ดอมเพริโดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดอมเพอริโดน)
ดอมเพริโดน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าMotilium และอื่น ๆ
AHFS/Drugs.comMicromedex Detailed Consumer Information
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: ไม่ได้กำหนด
ช่องทางการรับยาทางปาก ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทางเส้นเลือดดำ (หยุดใช้แล้ว) เหน็บทางทวารหนัก[1]
ประเภทยาD2 receptor antagonist; Prolactin releaser
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลปาก: 13-17%[1][4]
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ: 90%[1]
การจับกับโปรตีน~92%[1]
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (CYP3A4/CYP3A5
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยาทั้งหมดไร้ฤทธิ์[1][5]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ7.5 ชม.[1][4]
การขับออกอุจจาระ: 66%[1]
ปัสสาวะ: 32%[1]
นมมารดา: น้อย[1]
ตัวบ่งชี้
  • 5-Chloro-1-(1-[3-(2-oxo-2,3-dihydro-1H-benzo[d]imidazol-1-yl)propyl]piperidin-4-yl)-1H-benzo[d]imidazol-2(3H)-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.055.408
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC22H24ClN5O2
มวลต่อโมล425.911 กรัม/โมล g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
จุดหลอมเหลว242.5 องศาเซลเซียส (468.5 องศาฟาเรนไฮต์)
  • Clc1cc2c(cc1)N(C(=O)N2)C5CCN(CCCN4c3ccccc3NC4=O)CC5
  • InChI=1S/C22H24ClN5O2/c23-15-6-7-20-18(14-15)25-22(30)28(20)16-8-12-26(13-9-16)10-3-11-27-19-5-2-1-4-17(19)24-21(27)29/h1-2,4-7,14,16H,3,8-13H2,(H,24,29)(H,25,30) checkY
  • Key:FGXWKSZFVQUSTL-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ดอมเพริโดน (อังกฤษ: Domperidone) ซึ่งขายในยี่ห้อรวมทั้ง Motilium และอื่น ๆ เป็นยาต้านหน่วยรับโดพามีนแบบดี2 (dopamine D2 receptor antagonist) และมีฤทธิ์อย่างเจาะจงนอกระบบประสาทกลาง (peripherally selective) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเบลเยียม Janssen Pharmaceutica และใช้เป็นยาแก้อาเจียน ยาโปรคิเนติก และยาขับน้ำนม[1][6][7] ยาสามารถให้ทางปากหรือทวารหนัก ในรูปแบบยาเม็ด ยาเม็ดละลายในปาก (โดยใช้เทคโนโลยี Zydis)[8] ยาน้ำโดยเป็นสารแขวนลอย และยาเหน็บ[9] ยาใช้สำหรับบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน เพื่อเร่งขับอาหารผ่านกระเพาะลำไส้ (โดยเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหาร) และเพื่อขับน้ำนมมารดาโดยมีผลให้หลั่งฮอร์โมน prolactin[1][7]

การแพทย์[แก้]

รายงานปี 2007 ระบุว่า ยามีขายในประเทศ 58 ประเทศ[10] แต่ข้อบ่งใช้ยาจะต่างกัน เช่นในอิตาลี มันใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน และในแคนาดา ยาให้ใช้รักษาโรคการบีบตัวของทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal motility disorder) และเพื่อกันอาการทางเดินอาหารที่เกิดเนื่องจากยารักษาโรคพาร์คินสัน (dopamine agonist antiparkinsonian agent)[11] ในสหราชอาณาจักร ยาให้ใช้เพียงเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน และจำกัดให้ใช้เพียง 1 อาทิตย์

ในสหรัฐ ยาโดยทั่วไปไม่อนุมัติให้ใช้ในมนุษย์ ในปี 2004 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้แจ้งเตือนว่า การแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ที่มีดอมเพริโดนเป็นการกระทำผิดกฎหมาย[12]

อาการคลื่นไส้และอาเจียน[แก้]

มีหลักฐานบ้างว่า ยามีฤทธิ์แก้อาเจียน (antiemetic)[13] แนวทางการรักษาของสมาคมปวดศีรษะแคนาดา (Canadian Headache Society) แนะนำให้ใช้รักษาความคลื่นไส้ที่สัมพันธ์กับไมเกรนแบบฉับพลัน[14]

อัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร[แก้]

อัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร (gastroparesis) เป็นภาวะที่อาหารออกจากกระเพาะช้าแม้เมื่อไม่มีการอุดตัน ปกติจะไม่รู้สาเหตุ หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หรือเป็นผลของการบาดเจ็บที่ท้อง เป็นภาวะที่ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องแน่นหลังทานอาหาร อิ่มเร็ว ปวดท้อง และท้องพอง (bloating) ยาจึงอาจมีประโยชน์สำหรับคนไข้โรคเบาหวานและอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร[15][16]

อย่างไรก็ดี ก็ยังไม่แน่นอนว่า กระเพาะอาหารที่ว่างเร็วขึ้นเนื่องจากยาเช่นนี้ จะบรรเทาอาการ[17]

โรคพาร์คินสัน[แก้]

โรคพาร์คินสันเป็นโรคเรื้อรังทางประสาท ที่ระดับโดพามีนซึ่งลดลงในสมองจะก่อสภาพแข็งเกร็ง (คือขยับตัวอย่างแข็ง ๆ) อาการสั่น และอาการอื่น ๆ ทางเดินอาหารที่ทำงานได้ไม่ดี คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนไข้ เพราะยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคนี้โดยมากเป็นยาทาน และยาเหล่านี้เช่น levodopa ก็ยังอาจทำให้คลื่นไส้โดยเป็นผลข้างเคียง อนึ่ง ยาแก้คลื่นไส้ เช่น metoclopramide ยังสามารถข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือด (blood-brain barrier) จึงอาจทำให้อาการ extrapyramidal[A] ของโรคแย่ลง

ดอมเพริโดนสามารถใช้บรรเทาอาการทางเดินอาหารสำหรับโรคพาร์คินสัน เพราะมันระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนแบบดี2 แต่ก็ไม่ข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือด ดังนั้น จึงไม่มีผลต่ออาการ extrapyramidal[A] ของโรค[19] อนึ่ง ยาอาจเพิ่มความพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของ levodopa ซึ่งเป็นยาหลักในการรักษาโรคพาร์คินสันอย่างหนึ่ง[20]

แม้ลักษณะต่าง ๆ เช่นนี้อาจจะทำให้ยามีประโยชน์สำหรับโรคพาร์คินสัน แต่ก็จะต้องระมัดระวังเพราะมีผลข้างเคียงเป็นพิษต่อหัวใจ โดยเฉพาะถ้าให้ทางเส้นเลือดดำ หรือให้ผู้สูงอายุ หรือให้มากกว่า 30 มก. ต่อวัน[21] อาการเป็นพิษต่อหัวใจของยาก็คือความยาวขึ้นของคลื่นหัวใจช่วง QT interval[22]

อาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ (functional dyspepsia)[แก้]

ยาสามารถใช้รักษาอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ (functional dyspepsia) ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก[23][24]

การหลั่งน้ำนม[แก้]

ฮอร์โมน prolactin จะกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนม แต่โดพามีนที่หลั่งโดยไฮโปทาลามัสจะระงับการหลั่ง prolactin จากต่อมใต้สมอง เพราะดอมเพริโดนมีฤทธิ์ต้านโดพามีน มันจึงทำให้หลั่ง prolactin มากขึ้น และดังนั้น จึงเป็นยาขับน้ำนม ในบางประเทศ รวมทั้งออสเตรเลีย ยาจะใช้นอกข้อบ่งใช้อาศัยหลักฐานโดยเรื่องเล่าที่ไม่แน่นอน เพื่อบำบัดมารดาที่มีปัญหาเลี้ยงลูกด้วยนม[25][26] ในสหรัฐ ยานี้ไม่อนุมัติให้ใช้ในการนี้หรือการอื่น ๆ[27][28]

อย่างไรก็ดี งานศึกษาที่ชื่อว่า EMPOWER ได้ประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเพื่อช่วยมารดาที่คลอดบุตรก่อนกำหนดให้สามารถให้นมแก่บุตรได้[29] งานได้จัดมารดาผู้คลอดก่อนกำหนด 90 คนเข้ากลุ่มโดยสุ่ม กลุ่ม A ได้รับยา 10 มก. ทางปาก 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 28 วัน กลุ่ม B ได้ยาหลอกเท่ากัน ๆ แต่แค่ 14 วัน ตามด้วยยาจริงอีก 14 วัน ปริมาณนมที่ผลิตโดยเฉลี่ยคล้าย ๆ กันทั้งสองกลุ่มในเบื้องต้น แต่หลังจาก 14 วัน มารดา 78% ที่ได้ยา (กลุ่ม A) ผลิตนมมากขึ้น 50% และมารดา 58% คนที่ได้ยาหลอก (กลุ่ม B) ผลิตนมมากขึ้น 50% เช่นกัน[30] ซึ่งแสดงว่ายานี้มีผลเพิ่มการผลิตนม

เพื่อให้หลั่งนม ยาจะให้ในขนาด 10-20 มก. 3-4 ครั้งต่อวันทางปาก[31] ผลจะเห็นได้ภายใน 24 ชม. หรือภายใน 3-4 วัน[31] ผลระดับสูงสุดจะเกิดภายใน 2-3 สัปดาห์ และโดยทั่วไปจะให้ยาเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์[31]

งานปริทัศน์เป็นระบบแบบคอเคลนปี 2012 แสดงว่า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนให้ใช้ยาขับน้ำนมแบบป้องกันไว้ก่อน ไม่ว่าจะในช่วงการตั้งครรภ์ใด ๆ รวมทั้งยานี้[32]

กรดไหลย้อนในเด็ก[แก้]

ยานี้พบว่ามีประสิทธิผลเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนในเด็ก[33] แต่ผู้ชำนาญการบางพวกก็พิจารณาว่ามันเสี่ยงมากเกินไปเพื่อใช้รักษาแบบนี้[34]

ข้อห้ามใช้[แก้]

  • ร่วมกับสารที่ยับยั้งระบบเอนไซม์ CYP3A4 เช่น
  • ร่วมกับยาที่เพิ่มความยาวคลื่นหัวใจช่วง QT-interval เช่น amiodarone[35]
  • เมื่อมีเนื้องอกต่อมใต้สมองที่หลั่ง prolactin (โปรแลกติโนมา) หรือภาวะมี prolactin ในเลือดเกิน (hyperprolactinemia)
  • เมื่อมีโรคลำไส้ที่เป็นโรคทางกายภาพ เช่น ลำไส้อุดตัน การตกเลือดในทางเดินอาหาร หรือลำไส้ทะลุ
  • เมื่อตับพิการในระดับปานกลาง
  • เมื่อไตพิการอย่างหนัก
  • เมื่อมีโรคหัวใจ

ผลข้างเคียง[แก้]

ผลข้างเคียงของยารวมทั้งปากแห้ง ตะคริวที่ท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ เป็นผื่น คัน ลมพิษ และภาวะมี prolactin ในเลือดเกิน (ซึ่งอาการอาจรวมนมใหญ่ขึ้น น้ำนมไหล ปวดเต้านม นมโตในชาย ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกิน และการมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ)[31]

เพราะระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนแบบดี2ในระบบประสาทกลาง ยาต้านหน่วยรับดี2 เช่น metoclopramide สามารถมีผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมทั้งง่วงนอน, นั่งไม่ติดที่ (akathisia), อยู่ไม่เป็นสุข, นอนไม่หลับ, อิดโรย, ล้า, อาการ extrapyramidal[A], dystonia[B] อาการโรคพาร์คินสัน อาการยึกยือเหตุยาที่เกิดภายหลัง (tardive dyskinesia) และอารมณ์ซึมเศร้า[1][7] แต่ดอมเพริโดนไม่เป็นเช่นนี้ เพราะไม่เหมือนกับสารต้านหน่วยรับดี2อื่น ๆ มันสามารถข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือดได้น้อยมาก และเพราะเหตุนี้ จึงไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเหล่านี้[1][7]

ระดับ prolactin เกิน[แก้]

เนื่องจากระงับการทำงานปกติของหน่วยรับดี2 ยาจึงเป็นเหตุให้เกิดสภาพ prolactin เกินในเลือด[38] ซึ่งก็จะระงับการหลั่งฮอร์โมน gonadotropin-releasing hormone (GnRH) จากไฮโปทาลามัส ซึ่งก็จะงับการหลั่งฮอร์โมน follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) และมีผลเป็นต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกิน (hypogonadism) คือมีฮอร์โมนทางเพศน้อยเกิน เช่น เทสโทสเตอโรนและ estradiol[39] ดังนั้น คนไข้ชายอาจจะมีอารมณ์ทางเพศต่ำ การแข็งตัวของอวัยวะเพศที่ผิดปกติ (erectile dysfunction) และการสร้างสเปิร์มที่หย่อนสมรถถภาพ[39]

อนึ่ง เพราะการมี prolactin ในเลือดเกิน คนไข้หญิง 10-15% รายงานว่าเกิดนมโต (mammoplasia) ปวดเต้านม (mastodynia) น้ำนมไหล (galactorrhea) และการไม่มีประจำเดือน (amenorrhea) เพราะรักษาด้วยยา[38] ภาวะนมโตในชายก็มีด้วยเมื่อรักษาด้วยยา[40] และน้ำนมไหลก็สามารถเกิดในชายได้เช่นกัน[39]

ปฏิกิริยาที่มีน้อย[แก้]

ทางหัวใจ[แก้]

การใช้ยาสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงตายเหตุหัวใจแบบฉับพลัน (sudden cardiac death) ถึง 70%[41] เพราะมันอาจยืดคลื่นหัวใจช่วง QT interval แล้วก่อภาวะหัวใจเสียจังหวะ (ventricular arrhythmia)[42][43] เหตุเชื่อว่าเพราะมันหยุดช่องไอออนโพแทสเซียมที่เปิดปิดด้วยศักย์ไฟฟ้าแบบ hERG[44][45] ความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ และดูเหมือนจะมากที่สุดเมื่อให้ในขนาดสูงและสูงมากผ่านเส้นเลือดดำ ในผู้สูงอายุ และเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับดอมเพริโดนโดยเพิ่มความเข้มข้นของมัน (คือเป็นยาที่ยับยั้งระบบเอนไซม์ CYP3A4)[46][47] แต่ก็มีรายงานต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันด้วยเหมือนกัน[48] ในเด็กเพิ่งเกิดใหม่และทารก การยืดช่วงคลื่นหัวใจคือ QT prolongation ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน[49][50]

องค์กรควบคุมยาของสหราชอาณาจักร (MHRA) ได้จำกัดการใช้ยาในปี 2014 เนื่องจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นเนื่องกับหัวใจ[51]

ดอมเพริโดน (Motilium) สัมพันธ์กับความเสี่ยงผลข้างเคียงเกี่ยวกับหัวใจอย่างหนักซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การใช้มันต่อแต่นี้ไปให้จำกัดเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน ทั้งขนาดและระยะการใช้ก็ให้ลดลง มันไม่ควรใช้รักษาอาการท้องพอง (bloating) และอาการแสบร้อนกลางอก ดอมเพริโดนต่อแต่นี้ไปห้ามใช้ในบุคคลที่มีโรคหัวใจและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ คนไข้ที่มีภาวะเหล่านี้ และคนไข้ที่กำลังรักษาในระยะยาวด้วยดอมเพริโดนควรประเมินใหม่เมื่อไปหาหมอตามนัด อาศัยคำแนะนำใหม่นี้

แต่งานทบทวนวรรณกรรมปี 2015 ของออสเตรเลียก็ได้สรุปดังต่อไปนี้[47]

อาศัยผลงานศึกษา TQT (ซึ่งเป็นวิธีการประเมินมาตรฐานทองขององค์กรในปัญหาการยืดคลื่นหัวใจ) สองงาน ดอมเพริโดนไม่ปรากฏว่าสัมพันธ์กับคลื่นหัวใจช่วง QT-interval ที่ยาวขึ้นอย่างสำคัญเมื่อใช้ทานในขนาด 20 มก. 4 ครั้งต่อวันในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี นอกจากนั้น รายงานกรณีคนไข้ที่สนับสนุนความสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของหัวใจก็มีจำกัด และงานศึกษาแบบ case-control ที่บ่อยครั้งอ้างก็มีข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่สำคัญ แม้จะมีความเสี่ยงที่ยังไม่ชัดเจนเมื่อความเข้มข้นทั่วร่างกายสูงกว่านี้ โดยเฉพาะในคนไข้ผู้มีความเสี่ยงพื้นฐานต่อการยืดช่วงคลื่นหัวใจ QT-interval ที่สูงขึ้น งานทบทวนของเราก็ไม่สนับสนุนมุมมองว่า ดอมเพริโดนมีความเสี่ยงที่ทนรับไม่ได้

พิษที่อาจมีต่อระบบประสาทกลางในทารก[แก้]

ในสหราชอาณาจักร มีคดีเกี่ยวกับมารดาที่มีลูกสามคนผู้ล้วนแต่มีภาวะไอออนโซเดียมเกินในเลือด (hypernatraemia) และเด็กสองคนได้เสียชีวิต เธอจึงถูกจับข้อหาวางยาพิษแก่เด็กโดยใช้เกลือ เด็กคนหนึ่ง ผู้คลอดหลังจากอยู่ในครรภ์เพียง 28 อาทิตย์ผู้มีภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจ ต้องผ่าตัดผูกหูดรูดกระเพาะอาหารเนื่องจากโรคกรดไหลย้อน และไม่โตตามวัย ได้รับยาดอมเพริโดนตามแพทย์สั่ง ทนายของมารดาได้เสนอว่า เด็กอาจเกิดอาการ neuroleptic malignant syndrome[C] โดยเป็นผลข้างเคียงของยา เนื่องจากมันสามารถข้ามตัวกั้นสมองจากระบบเลือดที่ยังไม่เจริญอย่างสมบูรณ์ของเด็กได้[54]

ปฏิสัมพันธ์[แก้]

ดอมเพริโดนจะสลายผ่านระบบเอนไซม์ CYP3A4 เกือบทั้งหมด และเพราะเหตุนี้ ยายับยั้งหรือเสริมเอนไซม์นี้อาจเปลี่ยนเมแทบอลิซึมและความเข้มข้นของยาในเลือด นอกจากนั้น ยายังได้ระบุว่าเป็นตัวยับยั้งระบบเอน์ไซม์ CYP3A4 แบบผันกลับไม่ได้อย่างพอประมาณ (ที่ Ki = 12 μM) และได้ประเมินว่า มันอาจเพิ่มความเข้มข้นของตัวถูกเปลี่ยนของเอนไซม์ CYP3A4 ในเลือดโดยประมาณ 50%[55]

ยาคีโตโคนาโซลและ itraconazole ที่ล้วนใช้รักษาการติดเชื้อรา เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 ที่มีฤทธิ์ และจะเพิ่มความเข้นข้นในเลือดของดอมเพริโดน[56][57] ในอาสาสมัครผู้มีสุขภาพดี คีโตโคนาโซลเพิ่มความเข้มข้นของดอมเพริโดนวัดโดย Cmax และ AUC ถึง 3-10 เท่า[58] ซึ่งตามมาด้วยการยืดคลื่นหัวใจช่วง QT interval ประมาณ 10-20 มิลลิวินาที เมื่อให้ดอมเพริโดน 10 มก. 4 ครั้งต่อวัน และให้คีโตโคนาโซล 200 มก. ต่อวัน เทียบเมื่อให้ดอมเพริโดนเท่ากันแต่อย่างเดียวจะไม่มีผลดังที่ว่า[58] ดังนั้น การใช้ดอมเพริโดนร่วมกับคีโตโคนาโซล หรือกับสารยับยั้ง CYP3A4 อื่น ๆ อาจเป็นอันตราย[58]

อิริโทรมัยซินและยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolide บางอย่าง เป็นสารยับยั้ง CYP3A4 และยับยั้งการสลายดอมเพริโดน (ในสภาพแวดล้อมที่ทำเทียมขึ้น) และดังนั้น ก็อาจเพิ่มความเข้มข้นของดอมเพริโดนและผลข้างเคียงที่อาจเกิดของมัน นี่น่าเป็นห่วง เพราะยาทั้งสองอาจใช้รักษาอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร (gastroparesis)[59]

มีหลักฐานว่า ยาไม่ควรทานกับน้ำเกรปฟรูต ซึ่งก็เป็นตัวยับยั้ง CYP3A4 ด้วย[60]

เภสัชวิทยา[แก้]

Pharmacodynamics[แก้]

ดอมเพริโดนเป็นยาต้าน (antagonist) หน่วยรับโดพามีนแบบดี2 (dopamine D2 receptor) และแบบดี3 (dopamine d3 receptor) มีฤทธิ์อย่างเจาะจงนอกระบบประสาทกลาง (peripherally selective)[7] และไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญทางคลินิกกับหน่วยรับแบบดี1 ซึ่งไม่เหมือน metoclopramide[7] ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้โดยระงับการทำงานของหน่วยรับดี2ในเขต chemoreceptor trigger zone (ในระบบประสาทส่วนที่อำนวยอาการคลื่นไส้) ซึ่งอยู่ที่ฐานของโพรงสมองที่สี่ ยาเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหารส่วนบนในระดับกลาง ๆ และเพิ่ม[61] แรงดันที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) โดยระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนในกระเพาะส่วนปลาย (gastric antrum) และในลำไส้เล็กส่วนต้น ยาระงับการทำงานของหน่วยรับโดพามีนในต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior) ซึ่งมีผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน prolactin ซึ่งก็มีผลเพิ่มการหลั่งน้ำนม[62][63] ยาอาจมีประโยชน์ในคนไข้บางพวกแต่อาจเป็นอันตรายในอีกพวกเนื่องกับกรรมพันธุ์ของบุคคล เช่น ภาวะพหุสัณฐานของยีนขนส่งยาคือ ABCB1 (ซึ่งเข้ารหัสโปรตีน P-glycoprotein), ของยีนช่องโพแทสเซียมที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated potassium channel) คือ KCNH2 (hERG/Kv11.1), และของยีน α1D—adrenoceptor คือ ADRA1D[64]

ผลต่อระดับ prolactin[แก้]

ยาทานขนาด 20 มก. พบว่าเพิ่มระดับฮอร์โมน prolactin ในเลือด (วัด 90 นาทีหลังทาน) ในหญิงที่หลั่งน้ำนมโดยเพิ่มจาก 8.1 นาโนกรัม/มล. เป็น 110.9 นาโนกรัม/มล. (เพิ่มขึ้น 13.7 เท่า)[7][65][66][67] ซึ่งคล้ายกับเมื่อทานยา metoclopramide ขนาด 20 มก. (เพิ่มจาก 7.4 นาโนกรัม/มล. เป็น 124.1 นาโนกรัม/มล. คือ 16.7 เท่า)[66][67] หลังจากการทานตลอด 2 อาทิตย์ โดยทาน 30 มก. ต่อวัน การเพิ่มระดับ prolactin ของดอมเพริโดนจะลดลง (เป็น 53.2 นาโนกรัม/มล. คือ 6.6 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน) แต่ของ metoclopramide กลับเพิ่มยิ่งขึ้น (เป็น 179.6 นาโนกรัม/มล. คือ 24.3 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน)[7][67] ซึ่งแสดงว่า การให้ยาทั้งสองไม่ว่าจะโดยชั่วคราวหรือโดยต่อเนื่องมีประสิทธิผลเพิ่มระดับ prolactin แต่การให้ยาระยะยาวมีผลต่างกันในระหว่างยาทั้งสอง[66][67]

กลไกความแตกต่างยังไม่ชัดเจน[67] การเพิ่มระดับ prolactin ของยาทั้งสองเกิดในหญิงมากกว่าชายตามคาด[66][67] โดยน่าจะเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงกว่าในหญิง เพราะเอสโตรเจนกระตุ้นให้หลั่ง prolactin[68]

เพื่อการเปรียบเทียบ ระดับ prolactin ของหญิงปกติจะน้อยกว่า 20 นาโนกรัม/มล. โดยถึงขีดสูงสุดที่ 100-300 นาโนกรัม/มล. ในหญิงมีครรภ์เมื่อกำลังคลอด คือระดับจะอยู่ที่ 90 นาโนกรัม/มล. 10 วันหลังคลอด และ 44 นาโนกรัม/มล. 180 วันหลังคลอด[69][70]

ผลต่อระดับฮอร์โมน TSH[แก้]

ยายังเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ในระดับที่น้อยกว่าการเพิ่ม prolactin แม้ในคนไข้ภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism)[66] การให้ยาสำหรับหญิงที่มีภาวะขาดไทรอยด์ทางเส้นเลือดขนาด 4 mg จะเพิ่มระดับ TSH โดยได้ค่าสูงสุดที่ 1.9 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน และเพิ่มระดับ prolactin โดยได้ค่าสูงสุดที่ 23 เท่าเหนือค่าพื้นฐาน หลังจากให้ยา 30 นาที[66] ระดับ TSH และ prolactin จะลดลงเหลือ 1.6 เท่าและ 17 เท่าเหนือค่าพื้นฐานตามลำดับ หลังให้ยา 120 นาที[66]

Pharmacokinetics[แก้]

สำหรับยาทาน ดอมเพริโดนจะสลายในตับเกือบทั้งหมดผ่านระบบเอนไซม์ CYP3A4/CYP3A5 (แม้มีรายงานว่าระบบ CYP1A2, CYP2D6, และ CYP2C8 ก็มีบทบาทเล็กน้อย)[71] และในลำไส้[5] เนื่องจากเมแทบอลิซึมรอบแรก (first-pass effect) อย่างหนักเช่นนี้ สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของยาจึงค่อนข้างต่ำ (13-17%)[1] ในนัยตรงข้าม สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพของยาที่ให้ทางเส้นเลือดจึงสูง (90%)[1] ครึ่งชีวิต (terminal half-life) ของยาอยู่ที่ 7.5 ชม. ในคนปกติ แต่อาจยาวถึง 20 ชม. สำหรับผู้ที่ไตทำงานผิดปกติอย่างหนัก[1] เมแทบอไลต์ทั้งหมดของยาไม่มีฤทธิ์โดยอยู่ในสภาพเป็นลิแกนด์ของหน่วยรับดี2[1][5] ยาเป็นตัวถูกเปลี่ยนของโปรตีนขนส่ง ABCB1 (P-glycoprotein transporter) และงานศึกษาในสัตว์แสดงนัยว่า นี่เป็นเหตุให้ยาเข้าไปในระบบประสาทกลางได้น้อย[72]

เคมี[แก้]

ยาเป็นสารอนุพันธ์ของ benzimidazole และสัมพันธ์ทางโครงสร้างกับยารักษาโรคจิตกลุ่ม butyrophenone เช่น haloperidol[73][74]

ประวัติ[แก้]

  • 1974 - ยาสังเคราะห์ขึ้นที่บริษัท Janssen Pharmaceutica[75] โดยอาศัยงานศึกษายารักษาโรคจิต[76] คือ บริษัทได้พบว่า ยารักษาโรคจิตบางอย่างมีผลสำคัญต่อหน่วยรับโดพามีนใน chemoreceptor trigger zone ในระบบประสาทกลาง และดังนั้น จึงไร้ผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal[A] ที่มักจะมีในยาประเภทนี้[76] ซึ่งนำไปสู่การค้นพบดอมเพริโดนโดยเป็นยาแก้อาเจียนที่มีผลข้างเคียงน้อยต่อระบบประสาทกลาง[76][77]
  • 1978 - วันที่ 3 มกราคม 1978 ยาได้รับสิทธิบัตรในสหรัฐ (หมายเลข US4066772 A) โดยยื่นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1976
  • 1979 - ยาวางตลาดในยี่ห้อ "Motilium" ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเยอรมนี (ตะวันตก)[78]
  • 1999 - เริ่มวางขายยาในรูปแบบละลายในปาก (โดยใช้เทคโนโลยี Zydis)[79]
  • บริษัทได้ยื่นเรื่องเพื่ออนุมัติยาให้องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) หลายครั้งหลายหน รวมทั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990
  • 2014 - ในเดือนเมษายน 2014 กลุ่ม CMDh ได้ประกาศแก่สื่อข่าวเพื่อเสนอให้จำกัดใช้ยาที่มีดอมเพริโดน และอนุมัติข้อเสนอจากคณะกรรมการ PRAC ของ EMA ที่ได้ตีพิมพ์ก่อน ให้ใช้ยาเพื่อเพียงรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียน และลดขนาดสูงสุดต่อวันเหลือแค่ 10 มิลลิกรัม[9]

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]

ชื่อ[แก้]

ดอมเพริโดน (domperidone) เป็นชื่อสามัญของยา เป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ (INN), ชื่อยาที่รับอนุญาตของอเมริกา (USAN), ชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษ (BAN), และชื่อยาที่รับอนุญาตของญี่ปุ่น (JAN)[80][6][81]

การวางขาย[แก้]

ในปี 2007 มีรายงานว่ายามีขายในประเทศ 58 ประเทศ[1] และมีขายแบบไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ (functional dyspepsia) ในประเทศต่าง ๆ เช่น ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี แอฟริกาใต้ เม็กซิโก ชิลี และจีน[82]

ยาไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้โดยทั่วไปในสหรัฐอเมริกา แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนไข้ที่มีอาการกระเพาะลำไส้ที่รักษาด้วยยาอื่นไม่หายในโปรแกรม Investigational New Drug ขององค์กรอาหารและยาสหรัฐ[1]

งานวิจัย[แก้]

มีการศึกษาดอมเพริโดนในฐานะยาคุมกำเนิดทางฮอร์โมนสำหรับหญิง[83]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Extrapyramidal symptoms (EPS) เป็นความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวที่เกิดจากยารวมทั้งแบบฉับพลันและแบบเกิดทีหลัง (acute and tardive) อาการรวมทั้ง dystonia (กล้ามเนื้อเกร็งและกระตุกอย่างต่อเนื่อง), อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia), อาการโรคพาร์คินสัน เช่น สภาพแข็งเกร็งคือขยับตัวอย่างแข็ง ๆ อาการเคลื่อนไหวช้า และสั่น, และอาการยึกยือเหตุยา (dyskinesia)[18]
  2. dystonia เป็นความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวเนื่องกับระบบประสาท ที่การเกร็งกล้ามเนื้อแบบคงยืนหรือซ้ำ ๆ มีผลเป็นการเคลื่อนไหวแบบบิด ๆ ซ้ำ ๆ หรือมีท่าทางที่ผิดปกติ[36] การเคลื่อนไหวอาจคล้ายอาการสั่น โดยเป็นมากขึ้นถ้าออกกำลังและอาการอาจขยายเข้าไปยังกล้ามเนื้อติด ๆ กัน[37]
  3. neuroleptic malignant syndrome (NMS) เป็นปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อชีวิตซึ่งบางครั้งเกิดเพราะใช้ยารักษาโรคจิต คือ neuroleptic หรือ antipsychotic[52] อาการรวมทั้งมีไข้สูง สับสน กล้ามเนื้อแข็งแกร็ง ความดันโลหิตแปรเปลี่ยน เหงื่อออก และหัวใจเต้นเร็ว[52] ภาวะแทรกซ้อนอาจรวม rhabdomyolysis (ภาวะกล้ามเนื้อโครงร่างที่เสียหายสลายตัวเร็วเกิน), โพแทสเซียมในเลือดสูง, ไตวาย, หรือชัก[52][53]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 Reddymasu, Savio C.; Soykan, Irfan; McCallum, Richard W. (2007). "Domperidone: Review of Pharmacology and Clinical Applications in Gastroenterology". The American Journal of Gastroenterology. 102 (9): 2036–2045. doi:10.1111/j.1572-0241.2007.01255.x. ISSN 0002-9270. PMID 17488253.
  2. "БРЮЛІУМ ЛІНГВАТАБС" [BRULIUM LINGUATABS]. Нормативно-директивні документи МОЗ України (ภาษายูเครน). 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  3. "Domperidone". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2013. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  4. 4.0 4.1 Rose, Suzanne (October 2004). Gastrointestinal and Hepatobiliary Pathophysiology. Hayes Barton Press. pp. 523-. ISBN 978-1-59377-181-2.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 "Identification of the cytochrome P450 enzymes involved in the metabolism of domperidone". 2008. doi:10.1080/00498250400015301. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. 6.0 6.1 Index Nominum 2000: International Drug Directory. Taylor & Francis. January 2000. pp. 366-. ISBN 978-3-88763-075-1.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 Barone, JA (1999). "Domperidone: a peripherally acting dopamine2-receptor antagonist". The Annals of Pharmacotherapy. 33 (4): 429–40. doi:10.1345/aph.18003. PMID 10332535.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. "MOTILIUM INSTANTS PL 13249/0028" (PDF). Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency. 23 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  9. 9.0 9.1 "CMDh confirms recommendations on restricting use of domperidone-containing medicines: European Commission to take final legal decision". European Medicines Agency. 25 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-30. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  10. Reddymasu, SC; Soykan, I; McCallum, RW (2007). "Domperidone: review of pharmacology and clinical applications in gastroenterology". Am. J. Gastroenterol. 102 (9): 2036–45. doi:10.1111/j.1572-0241.2007.01255.x. PMID 17488253.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. "Domperidone - heart rate and rhythm disorders." Canadian adverse reactions newsletter. Government of Canada. January 2007 17(1)
  12. "How to Obtain". Food and Drug Administration. 10 February 2015. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
  13. Swann, IL; Thompson, EN; Qureshi, K (November 1979). "Domperidone or metoclopramide in preventing chemotherapeutically induced nausea and vomiting". British Medical Journal. 2 (6199): 1188. doi:10.1136/bmj.2.6199.1188. PMC 1597274. PMID 519355.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Worthington, I; Pringsheim, T; Gawel, MJ; Gladstone, J; Cooper, P; Dilli, E; Aube, M; Leroux, E; Becker, WJ (September 2013). "Canadian Headache Society Guideline: acute drug therapy for migraine headache". The Canadian Journal of Neurological Sciences. 40 (5 Suppl 3): S1–S80. PMID 23968886.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Stevens, JE; Jones, KL; Rayner, CK; Horowitz, M (June 2013). "Pathophysiology and pharmacotherapy of gastroparesis: current and future perspectives". Expert Opinion on Pharmacotherapy. 14 (9): 1171–86. doi:10.1517/14656566.2013.795948. PMID 23663133.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Silvers, D; Kipnes, M; Broadstone, V; Patterson, D; Quigley, EM; McCallum, R; Leidy, NK; Farup, C; Liu, Y; Joslyn, A (1998). "Domperidone in the management of symptoms of diabetic gastroparesis: efficacy, tolerability, and quality-of-life outcomes in a multicenter controlled trial. DOM-USA-5 Study Group". Clinical Therapeutics. 20 (3): 438–53. doi:10.1016/S0149-2918(98)80054-4. PMID 9663360.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Janssen, P; Harris, MS; Jones, M; Masaoka, T; Farré, R; Törnblom, H; Van Oudenhove, L; Simrén, M; Tack, J (September 2013). "The relation between symptom improvement and gastric emptying in the treatment of diabetic and idiopathic gastroparesis". The American Journal of Gastroenterology. 108 (9): 1382–91. doi:10.1038/ajg.2013.118. PMID 24005344.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. "Extrapyramidal symptoms with atypical antipsychotics: incidence, prevention and management". 2005. PMID 15733025. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. Ferrier, J. "Domperidone as an unintended antipsychotic". Can Pharm J. 147: 76–7. doi:10.1177/1715163514521969. PMC 3962062. PMID 24660005.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Nishikawa, N; Nagai, M; Tsujii, T; Iwaki, H; Yabe, H; Nomoto, M (2012). "Coadministration of domperidone increases plasma levodopa concentration in patients with Parkinson disease". Clinical Neuropharmacology. 35 (4): 182–4. doi:10.1097/WNF.0b013e3182575cdb. PMID 22751085.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. Lertxundi, U; Domingo-Echaburu, S; Soraluce, A; García, M; Ruiz-Osante, B; Aguirre, C (February 2013). "Domperidone in Parkinson's disease: a perilous arrhythmogenic or the gold standard?". Current Drug Safety. 8 (1): 63–8. doi:10.2174/1574886311308010009. PMID 23656449.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. Malek, NM; Grosset, KA; Stewart, D; Macphee, GJ; Grosset, DG (June 2013). "Prescription of drugs with potential adverse effects on cardiac conduction in Parkinson's disease". Parkinsonism & Related Disorders. 19 (6): 586–9. doi:10.1016/j.parkreldis.2013.02.004. PMID 23522959.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. Xiao, M; Qiu, X; Yue, D; Cai, Y; Mo, Q (2013). "Influence of hippophae rhamnoides on two appetite factors, gastric emptying and metabolic parameters, in children with functional dyspepsia". Hellenic Journal of Nuclear Medicine. 16 (1): 38–43. doi:10.1967/s002449910070 (inactive 2017-01-14). PMID 23529392.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of มกราคม 2017 (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Huang, X; Lv, B; Zhang, S; Fan, YH; Meng, LN (December 2012). "Itopride therapy for functional dyspepsia: a meta-analysis". World Journal of Gastroenterology. 18 (48): 7371–7. doi:10.3748/wjg.v18.i48.7371. PMC 3544044. PMID 23326147.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. Grzeskowiak, LE; Lim, SW; Thomas, AE; Ritchie, U; Gordon, AL (February 2013). "Audit of domperidone use as a galactogogue at an Australian tertiary teaching hospital". Journal of Human Lactation. 29 (1): 32–7. doi:10.1177/0890334412459804. PMID 23015150.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Donovan, TJ; Buchanan, K (2012). "Medications for increasing milk supply in mothers expressing breastmilk for their preterm hospitalised infants". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 3 (3): CD005544. doi:10.1002/14651858.CD005544.pub2. PMID 22419310.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. da Silva, OP; Knoppert, DC (September 2004). "Domperidone for lactating women". CMAJ. 171 (7): 725–6. doi:10.1503/cmaj.1041054. PMC 517853. PMID 15451832.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. "FDA warns against women using unapproved drug, domperidone to increase milk production". U.S. Food and Drug Administration. 7 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
  29. Asztalos, EV; Campbell-Yeo, M; daSilva, OP; Kiss, A; Knoppert, DC; Ito, S (2012). "Enhancing breast milk production with Domperidone in mothers of preterm neonates (EMPOWER trial)". BMC Pregnancy and Childbirth. 12: 87. doi:10.1186/1471-2393-12-87. PMC 3532128. PMID 22935052.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. Asztalos, EV; Campbell-Yeo, M; da Silva, OP; Ito, S; Kiss, A; Knoppert, D; EMPOWER Study Collaborative Group (2017). "Enhancing human milk production with Domperidone in mothers of preterm infants". Journal of Human Lactation. 33 (1): 181–187. doi:10.1177/0890334416680176. PMID 28107101.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 Henderson, Amanda (2003). "Domperidone: Discovering New Choices for Lactating Mothers". AWHONN Lifelines. 7 (1): 54–60. doi:10.1177/1091592303251726. ISSN 1091-5923. PMID 12674062.
  32. Donovan, Timothy J; Buchanan, Kerry (14 March 2012). Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.cd005544.pub2/full.
  33. Kapoor, A.K.; Raju, S.M. (2013). "7.2 Gastrointestinal Drugs". Illustrated Medical Pharmacology. JP Medical Ltd. p. 677. ISBN 9350906554. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014. (Google Books)
  34. Smith, Rebecca (1 August 2014). "Fear that reflux treatment for babies will be denied under new Nice guidance". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  35. Swannick, G. (ed.) "MIMS Australia." December 2013
  36. "Dystonias Fact Sheet". National Institute of Neurological Disorders and Stroke. 6 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2018.
  37. "Dystonia". 2014. PMID 24978640. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  38. 38.0 38.1 Joslin, Elliott Proctor; Kahn, C Ronald (2005). Joslin's Diabetes Mellitus: Edited by C. Ronald Kahn ... [et Al.]. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1084-. ISBN 978-0-7817-2796-9.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. 39.0 39.1 39.2 Sabanegh, Edmund S (Jr) (20 October 2010). Male Infertility: Problems and Solutions. Springer Science & Business Media. pp. 83-. ISBN 978-1-60761-193-6.
  40. Gerald G. Briggs; Roger K. Freeman; Sumner J. Yaffe (28 March 2012). Drugs in Pregnancy and Lactation: A Reference Guide to Fetal and Neonatal Risk. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 442-. ISBN 978-1-4511-5359-0.
  41. Leelakanok, N; Holcombe, A; Schweizer, ML (2015). "Domperidone and Risk of Ventricular Arrhythmia and Cardiac Death: A Systematic Review and Meta-analysis". Clin Drug Investig. 36 (2): 97–107. doi:10.1007/s40261-015-0360-0. PMID 26649742.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. van Noord, C; Dieleman, JP; van Herpen, G; Verhamme, K; Sturkenboom, MC (November 2010). "Domperidone and ventricular arrhythmia or sudden cardiac death: a population-based case-control study in the Netherlands". Drug Safety. 33 (11): 1003–14. doi:10.2165/11536840-000000000-00000. PMID 20925438.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  43. Johannes, CB; Varas-Lorenzo, C; McQuay, LJ; Midkiff, KD; Fife, D (September 2010). "Risk of serious ventricular arrhythmia and sudden cardiac death in a cohort of users of domperidone: a nested case-control study". Pharmacoepidemiology and Drug Safety. 19 (9): 881–8. doi:10.1002/pds.2016. PMID 20652862.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. Rossi, M; Giorgi, G (2010). "Domperidone and long QT syndrome". Curr Drug Saf. 5 (3): 257–62. doi:10.2174/157488610791698334. PMID 20394569.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  45. Doggrell, SA; Hancox, JC (2014). "Cardiac safety concerns for domperidone, an antiemetic and prokinetic, and galactogogue medicine". Expert Opin Drug Saf. 13 (1): 131–8. doi:10.1517/14740338.2014.851193. PMID 24147629.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  46. Marzi, Marta; Weitz, Darío; Avila, Aylén; Molina, Gabriel; Caraballo, Lucía; Piskulic, Laura (2015). "Efectos adversos cardíacos de la domperidona en pacientes adultos: revisión sistemática". Revista médica de Chile. 143 (1): 14–21. doi:10.4067/S0034-98872015000100002. ISSN 0034-9887.
  47. 47.0 47.1 Buffery, PJ; Strother, RM (2015). "Domperidone safety: a mini-review of the science of QT prolongation and clinical implications of recent global regulatory recommendations". N. Z. Med. J. 128 (1416): 66–74. PMID 26117678.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  48. Ortiz, Arleen; Cooper, Chad J.; Alvarez, Alicia; Gomez, Yvette; Sarosiek, Irene; McCallum, Richard W. (2015). "Cardiovascular Safety Profile and Clinical Experience With High-Dose Domperidone Therapy for Nausea and Vomiting". The American Journal of the Medical Sciences. 349 (5): 421–424. doi:10.1097/MAJ.0000000000000439. ISSN 0002-9629.
  49. Djeddi, DKongolo, G; Lefaix, C; Mounard, J; Léké, A (November 2008). "Effect of domperidone on QT interval in neonates". The Journal of Pediatrics. 153 (5): 663–6. doi:10.1016/j.jpeds.2008.05.013. PMID 18589449.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Günlemez, A; Babaoğlu, A; Arisoy, AE; Türker, G; Gökalp, AS (January 2010). "Effect of domperidone on the QTc interval in premature infants". Journal of Perinatology. 30 (1): 50–3. doi:10.1038/jp.2009.96. PMC 2834362. PMID 19626027.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. "Domperidone: risks of cardiac side effects". MHRA. 30 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
  52. 52.0 52.1 52.2 "Neuroleptic malignant syndrome: a review for neurohospitalists". January 2011. PMID 23983836. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  53. "Neuroleptic Malignant Syndrome - NORD (National Organization for Rare Disorders)". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  54. Coulthard, MG; Haycock, GB (January 2003). "Distinguishing between salt poisoning and hypernatraemic dehydration in children". BMJ (Clinical Research Ed.). 326 (7381): 157–60. doi:10.1136/bmj.326.7381.157. PMC 1128889. PMID 12531853.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. Chang, SY; Fancher, RM; Zhang, H; Gan, J (2010). "Mechanism-based inhibition of human cytochrome P4503A4 by domperidone". Xenobiotica. 40 (2): 138–45. doi:10.3109/00498250903406762. PMID 20082577.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  56. Yoshizato, T; Kotegawa, T; Imai, H; Tsutsumi, K; Imanaga, J; Ohyama, T; Ohashi, K (September 2012). "Itraconazole and domperidone: a placebo-controlled drug interaction study". European Journal of Clinical Pharmacology. 68 (9): 1287–94. doi:10.1007/s00228-012-1258-x. PMID 22418831.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  57. Boyce, MJ; Baisley, KJ; Warrington, SJ (March 2012). "Pharmacokinetic interaction between domperidone and ketoconazole leads to QT prolongation in healthy volunteers: a randomized, placebo-controlled, double-blind, crossover study". British Journal of Clinical Pharmacology. 73 (3): 411–21. doi:10.1111/j.1365-2125.2011.04093.x. PMC 3370345. PMID 21883386.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  58. 58.0 58.1 58.2 Aronson, Jeffrey K (27 November 2009). Meyler's Side Effects of Antimicrobial Drugs. Elsevier. pp. 2244-. ISBN 978-0-08-093293-4.
  59. Ung, D; Parkman, HP; Nagar, S (October 2009). "Metabolic interactions between prokinetic agents domperidone and erythromycin: an in vitro analysis". Xenobiotica. 39 (10): 749–56. doi:10.1080/00498250903096121. PMID 19575604.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  60. "Grapefruit, Medicine Interaction Warning Expanded". ABC News. 26 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  61. Bron, B; Massih, L (1980). "Domperidone: A drug with powerful action on the lower esophageal sphincter pressure". Digestion. 20 (6): 375–8. doi:10.1159/000198476. PMID 7409348.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  62. Saeb-Parsy, K (1999). Instant pharmacology. John Wiley & Sons. p. 216. ISBN 9780471976394.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  63. Sakamoto, Y; Kato, S; Sekino, Y; Sakai, E; Uchiyama, T; Iida, H; Hosono, K; Endo, H; Fujita, K; Koide, T; Takahashi, H; Yoneda, M; Tokoro, C; Goto, A; Abe, Y; Kobayashi, N; Kubota, K; Maeda, S; Nakajima, A; Inamori, M (2011). "Effects of domperidone on gastric emptying: a crossover study using a continuous real-time 13C breath test (BreathID system)". Hepato-gastroenterology. 58 (106): 637–41. PMID 21661445.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  64. Parkman, HP; Jacobs, MR; Mishra, A; Hurdle, JA; Sachdeva, P; Gaughan, JP; Krynetskiy, E (January 2011). "Domperidone treatment for gastroparesis: demographic and pharmacogenetic characterization of clinical efficacy and side-effects". Digestive Diseases and Sciences. 56 (1): 115–24. doi:10.1007/s10620-010-1472-2. PMID 21063774.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  65. Gabay, MP (2002). "Galactogogues: medications that induce lactation". J Hum Lact. 18 (3): 274–9. doi:10.1177/089033440201800311. PMID 12192964.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  66. 66.0 66.1 66.2 66.3 66.4 66.5 66.6 Hofmeyr, GJ; Van Iddekinge, B; Blott, JA (1985). "Domperidone: secretion in breast milk and effect on puerperal prolactin levels". Br J Obstet Gynaecol. 92 (2): 141–4. doi:10.1111/j.1471-0528.1985.tb01065.x. PMID 3882143.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  67. 67.0 67.1 67.2 67.3 67.4 67.5 Brouwers, JR; Assies, J; Wiersinga, WM; Huizing, G; Tytgat, GN (1980). "Plasma prolactin levels after acute and subchronic oral administration of domperidone and of metoclopramide: a cross-over study in healthy volunteers". Clin. Endocrinol. 12 (5): 435–40. doi:10.1111/j.1365-2265.1980.tb02733.x. PMID 7428183.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  68. Fujino, T; Kato, H; Yamashita, S; Aramaki, S; Morioka, H; Koresawa, M; Miyauchi, F; Toyoshima, H; Torigoe, T (1980). "Effects of domperidone on serum prolactin levels in human beings". Endocrinol. Jpn. 27 (4): 521–5. doi:10.1507/endocrj1954.27.521. PMID 7460861.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  69. Riordan, Jan (January 2005). Breastfeeding and Human Lactation. Jones & Bartlett Learning. pp. 76-. ISBN 978-0-7637-4585-1.
  70. Becker, Kenneth L (2001). Principles and Practice of Endocrinology and Metabolism. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 147-. ISBN 978-0-7817-1750-2.
  71. Youssef, AS; Parkman, HP; Nagar, S (2015). "Drug-drug interactions in pharmacologic management of gastroparesis". Neurogastroenterol. Motil. 27 (11): 1528–41. doi:10.1111/nmo.12614. PMID 26059917.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  72. Bardal, Stan K; Waechter, Jason E; Martin, Douglas S (2011). Applied Pharmacology. Elsevier Health Sciences. pp. 184-. ISBN 1-4377-0310-0.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  73. Hospital Formulary. HFM Publishing Corporation. 1991. p. 171. Domperidone, a benzimidazole derivative, is structurally related to the butyrophenone tranquilizers (eg, haloperidol (Haldol, Halperon]).
  74. Giovanni Biggio; Erminio Costa; P. F. Spano (22 October 2013). Receptors as Supramolecular Entities: Proceedings of the Biannual Capo Boi Conference, Cagliari, Italy, 7-10 June 1981. Elsevier Science. pp. 3-. ISBN 978-1-4831-5550-0.
  75. Wan, EW; Davey, K; Page-Sharp, M; Hartmann, PE; Simmer, K; Ilett, KF (27 May 2008). "Dose-effect study of domperidone as a galactagogue in preterm mothers with insufficient milk supply, and its transfer into milk". British Journal of Clinical Pharmacology. 66 (2): 283–289. doi:10.1111/j.1365-2125.2008.03207.x. PMC 2492930. PMID 18507654.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  76. 76.0 76.1 76.2 Sneader, Walter (2005). "Plant Product Analogues and Compounds Derived from Them". Drug discovery : a history. Chichester: John Wiley & Sons Ltd. p. 125. ISBN 0-471-89979-8.
  77. Corsini, Giovanni Umberto (2010). "Apomorphine: from experimental tool to therpeutic aid". ใน Ban, Thomas A; Healy, David & Shorter, Edward (บ.ก.). The Triumph of Psychopharacology and the Story of CINP (PDF). CINP. p. 54. ISBN 9634081819. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 November 2014.
  78. "Domperidone". Pharmaceutical Manufacturing Encyclopedia. Vol. 1–4 (3rd ed.). William Andrew Publishing. 2013. p. 138. ISBN 9780815518563. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014.
  79. Rathbone, Michael J.; Hadgraft, Jonathan; Roberts, Michael S. (2002). "The Zydis Oral Fast-Dissolving Dosage Form". Modified-Release Drug Delivery Technology. CRC Press. p. 200. ISBN 9780824708696. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  80. Elks, J (14 November 2014). The Dictionary of Drugs: Chemical Data: Chemical Data, Structures and Bibliographies. Springer. pp. 466-. ISBN 978-1-4757-2085-3.
  81. "Domperidone". drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
  82. Fais, Paolo; Vermiglio, Elisa; Laposata, Chiara; Lockwood, Robert; Gottardo, Rossella; De Leo, Domenico (2015). "A case of sudden cardiac death following Domperidone self-medication". Forensic Science International. 254: e1–e3. doi:10.1016/j.forsciint.2015.06.004. ISSN 0379-0738. PMID 26119456.
  83. Hofmeyr, G. J.; Van Iddekinge, B.; Van Der Walt, L. A. (2009). "Effect of domperidone-induced hyperprolactinaemia on the menstrual cycle; a placebo-controlled study". Journal of Obstetrics and Gynaecology. 5 (4): 263–264. doi:10.3109/01443618509067772. ISSN 0144-3615.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]