ข้ามไปเนื้อหา

ดอนัลด์ เซอโรนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอนัลด์ เซอโรนี
เซอโรนีใน ค.ศ. 2016
เกิดดอนัลด์ แอนโทนี เซอโรนี
(1983-03-29) 29 มีนาคม ค.ศ. 1983 (41 ปี)
เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐ
ชื่ออื่นคาวบอย
ที่อยู่เอดจ์วูด รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐ
ส่วนสูง6 ฟุต
น้ำหนัก170 ปอนด์ (77 กก.)
รุ่นไลต์เวต (ค.ศ. 2006–2015, 2019)
เวลเตอร์เวต (ค.ศ. 2016–2018, 2020–ปัจจุบัน)
ช่วงระยะ73 นิ้ว[1][2][3]
รูปแบบมวยไทย, มวยสากล
มาจากแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐ
ทีมสโมสรศิลปะการต่อสู้อินโยโด (ค.ศ. 2002–2006)[4]
สถาบันเอ็มเอ็มเอ แจ็กสัน วิงก์ (ค.ศ. 2006–2018)[5]
บีเอ็มเอฟ แรนช์ (ค.ศ. 2018–ปัจจุบัน)
ผู้ฝึกสอนเกรก แจ็กสัน (ค.ศ. 2006–2018)
โจ ชิลลิง (ค.ศ. 2018–ปัจจุบัน)
อันดับสายดำในบราซิลเลียนยิวยิตสู ภายใต้เอเลียต มาร์แชล[6]
สายดำในไกโดจุสึ[ต้องการอ้างอิง]
ช่วงปีค.ศ. 2006–ปัจจุบัน
สถิติมวยสากล
คะแนนรวม1
ชนะ0
แพ้1
โดยการน็อก1
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม29
ชนะ28
โดยการน็อก19
แพ้0
เสมอ1
สถิติการต่อสู้แบบผสม
คะแนนรวม53
ชนะ36
โดยการน็อก10
โดยการยอม17
โดยการตัดสิน9
แพ้15
โดยการน็อก7
โดยการยอม1
โดยการตัดสิน7
เสมอ1
ไม่มีการแข่งขัน1
ข้อมูลอื่น
สถิติมวยสากล จากบ็อกเรค
สถิติการต่อสู้แบบผสม จากเชอร์ด็อก

ดอนัลด์ แอนโทนี เซอโรนี (อังกฤษ: Donald Anthony Cerrone; /səˈrni/; 29 มีนาคม ค.ศ. 1983 – ) เป็นที่รู้จักในระดับอาชีพด้วยชื่อบนสังเวียน คาวบอย เขาเป็นนักศิลปะการต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกันและอดีตคิกบ็อกเซอร์ระดับอาชีพ[7] ปัจจุบันเขาเซ็นสัญญากับอัลติเมทไฟต์ติงแชมเปียนชิพ (UFC) และลงแข่งในรุ่นเวลเตอร์เวต ณ วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2020 เขาอยู่ในอันดับที่ 15 ในการจัดอันดับรุ่นไลต์เวตของยูเอฟซี[8]

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 เซอโรนีแซงหน้าฌอร์ฌ แซ็ง-ปีแยร์ และไมเคิล บิสปิง สำหรับชัยชนะมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยูเอฟซี ด้วยการชนะ 21 ไฟต์ และแซงหน้าอังเดร์ซง ซิลวา และวีตอร์ เบลฟอร์ ที่ชนะจากกรรมการสั่งยุติสูงสุดในประวัติศาสตร์ยูเอฟซี ด้วยชัยชนะ 15 ไฟต์[9] นอกจากนี้ หลังจากเอาชนะอเล็กซานเดอร์ เฮอร์นันเดซ ในศึกยูเอฟซี ไฟต์ไนต์ 143 เมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2019 เซอโรนีได้เพิ่มทั้งสถิติการชนะยูเอฟซีของเขาเป็น 22 ไฟต์ และสถิติยูเอฟซีของเขาจากกรรมการสั่งยุติเพิ่มเป็น 16 ไฟต์ รวมถึงสถิติเสมอสำหรับการแข่งมากที่สุดในองค์กรด้วย 33 ไฟต์ การบรรลุผลสำเร็จของเขายังทำให้ได้รับรางวัลภายหลังสองรางวัล ซึ่งรวมถึงการบรรลุผลสำเร็จครั้งที่ 7 ของเขาในรางวัลราตรี (เสมอกับชาลส์ ออลีไวรา ที่สร้างสถิติ) ทำให้รางวัลภายหลังการต่อสู้ของเขามีทั้งหมด 16 รางวัล (ทำลายสถิติที่เนต ดิแอซ และโจ เลาซอน เคยทำไว้ก่อนหน้า)

ภูมิหลัง

[แก้]

เซอโรนีเกิดในเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ซึ่งเขามีเชื้อสายไอริชและอิตาลี[10][11] ตั้งแต่อายุยังน้อย เซอโรนีได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น แต่ไม่เคยได้รับการรักษาเลย[12] เมื่อโตขึ้น เขามักจะทะเลาะชกต่อย[4]

เซอโรนีเข้าเรียนที่แอร์อะคาเดมีไฮสกูลซึ่งเขาเริ่มขี่วัวแบบมืออาชีพ หลังจากการหย่าร้างของพ่อแม่ เซอโรนีก็อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายของเขา[13] ตอนอายุ 20 ปี เซอโรนีเริ่มฝึกคิกบ็อกซิงและต่อมาเป็นมวยไทย หลังจากชนะการแข่งคิกบ็อกซิงไม่กี่รายการ เซอโรนีก็ไฝ่หาอาชีพศิลปะการต่อสู้แบบผสม (MMA)[14]

อาชีพศิลปะการต่อสู้แบบผสม

[แก้]

เซอโรนีเริ่มอาชีพของเขาในคอมเมิร์ซซิตี รัฐโคโลราโด ที่โรงยิงชื่อฟรีดอมไฟเตอส์[5] ใน ค.ศ. 2006 เซอโรนีเริ่มฝึกกับจอน โจนส์, ราแชด อีแวนส์, นาธาน มาร์ควาดต์, คีธ จาร์ดีน, ฌอร์ฌ แซ็ง-ปีแยร์, เลนเนิร์ด การ์เซีย, ทอม วัตสัน และนักสู้เอ็มเอ็มเอที่มีฝีมือคนอื่น ๆ ที่โรงเรียนการต่อสู้แบบให้ยอมจำนนไกโดจุสึ ของเกรก แจ็กสัน ในแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก[5]

เวิลด์เอกซ์ตรีมเคจไฟติง

[แก้]

เซอโรนีได้ลงนามเพื่อต่อสู้ในสมาคมดับเบิลยูอีซี การต่อสู้ครั้งแรกของเขาในสมาคมนี้คือการปะทะกับเคนเนธ อเล็กซานเดอร์ เดิมที เซอโรนีชนะด้วยการซับมิชชันใน 56 วินาทีของยกแรก การตัดสินใจได้เปลี่ยนเป็นไม่มีการแข่งเมื่อเซอโรนีได้รับผลการทดสอบไฮโดรคลอโรไทอะไซด์เป็นบวกซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะที่ถูกห้าม[15]

เซอโรนีใน ค.ศ. 2010

เซอโรนีมีกำหนดจะเผชิญพบกับริช ครันคิลตัน ที่อีเวนต์ดับเบิลยูอีซี 34 แต่ครันคิลตันถูกบังคับให้ออกจากโปรแกรมด้วยอาการบาดเจ็บ และถูกแทนที่โดยแดนนี คัสติลโล[16] ซึ่งเซอโรนีชนะการแข่งโดยใช้ท่าอาร์มบาร์ในยกแรก[17]

เซอโรนีเผชิญหน้ากับร็อบ แมคคัลลัฟ ที่ดับเบิลยูอีซี 36 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008[18] ซึ่งเขาชนะการแข่งด้วยการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์[19] และผลงานนี้ทำให้นักสู้ทั้งสองคนได้รับรางวัลไฟต์ออฟเดอะไนต์[20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Donald Cerrone - lightweight - Mixed Martial Arts Fighter - FIGHT! Magazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  2. Mac Danzig vs. Donald Cerrone, UFC 131 | MMA Bout Page | Tapology
  3. "Fight Card - UFC Fight Night McGregor vs. Siver". UFC.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2018. สืบค้นเมื่อ January 20, 2015.
  4. 4.0 4.1 Ian Cropp (August 12, 2006). "Cerrone picks up Muay Thai title". Vail Daily.
  5. 5.0 5.1 5.2 Chad Dundas (June 3, 2019). "Inside the Denver-area rec center that helped forge Donald Cerrone and other UFC stars". theathletic.com.
  6. Lewis Mckeever (August 26, 2016). "Donald 'Cowboy' Cerrone earns Brazilian Jiu Jitsu black belt". Bloody Elbow.
  7. "Ugh! 'Cowboy' Cerrone was once disemboweled by his ATV". Fox Sports. สืบค้นเมื่อ December 3, 2018.
  8. "Rankings | UFC". ufc.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  9. "UFC Denver results: Donald Cerrone sets UFC records with win over Mike Perry". MMA Fighting. สืบค้นเมื่อ 2018-11-11.
  10. "Cowboy Cerrone". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Baldi, Ryan (January 21, 2017). "Donald "Cowboy" Cerrone: moving onwards and upwards in the UFC". Yahoo Sports. สืบค้นเมื่อ December 7, 2018.
  12. Segura, Melissa (January 25, 2013). "A troubled youth, "Cowboy" Cerrone becomes leader of fighters". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ December 3, 2018.
  13. Melissa Segura: A troubled youth, "Cowboy" Cerrone becomes leader of fighters - MMA - SI.com
  14. "Bleacher Report | Sports. Highlights. News. Now". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  15. Trembow (2007-09-12). "Cerrone tests positive for diuretic at WEC 30". MMA Weekly. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
  16. "Castillo replaces Crunkilton at WEC 34". mmajunkie.com. 2008-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-31.
  17. "WEC 34 results and live play-by-play". mmaweekly.com. May 31, 2008.
  18. "Razor Rob vs Cowboy Cerrone in WEC Sept 10". mmaweekly.com. July 2, 2008.
  19. "WEC 36 Live Play-by-Play". Sherdog. November 5, 2008.
  20. "WEC 36 awards net fighters $7,500 bonuses". mmaweekly.com. November 5, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]