ดานิเอล อัลซิเดส การ์ริออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดานิเอล อัลซิเดส การ์ริออน การ์ซิอา
ดานิเอล อัลซิเดส การ์ริออน
เกิด12 สิงหาคม ค.ศ. 1857(1857-08-12)
เซร์โรเดปัสโก ประเทศเปรู
เสียชีวิตตุลาคม 5, 1885(1885-10-05) (28 ปี)
ลิมา ประเทศเปรู
สัญชาติเปรู
มีชื่อเสียงจากโรคการ์ริออน (ไข้โอโรยา)
รางวัลวีรชนแห่งชาติโดยรัฐบาลเปรู
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาแพทยศาสตร์

ดานิเอล อัลซิเดส การ์ริออน การ์ซิอา (สเปน: Daniel Alcides Carrión García; 12 สิงหาคม 1857 – 5 ตุลาคม 1885) เป็นนักศึกษาแพทย์ชาวเปรู ชื่อของเขาได้รับการนำไปตั้งให้กับโรคการ์ริออน

การ์ริออนเป็นที่รู้จักจากการทดลองพิสูจน์เชื้อก่อโรคตัวหนึ่งโดยการทดลองนำเชื้อจากหูดของผู้ป่วยวัย 14 ปี เพาะและนำเข้ากระแสเลือดของตัวเองในปี 1885 ต่อมาเขาเสียชีวิตจากการติดเชื้อในปีเดียวกัน[1] เป้าหมายของเขาคือการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะเลือดฉับพลันว่าจากโรคไข้โอโรยา กับภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นในภายหลังจากโรค ซึ่งเรียกว่า verruga peruana ซึ่งเป็นอาการแสดงออกลักษณะคล้ายหูดสีแดงบนผิวหนัง การทดลองนำเชื้อเข้ากระแสเลือดของตนเองนั้นช่วยพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรค เชื้อ และอาการต่าง ๆ ของไข้โอโรยา นักเรียนแพทย์มิตรสหายของการ์ริออนผู้ช่วยเขาทำการทดลองนี้ต่อมาถูกจับกุมฐานฆาตกรรมหลังการ์ริออนเสียชีวิต แต่ต่อมาก็ได้รับการปล่อยตัว[2] ในปี 1938 มัคซีเมอ ฮันส์ กุตชึญสกี รอดชีวิตจากการทดลองที่คล้ายคลึงกัน[3][4]

ปัจจุบันร่างของการ์ริออนฝังไว้ที่สุสานของโรงพยาบาลแห่งชาติ 2 พฤษภาคม ในลิมา[5] และในปี 1991 รัฐบาลเปรูประกาศเชิดชูเกียรติให้การ์ริออนเป็น "วีรชนแห่งชาติ" (Héroe Nacional)[6] รวมถึงวันที่เขาเสียชีวิต (5 ตุลาคม) ของทุกปีได้รับการเฉลิมฉลองเป็นวันแพทย์แห่งชาติของเปรู (Día de la medicina Peruana) นอกจากนี้ ชื่อของเขายังได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติดานิเอล อัลซิเดส การ์ริออน และสนามกีฬาดานิเอล อัลซิเดส การ์ริออน ทั้งคู่ตั้งอยู่ในเซร์โรเดปัสโก เมืองบ้านเกิดของเขา[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Top 10 Researchers Who Experimented On Themselves; Top Tenz; accessed ???
  2. Cutis, vol. 48, iss. 4-6, p. 339, 1991.
  3. Lawrence K. Altman: Who Goes First? The Story of Self-Experimentation in Medicine. University of California Press, Berkeley 1987, ISBN 0-520-21281-9, S. 4.
  4. Albert Erhardt: Infektionen, Bd. I (= Ergänzungswerk zum Handbuch der experimentellen Pharmakologie, begründet von Arthur Heffter, herausgegeben von Oskar Eichler, Bd. 16: Erzeugung von Krankheitszuständen durch das Experiment, Teil 9). Springer, Berlin 1964, S. 118.
  5. (ในภาษาสเปน) Department of Health / History of Dos de Mayo Hospital เก็บถาวร 2007-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. (ในภาษาสเปน) Ministerio de Salud – Detalles เก็บถาวร 2008-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Department of Health; accessed ???
  7. (ในภาษาสเปน) Official website of the National University Universidad Nacional Daniel Alcides Carrion

บรรณานุกรม[แก้]