ฌาปนสถานโกลเดอส์กรีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌาปนสถานโกลเดอส์กรีน

ฌาปนสถานโกลเดอส์กรีน (อังกฤษ: Golders Green Crematorium) เป็นฌาปนสถานและที่บรรจุอัฐิแห่งแรกของกรุงลอนดอน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2445 ตั้งในเขตบาร์เนต ที่ดินที่ตั้งฌาปนสถานซื้อมาด้วยเงินจำนวน 6,000 ปอนด์ทองคำ (เทียบเท่า 135,987 ปอนด์เมื่อ พ.ศ. 2564)[1][2][3][4] ฌาปนสถานโกลเดอส์กรีน ประกอบด้วยโรงสวด ห้องเผา สวน และสุสานเก็บอัฐิ

ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2428 การเผาศพถือเป็นวิธีจัดการศพที่ผิดกฎหมายในสหราชอาณาจักร ต่อมาเมื่อมีความต้องการใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์อื่นที่มิใช่การฝังศพ จึงได้จัดสร้างฌาปนสถานโวกิง ที่จังหวัดเซอร์รีย์ ใกล้นครหลวงลอนดอน [5] ต่อมาเมื่อมีความต้องการเผาศพแทนฝังศพมากขึ้น จึงได้จัดการให้มีฌาปนสถานขึ้นในเขตกรุงลอนดอน ฌาปนสถานโกลเดอส์กรีนออกแบบโดยเออร์เนสต์ จอร์จ และอัลเฟรด ยีตส์ ในรูปแบบลอมบาร์ดี[6] และมีวิลเลียม โรบินสัน เป็นนักจัดสวน[7] การก่อสร้างฌาปนสถานโกลเดอส์กรีนเป็นไปอย่างช้า ๆ ตามทุนทรัพย์ทีมี

ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2482 ศพของฟรอยด์ถูกนำมาฌาปนกิจ ณ ฌาปนสถานแห่งนี้ก่อนนำอัฐิบรรจุไว้ในอนุสรณ์สถานพร้อมกับอัฐิของภรรยาของเขา

ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2484 ได้นำประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ฌาปนสถานแห่งนี้ โดยมิได้ปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี กล่าวคือ หลังจากประกอบพิธีเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จึงเชิญพระบรมศพที่บรรจุหีบอยู่ไปเผาในห้องเผาซึ่งแยกต่างหากจากโรงสวด เมื่อเสร็จการแล้วจึงเชิญพระบรมอัฐิไปรักษาไว้ที่พระตำหนักคอมพ์ตัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จึงทรงนำพระบรมอัฐิกลับประเทศไทยเพื่อเก็บรักษาไว้ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Golders green Crematorium : informs about crematoria and cremation in Great Britain / United Kingdom and Europe". Crematorium.eu. 15 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2011. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
  2. "Famous names whose final stop was Golders Green crematorium". The Independent. 16 March 2010. สืบค้นเมื่อ 1 December 2018.
  3. Cortazzi, Hugh (13 May 2013). Britain and Japan: Biographical Portraits. Routledge. p. 161. ISBN 978-1136641404. สืบค้นเมื่อ 1 December 2018 – โดยทาง Google Books.
  4. Historic England (9 January 2002). "GOLDERS GREEN CREMATORIUM, Barnet (1001575)". National Heritage List for England. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
  5. "Cremation Society of G.B. – History of the Society". 3 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2010. สืบค้นเมื่อ 1 December 2018.
  6. Historic England. "GOLDERS GREEN CREMATORIUM, Barnet (1064865)". National Heritage List for England. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
  7. "Golders Green Crematorium, London: The East Columbarium".
  8. สมบัติ พลายน้อย, ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มติชน, 2550 (ISBN 974-02-0044-4)