ดอรอน ไซลเบอเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอรอน ไซลเบอเกอร์
รูปภาพของ ดอรอน ไซลเบอเกอร์ แสดงความเท่ากันของผลบวก hypergeometric บนเสื้อของเขา
เกิด02 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
ไฮฟา ประเทศอิสราเอล
พลเมืองอิสราเอล
มีชื่อเสียงจากเมทริกซ์เครื่องหมายสลับ, WZ theory
รางวัลLester R. Ford Award (1990), Leroy P. Steele Prize (1998), Euler Medal (2004), David P. Robbins Prize (2016)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาคณิตศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์
สถาบันที่ทำงานRutgers University
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกHarry Dym

ดอรอน ไซลเบอเกอร์ (อังกฤษ: Doron Zeilberger; ฮีบรู: דורון ציילברגר, เกิดวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิสราเอล ได้รับความรู้จักจากงานด้านคอมบินาโทริก (combinatorics)

การศึกษาและอาชีพ[แก้]

Zeilberger จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Wiezmann Institute Of Science ในปี พ.ศ. 2519 ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา Harry Dym[1] Zeilberger ได้รับตำแหน่ง Board of Governors Professor of Mathematics จาก มหาวิทยาลัย Rutgers[2]

ผลงาน[แก้]

Zeilberger ได้สร้างผลงานที่สำคัญ ทางด้านcombinatorics, Hypergeometrics identities และ q-series Zeilberger ยังเป็นคนแรกที่พิสูจน์ alternating sign matrix conjecture ซึ่งผลงานนี้ไม่ได้มีความสำคัญในแง่คณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังได้รวบรวมอาสาสมัครนับร้อยคน มาช่วยตรวจบทวิจัย ก่อนนำส่งตีพิมพ์ ในปีพ.ศ. 2553, Zeilberger กับ Manuel Kauers และ Chirstoph Koutschan ยังได้ร่วมกันพิสูจน์ q-TSPP conjecture ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกคาดเดาขึ้นมาโดยไม่ได้ปรึกษากันของ George Andrews และ David P. Robbins[3] ในปีพ.ศ. 2526

Zeilberger เชื่อในจำนวนจำกัด(finite)เท่านั้น[4] และเป็นที่รู้กันว่าเขาให้ได้เครดิตกับคอมพิวเตอร์ "Shalosh B. Ekhad"ของเขา ในฐานะผู้ร่วมทำวิจัย ("Shalosh" แปลว่า สาม และ "Ekhad" แปลว่า หนึ่ง ในภาษาฮิบบลู ซึ่งอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของเขา AT&T 3B1[5]) ไม่เพียงเท่านั้น เขายังเป็นที่รู้จัก จากการแสดงความคิดเห็นในบทความต่างต่าง ตัวอย่างเช่น

คนที่เห็นว่าคณิตศาสตร์ประยุกต์เป็นคณิตศาสตร์ที่แย่เป็นนักคณิตศาสตร์ที่แย่

ดูซิ โปรแกรมมิ่งสนุกกว่าพิสูจน์ทฤษฎีอีกนะ และทีสำคัญ มันทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง (มากกว่าพิสูจน์) อีกด้วย

Frank Quinn's Rigor ไม่ rigor อย่างที่ตัวเค้าคิดนะ

ยังชอบใช้กระดานดำแบบเดิมเดิม ระหว่างการเสนอผลงานอยู่

รางวัล และ การยอมรับ[แก้]

Zeilberger ได้รับรางวัล Lester R. Ford Award ใน ปีพ.ศ. 2533[6] Herbert Wilf และ Zeilberger ได้รับรางวัล Leroy P. Steele จัดโดย American Mathematical Society จากผลงานชิ้นสำคัญ ในการพัฒนา WZ theory ที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งผลงานชิ้นนี้เป็นการพัฒนาครั้งใหญ่ ในหมวดวิชา hypergeometric summation ไม่เพียงเท่านั้น ในปีพ.ศ. 2547 Zeilberger ได้รับรางวัล Euler medal ในรายงานได้พูดว่า "(ท่านคือ) เแชมป์เบี้ยนในการใช้คอมพิวเตอร์และอัลกอริทึมในการทำคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ" ในปีพ.ศ. 2559 Zeilberger กับ Manuel Kauers และ Chirstoph Koutschan ได้รับรางวัล David P. Robbins จาก American Mathematical Society

ในปี พ.ศ. 2555 Zeilberger ได้รับเชิญเป็นส่วนหนึ่งของ American Mathematical Society[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. ดอรอน ไซลเบอเกอร์ at the Mathematics Genealogy Project
  2. Rutgers Focus เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 December 2000
  3. Koutschan, C., Kauers, M., and Zeilberger, D., Proof of George Andrews’s and David Robbins’s q-TSPP conjecture, Proc. Natl. Acad. Sci. USA 108 (2011), 2196–2199.
  4. An Enquiry Concerning Human (and Computer!) (Mathematical) Understanding
  5. Gallian, J. and Pearson, M., An Interview with Doron Zeilberger FOCUS 27 (2007), 14–17.
  6. Zeilberger, Doron (1989). "Kathy O'Hara's constructive proof of the unimodality of the Gaussian polynomials". Amer. Math. Monthly. 96: 590–602. doi:10.2307/2325177.
  7. List of Fellows of the American Mathematical Society, retrieved 2013-09-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]