ดัว ลีปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัว ลีปา
เกิด (1995-08-22) 22 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี)
เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
สัญชาติสหราชอาณาจักร
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • นางแบบ
  • นักออกแบบเสื้อผ้า
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปี2014–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์dualipa.com
ลายมือชื่อ

ดัว ลีปา (/ˈdə ˈlpə/ ( ฟังเสียง) DOO-ə-_-lee-pə, แอลเบเนีย: Dua Lipa; เกิด 22 สิงหาคม ค.ศ. 1995) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนางแบบชาวอังกฤษและแอลเบเนีย[3][4] หลังจากทำงานเป็นนางแบบเธอได้เซ็นสัญญากับวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ปในปี 2015 และปล่อยอัลบั้มเปิดตัว Dua Lipa ในปี 2017 อัลบั้มนี้ติดอันดับสูงสุดที่อันดับสามในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร และมีซิงเกิลเก้าเพลง เช่น Be the One และ IDGAF และเพลงอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร New Rules ซึ่งครองอันดับที่หกในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ในปี 2018 ลีปาได้รับรางวัลบริตอะวอดส์ สาขาศิลปินหญิงเดี่ยวและสาขาศิลปินหน้าใหม่

ในเดือนเมษายนปี 2018 เธอเปิดตัวซิงเกิล One Kiss กับแคลวิน แฮร์ริส โดยเพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรและกลายเป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งที่ยาวนานที่สุดสำหรับศิลปินหญิง ในปี 2018 เธอได้รับรางวัลบริตอะวอดส์ สาขาเพลงแห่งปี 2019 และเธอยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และ Electricity ซึ่งเธอร่วมทำเพลงกับ Silk City ได้รับรางวัลแกรมมีสาขาการเต้นยอดเยี่ยม ความสำเร็จของเธอทำให้อัลบั้มของเธอกลายเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มีการสตรีมมากที่สุดบนสปอทิฟาย

ลีปาเคยได้รับรางวัลแกรมมี 2 ครั้ง, บริตอะวอดส์ 3 ครั้ง และเอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ 2 ครั้ง นอกจากนี้เธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด 3 ครั้ง, อเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 1 ครั้ง และเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์อีก 10 ครั้ง

ชีวิตในวัยเด็ก[แก้]

ลีปาเกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 1995 เวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร พ่อแม่ของเธอเป็นชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนียที่อพยพมาจากพริสตีนา สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (ปัจจุบัน ประเทศคอซอวอ[a]) ในปี 1992[4] โดยลีปายังมีเชื้อสายบอสเนียจากคุณยายของเธออีกด้วย[5] ลีปายังมีน้องสาวและน้องชายอย่างละหนึ่งคน[6] เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนในกรุงลอนดอน[7] ก่อนที่จะย้ายกลับไปยังประเทศคอซอวอกับครอบครัวในปี 2006 เมื่อพ่อของเธอได้รับข้อเสนองานที่นั่น[8] เธอกลายเป็นแฟนเพลงของศิลปินแนวฮิปฮอป ซึ่งต่อมามีอิทธิพลต่อแนวเพลงของเธอในที่สุด[9]

ตอนอายุ 14 ปี ลีปาเริ่มโพสต์วิดีโอลงบนยูทูบ คัฟเวอร์เพลงโปรดของเธอจากศิลปินหลายคน เช่น พิงก์และเนลลี เฟอร์ทาโด[10][11][12] เธอระบุว่าเธอได้รับอิทธิพลจากจัสติน บีเบอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากการโพสต์ลงบนยูทูบ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เธออยากจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน[13][14] หนึ่งปีต่อมาเธอย้ายกลับไปยังลอนดอนด้วยความฝันที่จะเป็นนักร้อง[15] เพื่อหารายได้ในการเรียนดนตรี ลีปาจึงต้องทำงานเสริมหลายอย่าง เช่น พนักงานต้อนรับในร้านอาหาร[16] เธอเริ่มทำงานเป็นนางแบบให้กับบริษัทแฟชั่นออนไลน์ ASOS เมื่ออายุ 16 ปี[17] โดยมีเป้าหมายเพื่อพบปะผู้คนที่สามารถช่วยเธอในการเป็นนักร้อง[10] แต่เธอลาออกจากการเป็นนางแบบหลังจากผู้จัดการบอกให้เธอลดน้ำหนัก[10] ในปี 2013 ลีปาได้แสดงในโฆษณาทางโทรทัศน์รายการ ดิเอ็กซ์แฟกเตอร์.[18]

ผลงานเพลง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Yeung, Neil Z. "Dua Lipa | Biography & History". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  2. Green, Chris (27 January 2016). "Dua Lipa, O2 ABC, Glasgow, review: Jazz-infused songs recall a smoke-filled cabaret bar". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 July 2016.
  3. Savage, Mark (9 February 2016). "Dua Lipa: A pop star in waiting". BBC News. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
  4. 4.0 4.1 Lester, Paul (1 January 2016). "Shake it up: the future female pop stars of 2016". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
  5. Lamont, Tom (15 April 2018). "Dua Lipa: 'Pop has to be fun. You can't get upset about every little thing'". The Observer. ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 28 June 2020.
  6. Laviola, Erin (25 July 2018). "Rina Lipa, Dua Lipa's Sister: 5 Fast Facts You Need to Know". Heavy. สืบค้นเมื่อ 18 October 2018.
  7. "The Realest It Gets: Dua Lipa". Clash.
  8. Davidson, Amy b (11 December 2015). "Meet your new favourite popstar Dua Lipa – just don't call her the new Lana Del Rey". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
  9. "Dua Lipa Recovered from a Rough Modeling Career to Become a Pop Sensation". Harper's Bazaar. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  10. 10.0 10.1 10.2 Weber, Lindsey (9 December 2015). "Meet Dua Lipa, A Restless Spirit with a Mighty Big Voice". The Fader.
  11. "'I want to work with A$AP Rocky' – Dua Lipa talks dark pop and hip hop influences". BBC Radio 1. 10 December 2015.
  12. "Interview: 2016 Must-Know – Dua Lipa". Coup de Main Magazine. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  13. News, A. B. C. "How Dua Lipa went from aspiring singer to one of today's top global female pop stars". ABC News. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020. I thought that was the easiest thing I could reach out to — social media and YouTube. It never had that kind of Justin Bieber effect I was hoping for," Lipa said. "But it created a formal portfolio for me, and then I started getting some messages from producers and people being like, 'Hey if you want to come and use the studio you can come and just write.' And that's how I started. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  14. Savage, Mark (2 April 2020). "How Dua Lipa released an album from isolation". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020. Deep down I wanted to have that Justin Bieber effect where someone would find me on YouTube!
  15. Gore, Sydney (23 October 2015). "Band Crush: Dua Lipa". Nylon.
  16. "Dua Lipa". South by Southwest. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  17. "Dua Lipa talks about her teen years in Kosovo and why it's tough for new music artists to break through". London Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  18. Murphy, Lauren (30 August 2017). "Watch: Turns out Dua Lipa appeared on an ad for The X Factor back in 2013". entertainment.ie. สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]