแบบอินเท็นสีฟ) . Proc Nat Acad Sci USA 2008; 105: 8369-8374.[29]
  • Ornish D, Lin J, Daubenmier J, Weidner G, Epel E, Kemp C, Magbanua MJM, Marlin R, Yglecias L, Carroll P, Blackburn E. Increased telomerase activity and comprehensive lifestyle changes: a pilot study. The Lancet Oncology. 2008; 9: 1048–57.[9]
  • Dod HS, Bhardwaj R, Sajja V, Weidner G, Hobbs GR, Konat GW, Manivannan S, Gharib W, Warden BE, Nanda NC, Beto RJ, Ornish D, Jain AC. Effect of intensive lifestyle changes on endothelial function and on inflammatory markers of atherosclerosis. Am J Cardiol. 2010 Feb 1;105 (3) :362-7.[30]
  • Silberman A, Banthia R, Estay IS, Kemp C, Studley J, Hareras D, Ornish D. The effectiveness and efficacy of an intensive cardiac rehabilitation program in 24 sites. Am J Health Promot. 2010;24[4]:260–266.[31]

การให้สัมภาษณ์[แก้]

  • Moyers, Bill. "Changing Life Habits: A Conversation with Dean Ornish. (เปลี่ยนนิสัยของชีวิต บทสนทนากับดีน ออร์นิช)" In: Healing and the Mind. New York: Doubleday, 1993.[32]

ดูเพิ่ม[แก้]

หนังสือ[แก้]

  • หนังสือ The China Study - หนังสือแสดงความสัมพันธ์ของโภชนาการกับโรค

แพทย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์[แก้]

นักเขียน[แก้]

แนวคิด[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Preventive Medicine Research Institute". 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.
  2. Philip J Tuso, MD; Mohamed H Ismail, MD; Benjamin P Ha, MD; Carole Bartolotto, MA, RD. "Nutritional Update for Physicians: Plant-Based Diets." The Permanente Journal (Kaiser Permanente) . 2013 Spring; 17 (2) :61-66.
  3. The Lancet เป็นวารสารการแพทย์มีผู้ชำนาญหลักวิชาเดียวกันเป็นผู้ปริทัศน์ ที่เก่าที่สุดที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดวารสารหนึ่งในโลก
  4. The Lancet. 1990 Jul 21;336 (8708) :129-33.
  5. Ornish, D.; Brown, S.E.; Billings, J.H.; Scherwitz, L.W.; Armstrong, W.T.; Ports, T.A.; McLanahan, S.M.; Kirkeeide, R.L.; Gould, K.L.; Brand, R.J. (1990). "Can lifestyle changes reverse coronary heart disease? The Lifestyle Heart Trial". The Lancet. U.S. National Library of Medicine; PubMed. 336 (8708): 129–33. doi:10.1016/0140-6736 (90) 91656-U. PMID 1973470. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |doi= (help)
  6. Prevent and Reverse Heart Disease
  7. "Patient Publications: Weatherhead PET Imaging Center for Preventing and Reversing Heart Disease". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-20.
  8. Journal of Urology. 2005;174:1065-1070.
  9. 9.0 9.1 "Comprehensive Lifestyle Changes Improve Levels Of Enzyme Telomerase Involved In Cell Ageing". Medicalnewstoday.com. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  10. Sherwell, Philip. "Bill Clinton's new diet: nothing but beans, vegetables and fruit to combat heart disease", The Daily Telegraph, October 3, 2010.
  11. Caldwell Esselstyn and Dean Ornish Explain Healthy Way for Bill Clinton's Dramatic Weight Loss. CNN. September 22, 2010.
  12. HealthCorps เป็น องค์กรการกุศลอเมริกันที่ตอบสนองต่อวิกฤติการณ์โรคอ้วนโดยให้การศึกษาและคำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาทางสุขภาพแก่โรงเรียน และแก่กลุ่มประชากรที่ไม่ค่อยมีคนสนใจรวมทั้งคนเชื้อสาย hispanic และแอฟริกันอเมริกัน
  13. "Dr Dean Ornish Program | Wellness Program | WVU Health Sciences Center". Hsc.wvu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  14. "Review: Eat More, Weigh Less". Webmd.com. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  15. "Browse Inside Everyday Cooking with Dr. Dean Ornish: 150 Easy, Low-Fat, High-Flavor Recipes by Dean Ornish". Harpercollins.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  16. Ornish, Dean. "Love and Survival: The Scientific Basis for the Healing Power of Intimacy by Dean Ornish". Harpercollins.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  17. "Dean Ornish's "The Spectrum" Diet: Overview and Expert Opinion". Webmd.com. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  18. "JAMA Network | JAMA: The Journal of the American Medical Association | Intensive Lifestyle Changes for Reversal of Coronary Heart Disease". Jama.ama-assn.org. 1998-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-01-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-20.
  20. "Consumer-Driven Health Care: Implications for Providers, Payers and Policy Makers | Table of Contents". Manhattan-institute.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-06. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  21. "Dean Ornish says your genes are not your fate | Video on". Ted.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-17. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  22. "Preventive Medicine Research Institute". Pmri.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-12. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  23. USA (2012-04-04). "Effects of stress management training and dietary chang... [JAMA. 1983] - PubMed - NCBI". Ncbi.nlm.nih.gov. PMID 6336794. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. USA (2012-04-04). "Can lifestyle changes reverse coronary heart disease?... [Lancet. 1990] - PubMed - NCBI". Ncbi.nlm.nih.gov. PMID 1973470. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  25. "the research | The Ornish Spectrum | A simple and proven program for making healthy, sustainable lifestyle changes". The Ornish Spectrum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  26. USA (2012-04-04). "Intensive lifestyle changes for reversal of coronary he... [JAMA. 1998] - PubMed - NCBI". Ncbi.nlm.nih.gov. PMID 9863851. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  27. "Avoiding revascularization with lifestyle changes: The Multicenter Lifestyle Demonstration Project". Mendeley. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  28. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-03-20.
  29. "Changes in prostate gene expression in men undergoing an intensive nutrition and lifestyle intervention". Pnas.org. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
  30. (09) 02409-6/abstract "Elsevier". Ajconline.org. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]
  31. (ICR) +Program+-+Dr.+Ornish%2527s+Program+for+Reversing+Heart+Disease&NCDId=339&ncdver=1&IsPopup=y&bc=AAAAAAAAIAAA& "Decision Memo for Intensive Cardiac Rehabilitation (ICR) Program - Dr. Ornish's Program for Reversing Heart Disease (CAG-00419N)". Cms.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  32. Healing and the Mind - Bill D. Moyers, David Grubin - Google Books. Books.google.com. 1995-03-01. ISBN 9780385476874. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ ดีน ออร์นิช}
ชื่ออื่น
รายละเอียดโดยย่อ
วันเกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
สถานที่เกิด
วันตาย
สถานที่ตาย