ดารุณี กฤตบุญญาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดารณี กฤตบุญญาลัย)
ดารุณี กฤตบุญญาลัย
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด8 มีนาคม พ.ศ. 2492
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
เสียชีวิต24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (74 ปี)
สหรัฐอเมริกา
คู่สมรสประกิจ กฤตบุญญาลัย
บุตร3 คน
อาชีพนักแสดง, นักธุรกิจ, นักเคลื่อนไหว
ปีที่แสดงพ.ศ. 2542 - 2564
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ดารุณี กฤตบุญญาลัย (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2492) ชื่อเล่น ดา เป็นนักธุรกิจหญิงและนักแสดงหญิงชาวไทย โดยรับบทในซีรีส์เรียลลิตี้โชว์ ไฮโซบ้านนอก นอกจากนี้ ยังมีผลงานจัดรายการวิทยุ พิธีกร นักเขียน นักพูด คอลัมน์นีสต์ รับเชิญแสดงละครโทรทัศน์ โฆษณา และภาพยนตร์ และยังเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

ประวัติ[แก้]

ดารุณี กฤตบุญญาลัย เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย[1] จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ และระดับปริญญาตรี ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโท เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชา เศรษฐศาสตร์การเมืองรุ่นที่ 4 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเธอยังเคยเข้าร่วมการแข่งขันในรายการแฟนพันธุ์แท้ ตอน เพชร เมื่อปี พ.ศ. 2546 และเป็นผู้ชนะในเทปดังกล่าว

ต่อมา เป็นหนึ่งในผู้ปราศรัยบนเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงช่วงปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ.2553 เป็นแกนนำ นปช. คนหนึ่งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เคยต้องหนีตายจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ลี้ภัยครั้งแรก ไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน 1 ปี กับอีก 5 เดือน กลับสู่ประเทศไทย เมื่อเดือน ตุลาคม 2554 ในปี พ.ศ. 2556 ถูกศาลแพ่ง ดำเนินคดี ข้อกล่าวหาหมิ่นศาล พามวลชนไปวางพวงหรีดที่บันไดในศาล ในฐานะจำเลยที่ 1 เพราะเรียกร้องให้ศาลออกมาตอบ กรณี ศาลวินิจฉัย 2 มาตรฐาน ในการออก พรก.ฉุกเฉิน สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชสชีวะ กับ การออก พรก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ต่อมาเมื่อมีการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทหารก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งเรียกให้ดารุณีไปรายงานตัว แต่เธอมิได้ไปตามคำสั่งดังกล่าว จึงถูกศาลทหารออกหมายจับ

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ นายประกิจ กฤตบุญญาลัย มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ ร้อยโทหญิงวิรุฬกานต์ กฤตบุญญาลัย ทหารอากาศ นักร้อง นักธุรกิจ (ชื่อเล่น: น้ำฝน) มีผลงานเขียนหนังสือสองเล่มคือ "หมื่นพันวันลูก" และ "รักแท้ แม่ไม่ว่าหรอก", ธารนที กฤตบุญญาลัย นักธุรกิจ สำเร็จการศึกษาเป็นเชฟ จากสถาบันกอร์ดองเบลอ (ชื่อเล่น: น้ำพุ) และ ไอยคุปต์ กฤตบุญญาลัย นักธุรกิจ (ชื่อเล่น: น้ำนิ่ง) ซึ่งร่วมจัดตั้ง บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ร่วมกับ พานทองแท้ ชินวัตร เพื่อทำธุรกิจ

เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 ดารุณี กฤตบุญญาลัย ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษา ผ่าตัดฉุกเฉิน ที่โรงพยาบาล ณ สหรัฐ จากสาเหตุ ลำไส้ใหญ่อุดตัน ต่อมาอาการดีขึ้นเป็นปกติ[2] ก่อนจะเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566[3]

การทำงาน[แก้]

  • รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยาม เออาร์ไอ จำกัด[ต้องการอ้างอิง][โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ ยี่ห้อ..ซีเนเตอร์..เป็นของคนไทย 100%]
  • หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พีแอนด์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด[ต้องการอ้างอิง]
  • รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเนเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บทบาททางสังคม[แก้]

  • คณะกรรมการฝ่ายหารายได้ สภาสตรีแห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง]
  • ประธานฝ่ายหารายได้ โครงการหัวใจไร้สาร ของ ปปส.

(องค์การปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ)[ต้องการอ้างอิง]

  • แกนนำ นปช.
  • เลขาธิการสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย ที่ สหรัฐ
  • กรรมการ องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนคนไทย(ตั้งอยู่ที่สหรัฐ)ตั้งแต่ พ.ศ. 2557
  • หัวหน้าทีมจังหวัดหนองคาย ในรายการยกสยาม ของเวิร์คพอยท์

ผลงานวงการบันเทิง[แก้]

  • 2542 ละครเรื่อง วิมานเมขลา
  • 2543 ละครเรื่อง อาญารัก (รับเชิญ)
  • 2544 ละครเรื่อง มายา (รับเชิญ)
  • 2544 ละครเรื่อง ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (รับเชิญ)
  • 2545 ละครเรื่อง เจ้าชายหัวใจเกินร้อย
  • 2545 ละครเรื่อง หาดหรรษา
  • 2545 ละครเรื่อง ยอดรักร้อยล้าน
  • 2545 ละครเรื่อง มณีเมขลา
  • 2545 ละครเรื่อง ต้นรักดอกงิ้ว (รับเชิญ)
  • 2546 ละครเรื่อง คุณย่าดอตคอม
  • 2546 ละครเรื่อง เกล็ดมรกต
  • 2546 ละครเรื่อง เมืองมายา The Series ตอน สุภาพบุรุษมายา
  • 2546 ละครเรื่อง บุษบาสามช่า
  • 2546 ละครเรื่อง เพลงรักเพลงปืน
  • 2547 ละครเรื่อง เสน่ห์จันทร์
  • 2547 ละครเรื่อง เจ้าสาวสาละวัน
  • 2547 ละครเรื่อง รัตตมณี ร.ศ.220 (รับเชิญ)
  • 2548 ละครเรื่อง คุณชายทรานซิสเตอร์
  • 2548 ละครเรื่อง นางฟ้าไซเบอร์ (รับเชิญ)
  • 2548 ละครเรื่อง อยู่กับก๋ง
  • 2549 ละครเรื่อง คนทะเล
  • 2549 ละครเรื่อง อนันตาลัย
  • 2549 ละครเรื่อง สัญญาแค้นแสนรัก (รับเชิญ)
  • 2555 ละครเรื่อง วุ่นวายสบายดี
  • 2564 ละครเรื่อง พระจันทร์ซ่อนดาว (รับเชิญ)
  • พรีเซนเตอร์ โฆษณาประหยัดพลังงานของกระทรวงพลังงาน
  • ดีเจวิทยุ ลูกทุ่งเอฟเอ็ม 95 อสมท.
  • หนังสือพ็อกเก๊ตบุ๊ค “นู้ด-เดิร์น ดารุณี”
  • หนังสือพ๊อกเก๊ตบุ๊ค “คิดเหมือน คิดต่าง คิดอย่าง ดารุณี”

ภาพยนตร์[แก้]

รายการโทรทัศน์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปีฉลู ก้าวย่างบนเส้นทางสายบันเทิงของ...ดารุณี กฤตบุญญาลัย เก็บถาวร 2005-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย สิงหาคม 2545
  2. “ดารุณี” อดีตไฮโซ ถูกหามเข้า รพ.ที่สหรัฐหลังปวดท้องรุนแรง มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2562
  3. "อาลัย "ดารุณี กฤตบุญญาลัย" ไฮโซชื่อดัง คนใกล้ชิดแจ้งข่าว เสียชีวิตแล้ว". สนุก.คอม. 24 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]