ดาวเคราะห์ที่เอื้อชีวิตกว่าโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดของศิลปินที่จำลองดาวเคราะห์ที่เอื้อชีวิตกว่าโลก สีแดงคือสีของป่าบนดาว[1]

ดาวเคราะห์ที่เอื้อชีวิตกว่าโลก (อังกฤษ: superhabitable planet) คือ ประเภทของดาวเคราะห์นอกระบบหรือดวงจันทร์นอกระบบ ที่มีสภาวะที่เหมาะสมต่อการกำเนิด การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และ ความหลากหลายทางชีวภาพที่มากกว่าโลก แนวคิดนี้ได้มีการเสนอครั้งแรกใน ค.ศ. 2014 โดยเรอเน เฮ็ลเลอร์ และจอห์น อาร์มตรอง[2] ที่ได้มีการเสนอเรื่องของความเป็นไปได้ของดาวเคราะห์นอกระบบที่อาจมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากโลก แต่มีเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตมากกว่าโลก โดยตั้งสมมติฐานว่าน้ำจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โลกอาจไม่ใช่สภาวะที่สามารถสร้างความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดที่เป็นไปได้

เฮ็ลเลอร์และอาร์มสตรองได้ชี้ให้เห็นว่า ดาวเคราะห์หินที่อยู่ในเขตที่อยู่อาศัยได้นั้น ไม่ใช่ทุกดวงที่จะสามารถอยู่อาศัยได้ รวมไปถีง ความร้อนจากแรงไทดัล อาจทำให้มีสภาวะเหมาะสมต่อการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ ที่โคจรอยู่นอกเหนือเขตที่อยู่อาศัยได้ อาทิเช่น มหาสมุทรใต้แผ่นน้ำแข็งของดวงจันทร์ยูโรปา[3] ที่โคจรอยู่รอบดาวพฤหัสบดี ทั้งสองได้เสนอคุณลักษณะที่อาจทำให้ดาวเคราะห์นั้น ๆ มีสภาวะเอื้อชีวิตมากกว่าโลก อ้างอิงจาก มวลของดาวเคราะห์ ประเภทของดาวฤกษ์ และ ระยะห่างจากดาวฤกษ์ ทั้งสองได้ตั้งสมมติฐานว่าดาวเคราะห์ที่เอื้อชีวิตกว่าโลก จะตองใหญ่กว่า อุ่นกว่า โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ประเภท K (K-type star) และเก่าแก่กว่าโลก การที่จะวัดว่าดาวเคราะห์นั้น ๆ เอื้อชีวิตกว่าโลกหรือไม่นั้น ต้องห้ามยึดความเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ (anthropocentric) แต่วัดจากความเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชีวภาพ (biocentric)[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nancy Y. Kiang (April 2008). "The color of plants on other worlds". Scientific American. 298 (4): 48–55. Bibcode:2008SciAm.298d..48K. doi:10.1038/scientificamerican0408-48. PMID 18380141.
  2. 2.0 2.1 Heller, René; Armstrong, John (2014). "Superhabitable Worlds". Astrobiology. 14 (1): 50–66. arXiv:1401.2392. Bibcode:2014AsBio..14...50H. doi:10.1089/ast.2013.1088. PMID 24380533.
  3. Reynolds, R.T.; McKay, C.P.; Kasting, J.F. (1987). "Europa, tidally heated oceans, and habitable zones around giant planets". Advances in Space Research. 7(5): 125–132. Bibcode:1987AdSpR...7..125R. doi:10.1016/0273-1177(87)90364-4. PMID 11538217.