ฏุณฑิเขล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานฉลองวันรัฐธรรมนูญของเนปาลที่ฏุณฑิเขล เมื่อปี 1989

ฏุณฑิเขล [ตุน-ดิ-เขน] (เนปาล: टुँडिखेल) หรือ ตินิขยะห์ (เนวาร์: तिनिख्य) เป็นลานหญ้าขนาดใหญ่ในใจกลางนครกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล และเป็นหนึ่งในจุดหมายตาที่สำคัญของเมือง ลานหญ้ามีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางพาดตามแนวทิศเหนือ–ใต้ ตั้งอยู่ระหว่างรัตนอุทยานทางเหนือ กับสาหีททวารทางใต้

ฏุณฑิเขลมีประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปได้ถึงอย่างน้อยศตวรรษที่ 18 ตอนต้น ในสมัยยุคมัลละ ใช้งานเป็นทั้งที่เดินสวนสนาม, สนามแข่งม้า, พื้นที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาไปจนถึงการแสดงดนตรี สวนสาธารณะไปจนถึงลานหญ้าสำหรับสัตว์ใช้กิน ฏุณฑิเขลยังได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็นประดุจปอดของกาฐมาณฑุ เป็นพื้นที่สี่เขียวท่ามกลางบ้านเรือนที่อยู่อย่างหนาแน่น ชาวเมืองนิยมเดินหรือออกกำลังกายในฏุณฑิเขลในช่วงเช้าและช่วงเย็น[1] นอกจากนี้ยังปรากฏฏุณฑิเขลอยู่ในตำนานหลายเรื่อง

ในอดีต ฏุณฑิเชลกินพื้นที่ยาวกว่า 5 กิโลเมตรจากรานีโปขรีไปถึงสนามกีฬาทศรถรงคศาลา และว่ากันว่าเป็นลานเดินสวนสนามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในปัจจุบัน พื้นที่ของลานหดลงจากการก่อสร้างสาธารณูปโภครุกคืบเข้ามาในพื้นที่ของลานจากทั้งสี่ด้าน[2][3][4][5]

เทศกาล[แก้]

ม้าของทหารม้าเนปาลที่ใช้ในเทศกาลโฆเฑยาตรา

เทศกาลวิ่งม้า โฆเฑยาตรา เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นที่ลานนี้ในราวเดือนมีนาคม โดยประกอบไปด้วยการแข่งม้า ธรรมเนียมนี้มีอายุหลายศตวรรษ และมีต้นมาจากครั้งหนึ่ง ได้มีกษัตริย์รับสั่งให้ม้ามาวิ่งไปทั่วลานนี้เพื่อกระทืบดวงวิญญาณที่ชั่วร้ายของปิศาจให้จมลงไปในดิน[6] นอกจากนี้ในเทศกาลยังมีการเดินแสดงมัา, การแสดงกายกรรม และกระโดดร่มเช่นกัน[7]

กองทัพเนปาลจัดพิธีการยิงปืนฉลองที่ฏุณฑิเขลอยู่สองโอกาส โดยการยิงปืนและปืนใหญ่ ในเทศกาลดาเซน กับ มหาศิวราตรี ซึ่งมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์[8]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในบรรดาเอกสารที่มีการอ้างถึงฏุณฑิเขลที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในบันทึกของนักบวชนิกายเยซูอิตชาวอิตาลี อิปโปลีโต เดซีเดรี ผู้เดินทางมายังกาฐมาณฑุในปี 1721 สมัยที่อยู่ภายใต้ปกครองของกษัตริย์แห่งมัลละ ในบันทึกการเดินทางเขาเล่าถึงทุ่งกว้างขนาดสองไมล์ ใกล้กับแหล่งน้ำรานีโปขรี ตั้งอยู่นอกประตูอมือง และยังบันทึกไว้ว่ามีวิหารมากมายตลอดระยะทางของลานกว้างนั้น[9]

ปัจจุบันมีวิหารอยู่เพียงสองแห่งที่ยังคงอยู่ ได้แก่ วิหารของเทพเจ้า ลุมรีอชิมา (Lumari Ajimā) เทวมารดาซึ่งเป็นที่รู้จักในอีกนามว่าพระนางภัทรกาลี ตั้งอยู่ทางขอบตะวันออกของฏุณฑิเขล อีกวิหารคือวิหารของเพทเจ้า มหากาฬะ หรือ มหานกาทยะห์ (Mahākāla or Mahānkā Dyah) ตั้งอยู่บนขอบทางตะวันตก พระมหากาฬะ เป็นเทพพิทักษ์ในพระพุทธศาสนาแบบวัชรยาน รวมถึงยังมีการบูชาในศาสนาฮินดูเป็นอวตารปางหนึ่งของพระศิวะ[10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sharma, Nirjana (23 May 2011). "Tundikhel the Capital's lungs". The Kathmandu Post. Kathmandu. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.[ลิงก์เสีย]
  2. Proksch, Andreas; และคณะ (1995). Images of a century: the changing townscapes of the Kathmandu Valley. Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit. p. 46. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
  3. Rai, Hemlata (16 August 2002). "Shrinking Tundikhel". Nepali Times. สืบค้นเมื่อ 5 December 2013.
  4. Sengupta, Urmi (24 July 2017). "Diminishing public space: Not just Tundikhel, every inch of public space that is at risk of disappearing deserves reinvention". The Kathmandu Post. Kathmandu. Retrieved 24 July 2017.
  5. Sengupta, Urmi (2017), Ruptured space and spatial estrangement: (Un)making of public space in Kathmandu, Urban Studies
  6. Proksch, Andreas; และคณะ (1995). Images of a century: the changing townscapes of the Kathmandu Valley. Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit. p. 40. สืบค้นเมื่อ 5 February 2014.
  7. "Ghode Jatra to 'trample the demon's spirit' being marked". The Himalayan Times. 10 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
  8. "Prez attends Army's Fulpati feu-dejoie". The Himalayan Times. Kathmandu. 21 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
  9. Desideri, Ippolito (1995). "The Kingdom of Nepal". ใน De Filippi, Filippo (บ.ก.). An Account of Tibet: The Travels of Ippolito Desideri 1712-1727 AES reprint. Asian Educational Services. p. 317. ISBN 9788120610194. สืบค้นเมื่อ 6 December 2013.
  10. Huntington, John C.; Bangdel, Dina (2003). The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art. Serindia Publications, Inc. p. 332. ISBN 9781932476019.
  11. Landon, Perceval (1928). Nepal (PDF). London: Constable and Co. Ltd. p. 218. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.