ดาวแห่งเบธเลเฮม
ดาวแห่งเบธเลเฮม (อังกฤษ: Star of Bethlehem) หรือ ดาวคริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas Star)[1] ปรากฏในเรื่องราวการประสูติของพระเยซูในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ซึ่ง "พวกนักปราชญ์จากทิศตะวันออก" ได้รับการดลใจโดยดวงดาวให้เดินทางมายังเยรูซาเล็ม พวกนักปราชญ์เข้าเฝ้ากษัตริย์เฮโรดแห่งยูเดียและทูลถามว่า:
พระกุมารผู้ที่ทรงบังเกิดมาเป็นกษัตริย์ของชนชาติยิวนั้นอยู่ที่ไหน? เราได้เห็นดาวของท่านทางทิศตะวันออก และเราจึงมาเพื่อจะนมัสการท่าน[2]
เฮโรดทรงเรียกบรรดาธรรมาจารย์และปุโรหิตมาปรึกษา พวกเขาอ้างถึงวรรคจากหนังสือมีคาห์ ตีความว่าเป็นคำเผยพระวจนะว่าพระเมสสิยาห์ของชาวยิวจะประสูติในเบธเลเฮมทางใต้ของเยรูซาเล็ม เฮโรดจึงลอบวางแผนจะตามหาและปลงพระชนม์พระเมสสิยาห์เพื่อรักษาตำแหน่งกษัตริย์ของพระองค์ไว้ เฮโรดรับสั่งต่อพวกนักปราชญ์ให้ตามหาพระเมสสิยาห์และกลับมาแจ้งพระองค์ระหว่างทางกลับ
ดวงดาวนำพวกนักปราชญ์ไปถึงสถานที่ประสูติของพระเยซูในเบธเลเฮม พวกนักปราชญ์นมัสการพระกุมารและถวายเครื่องบรรณาการ พวกนักปราชญ์ได้รับคำเตือนจากพระเจ้าไม่ให้กลับไปเข้าเฝ้าเฮโรด พวกเขาจึงเดินทางกลับโดยใช้เส้นทางอื่น[3]
คริสต์ศาสนิกชนหลายคนเชื่อว่าดาวดวงนี้เป็นหมายอัศจรรย์ นักเทววิทยาบางคนอ้างว่าดาวดวงนี้เป็นการทำให้คำเผยพระวจนะที่รู้จักในชื่อคำเผยพระวจนะดวงดาวให้เป็นจริง[4] นักดาราศาสตร์พยายามหลายครั้งที่จะเชื่อมโยงดาวดวงนี้กับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่ปกติ เช่น ปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือน (conjunction) ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ หรือของดาวพฤหัสบดีและดาวศุกร์[5] ดาวหาง หรือมหานวดารา[6] นักวิชาการสมัยใหม่บางคนไม่ถือว่าเรื่องราวนี้เป็นการระบุถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องแต่งที่เพิ่มเข้ามาภายหลังในเรื่องราวของพระวรสารหลัก[7]
หัวข้อเรื่องดาวแห่งเบธเลเฮมเป็นที่นิยมในการแสดงของท้องฟ้าจำลองในช่วงเทศกาลคริสต์มาส[8] อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลโบราณส่วนใหญ่และธรรมเนียมของคริสตจักรโดยทั่วไประบุว่าพวกนักปราชญ์ไปเข้าเฝ้าที่เบธเลเฮมหลังการประสูติของพระเยซูผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง[9] ตามธรรมเนียมนิยมมีการฉลองวาระการเข้าเฝ้าของพวกนักปราชญ์ในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ (6 มกราคม) ในศาสนาคริสต์ตะวันตก[10]
เรื่องราวนี้ในพระวรสารนักบุญมัทธิวระบุถึงพระเยซูด้วยคำภาษากรีกที่มีความหมายกว้างว่า παιδίον, paidíon ซึ่งอาจหมายถึง "ทารก" หรือ "เด็ก" แทนที่จะใช้คำที่มีความหมายจำเพาะถึงทารกมากกว่าคือ βρέφος, bréphos ซึ่งอาจอนุมานได้ว่าเวลาได้ผ่านไปแล้วระยะหนึ่งหลังการประสูติ อย่างไรก็ตาม คำว่า παιδίον, paidíon ยังใช้ในพระวรสารนักบุญลูกาโดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูและการถวายพระองค์ในพระวิหารในภายหลัง[11] กษัตริย์เฮโรดมีรับสั่งให้สังหารทารกเพศชายชาวฮีบรูทั้งหมดในพื้นที่ที่มีอายุจนถึง 2 ขวบในเหตุการณ์การประหารทารกผู้วิมล
เรื่องเล่าในพระวรสารนักบุญมัทธิว
[แก้]พระวรสารนักบุญมัทธิวเล่าเรื่องที่พวกนักปราชญ์[12] มาถึงราชสำนักของกษัตริย์เฮโรดในเยรูซาเล็มและทูลกษัตริย์เรื่องดาวที่เผยถึงการประสูติของกษัตริย์แห่งชาวยิว:
พระเยซูได้ทรงบังเกิดที่บ้านเบธเลเฮมแคว้นยูเดียในรัชกาลของกษัตริย์เฮโรด ภายหลังมีพวกนักปราชญ์จากทิศตะวันออกมายังกรุงเยรูซาเล็ม ถามว่า 2 "พระกุมารผู้ที่ทรงบังเกิดมาเป็นกษัตริย์ของชนชาติยิวนั้นอยู่ที่ไหน? เราได้เห็นดาวของท่านทางทิศตะวันออก และเราจึงมาเพื่อจะนมัสการท่าน" 3 เมื่อกษัตริย์เฮโรดทรงได้ยินดังนั้นแล้ว ก็วุ่นวายพระทัย ทั้งชาวกรุงเยรูซาเล็มก็พลอยวุ่นวายใจไปด้วย 4แล้วท่านทรงให้ประชุมพวกหัวหน้าปุโรหิตกับพวกธรรมาจารย์ของประชาชน แล้วก็ตรัสถามพวกเขาว่า "พระคริสต์จะทรงบังเกิดที่ไหน?" 5 พวกเขาทูลว่า "ที่บ้านเบธเลเฮมแคว้นยูเดีย เพราะว่าผู้เผยพระวจนะได้เขียนไว้ ดังนี้ว่า
6'บ้านเบธเลเฮม ในแผ่นดินยูเดีย
จะไม่เป็นบ้านที่เล็กน้อยที่สุดในสายตาของพวกผู้ครองแผ่นดินยูเดีย
เพราะว่าเจ้านายองค์หนึ่งจะออกมาจากท่าน
ผู้ซึ่งจะครอบครองอิสราเอล ชนชาติของเรา'"7 แล้วเฮโรดจึงทรงเชิญพวกนักปราชญ์เข้ามาอย่างลับๆ ทรงสอบถามพวกเขาจนได้ความถี่ถ้วนถึงเวลาที่ดาวนั้นได้ปรากฏขึ้น 8 แล้วท่านทรงให้พวกนักปราชญ์ไปยังบ้านเบธเลเฮมรับสั่งว่า "จงไปค้นหาพระกุมารนั้นเถิด เมื่อพบแล้วจงกลับมาแจ้งแก่เราเพื่อเราจะไปนมัสการท่านด้วย" 9 พวกนักปราชญ์จึงไปตามรับสั่ง และดาวซึ่งพวกเขาได้เห็นทางทิศตะวันออกนั้นได้นำหน้าพวกเขาไป จนมาหยุดอยู่เหนือสถานที่ซึ่งพระกุมารอยู่นั้น 10 เมื่อพวกนักปราชญ์ได้เห็นดาวนั้นแล้วก็มีความยินดียิ่งนัก 11 เมื่อเข้าไปในบ้านก็พบพระกุมารกับนางมารีย์มารดา จึงก้มลงนมัสการพระกุมารนั้น แล้วเปิดหีบสมบัติของพวกเขาและถวายเครื่องบรรณาการแด่พระกุมาร คือ ทองคำ กำยาน และมดยอบ
— มัทธิว 2:1–11, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน[13]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ดาวหางซีซาร์
- ดาราแห่งดาวิด – สัญลักษณ์ของกษัตริย์ดาวิดในศาสนายูดาห์
- RCW 103
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "A Christmas Star for SOHO". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04..
- ↑ มัทธิว 2:1 -2
- ↑ มัทธิว 2:11 -12
- ↑ Freed, Edwin D. (2001). The Stories of Jesus' Birth: A Critical Introduction. Continuum International. p. 93. ISBN 0-567-08046-3.
- ↑ Telegraph (2008-12-09). "Jesus was born in June". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14..
- ↑ "Star of Bethlehem." Cross, F. L., ed. The Oxford dictionary of the Christian Church. New York: Oxford University Press. 2005.
- ↑ For example, Paul L. Maier, "Herod and the Infants of Bethlehem", in Chronos, Kairos, Christos II, Mercer University Press (1998), 171; Geza Vermes, The Nativity: History and Legend, London: Penguin, 2006, p. 22; E. P. Sanders, The Historical Figure of Jesus, 1993, p. 85; Aaron Michael Adair, "Science, Scholarship and Bethlehem's Starry Night", Sky and Telescope, Dec. 2007, pp. 26–29 (reviewing astronomical theories).
- ↑ John, Mosley. "Common Errors in 'Star of Bethlehem' Planetarium Shows". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-06-05..
- ↑ Andrews, Samuel James (2020). "When did the Magi visit?". Salem Web Network. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ Ratti, John. "First Sunday after the Epiphany". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2008-06-05..
- ↑ ลูกา 2:17, 27
- ↑ Brown 1988, p. 11.
- ↑ มัทธิว 2:1 -11
บรรณานุกรม
[แก้]- Brown, Raymond E. (1973). The Virginal Conception and Bodily Resurrection of Jesus. Paulist Press. ISBN 978-0809117680.
- Brown, Raymond E. (1999). The Birth of the Messiah: A Commentary on the Infancy Narratives in the Gospels of Matthew and Luke. Yale University Press. ISBN 978-0300140088.
- Brown, Raymond E. (1988). An Adult Christ at Christmas: Essays on the Three Biblical Christmas Stories. Liturgical Press. ISBN 0-8028-3931-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Case, Shirley Jackson (2006). Jesus: A New Biography, Gorgias Press LLC: New Ed. ISBN 1-59333-475-3.
- Coates, Richard (2008) 'A linguist's angle on the Star of Bethlehem', Astronomy and Geophysics, 49, pp. 27–49
- Consolmagno S.J., Guy (2010) Looking for a star or Coming to Adore?
- Gill, Victoria: Star of Bethlehem: the astronomical explanations and Reading the Stars by Helen Jacobus with link to, Jacobus, Helen, Ancient astrology: how sages read the heavens/ Did the heavens predict a king?, BBC
- Jenkins, R.M., "The Star of Bethlehem and the Comet of 66AD เก็บถาวร 2018-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Journal of the British Astronomy Association, June 2004, 114, pp. 336–43. This article argues that the Star of Bethlehem is a historical fiction influenced by the appearance of Halley's Comet in AD 66.
- Larson, Frederick A. What Was the Star?
- Nicholl, Colin R., The Great Christ Comet: Revealing the True Star of Bethlehem เก็บถาวร 2016-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Crossway, 2015. ISBN 978-1-4335-4213-8
- Star of Bethlehem Bibliography. Provides an extensive bibliography with Web links to online sources.
ดาวแห่งเบธเลเฮม ชีวิตของพระเยซู: การประสูติ | ||
ก่อนหน้า: พระกุมารเยซูในพระวิหาร |
เหตุการณ์ใน พันธสัญญาใหม่ |
ถัดไป: การนมัสการของพวกนักปราชญ์ |