ข้ามไปเนื้อหา

ดาวหางแฮลลีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley)

ดาวหางแฮลลีย์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2529
การค้นพบ
ค้นพบโดย:ก่อนประวัติศาสตร์ (สังเกตการณ์)
เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (ผู้พบคาบการโคจร)
ค้นพบเมื่อ:ค.ศ. 1758 (โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ตามการคาดการณ์เป็นครั้งแรก) อาจได้รับการมองเห็นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1066 ก่อนยุทธการที่เฮสติงส์
ลักษณะของวงโคจร[1]
ต้นยุคอ้างอิง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2604 (2474040.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
35.14 au[2]
(ต่อไป: 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566)[2][3]
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
0.59278 au[4]
(ล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529)
(ต่อไป: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2604)[4]
กึ่งแกนเอก:17.737 au
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.96658
คาบการโคจร:74.7 yr
75 ป. 5 ด. 19 ว. (จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดถึงจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด)
มุมกวาดเฉลี่ย:0.07323°
ความเอียง:161.96°
Time of periastron:28 กรกฎาคม พ.ศ. 2604[4][5]
≈27 มีนาคม พ.ศ. 2677[6][5]
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย:11 km[7]
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
15 km × 8 km[8]
ปริมาตร:0.6 g/cm3 (average)[9]
0.2–1.5 g/cm3 (est.)[10]
มวล:2.2×1014 kg[11]
ความเร็วหลุดพ้น:~0.002 km/s
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
2.2 วัน (52.8 ชม.) (?)[12]
อัตราส่วนสะท้อน:0.04[13]
โชติมาตรปรากฏ:28.2 (in 2003)[14]

ดาวหางแฮลลีย์ (อังกฤษ: Halley's Comet หรือ Comet Halley) คนไทยเรียก ดาวหางฮัลเลย์[15] มีชื่ออย่างเป็นทางการตามระบบดาวหางว่า 1P/Halley เป็นดาวหางคาบสั้นที่สามารถมองเห็นได้จากโลกในทุก 75–79 ปี[1] แฮลลีย์เป็นดาวหางคาบสั้นเพียงดวงเดียวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกเป็นประจำ และยังเป็นดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงดวงเดียว ที่ปรากฏให้เห็นได้ถึงสองครั้งในช่วงชีวิตของมนุษย์[16] ครั้งสุดท้ายที่ปรากฎให้เห็นในระบบสุริยะชั้นในคือปี พ.ศ. 2529 และจะปรากฏครั้งถัดไปในช่วงกลางปี พ.ศ. 2604

การโคจรกลับมาในระบบสุริยะชั้นในอย่างเป็นคาบของดาวหางแฮลลีย์ ได้รับการสังเกตและบันทึกไว้โดยนักดาราศาสตร์ทั่วโลกมาตั้งแต่ 240 ปีก่อนคริสตกาลเป็นอย่างน้อย กระทั่งในปี ค.ศ. 1705 เอ็ดมันด์ แฮลลีย์นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้เข้าใจว่าการกลับมาในทุกครั้งของดาวหางดวงที่สังเกตได้นั้นเป็นดาวหางดวงเดิม จากการค้นพบดังกล่าวนี้ทำให้ดวงหางดวงนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเอ็ดมันด์ แฮลลีย์[17]

ในช่วงการกลับมายังระบบสุริยะชั้นในของแฮลลีย์ในปี พ.ศ. 2529 มีการสังเกตรายละเอียดของดาวหางจากยานอวกาศ โดยนับเป็นครั้งแรกที่มีการสังเกตในลักษณะนี้ ทำให้ทราบได้ถึงข้อมูลโครงสร้างจากการสังเกตของนิวเคลียสดาวหาง กลไกของโคมาและการเกิดหางเป็นครั้งแรก[18][19] ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนสมมติฐานที่มีมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับโครงสร้างของดาวหาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลอง "บอลหิมะสกปรก" (dirty snowball) ของเฟรด วิปเปิล ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ได้อย่างถูกต้องว่าดาวหางแฮลลีย์นั้นประกอบไปด้วยน้ำแข็งระเหยที่ผสมกัน เช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และฝุ่น ภารกิจดังกล่าวยังให้ข้อมูลซึ่งเป็นการปฏิรูปความเข้าใจและกำหนดแนวคิดขึ้นใหม่อย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับดาวหางด้วย เช่น ความเข้าใจใหม่ที่ว่าพื้นผิวของดาวหางแฮลลีย์นั้นประกอบด้วยฝุ่นที่ไม่ระเหยเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่เป็นน้ำแข็ง

การอ่านชื่อ

[แก้]

ในยุคที่เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ยังมีชีวิตอยู่ นามสกุลของเขาเขียนหลายแบบ มีทั้ง Hailey, Haley, Hayley, Halley, Hawley, และ Hawly ทำให้ไม่อาจกำหนดได้ว่า นามสกุลนี้อ่านออกเสียงอย่างไรในยุคนั้น แต่ในปัจจุบัน ผู้ใช้นามสกุลนี้นิยมอ่านนามสกุลตนเองว่า "แฮลลีย์"[20] ส่วนชื่อดาวหางนั้น ปัจจุบันนิยมออกเสียงว่า "แฮลลีย์" หรือ "เฮลลีย์"[21][22]

คนไทยมักเรียกชื่อดาวหางนี้ว่า "ฮัลเลย์"[15][23] บ้างเขียน "ฮัลเล่ย์"[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MPC
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horizons2023
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ seeker2013
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horizons2061
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kinoshita
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horizons2134
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jpldata
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Learn
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ density
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Peale1989November
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mass
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Peale1989
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dark
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ESO2003
  15. 15.0 15.1 15.2 "ดาวหางฮัลเลย์". สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ. 2020-06-18.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Delehanty
  17. Halley, Edmund (1705). A synopsis of the astronomy of comets. Oxford: John Senex. สืบค้นเมื่อ 16 June 2020 – โดยทาง Internet Archive.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ post
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ situ
  20. "New York Times Science Q&A". The New York Times. 14 May 1985. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.
  21. "Halley". Merriam–Webster Online. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  22. Ridpath, Ian (1985). "Saying Hallo to Halley". Revised extracts from "A Comet Called Halley" by Ian Ridpath, published by Cambridge University Press in 1985. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  23. "'ฮัลเลย์' การเดินทางของดาวหาง และความรัก". ไทยพีบีเอส. 2023-09-16.