ฌัก ออแฟนบัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฌาคส์ ออฟเฟนบาค)
ฌัก ออแฟนบัก

ฌัก ออแฟนบัก (ฝรั่งเศส: Jacques Offenbach, /ɔfɛnbak/) [1] ชื่อเมื่อเกิดคือ ยาค็อบ ออฟเฟนบัค (เยอรมัน: Jacob Offenbach; 20 มิถุนายน พ.ศ. 2362 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2423) เป็นคีตกวีชาวเยอรมันที่โอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส

ประวัติ[แก้]

ออแฟนบักเข้าเรียนเชลโล ที่วิทยาลันดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งกรุงปารีส และได้เริ่มต้นอาชีพเป็นนักดนตรีเอกที่เล่นเดี่ยว ต่อมาได้เข้าร่วมวงออเคสตราของ โอเปร่า-โคมิค และที่ โรงละครชวนหัวฝรั่งเศสในกรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เข้าได้สร้างโรงละครส่วนตัวขึ้นเพื่อจะไว้เป็นที่เปิดแสดงผลงานที่เขาประพันธ์ขึ้นเอง เขาได้ทำงานกับอ็องรี เมลัก และลุดวิก อาเลวี นักประพันธ์ละครสั้น ผลงานของเขาได้แสดงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชนในสมัยจักรวรรดิที่สองของฝรั่งเศส ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน จนแทบจะมีแต่เรื่องไร้ศีลธรรมและออกแนวอื้อฉาว (การขอโทษต่อฉากรักสามเส้าในเรื่อง ลาแบเลแลน และฉากการนอกใจในเรื่อง ออร์เฟโอซองแฟร์)

ปารี :
เมื่อเราอยู่กันสองคน เยื่อพรหมจรรย์กลายเป็นโซ่
ที่หนักเกินกว่าเราจะแบกรับไว้ได้
แต่เราแทบไม่รู้สึกน้ำหนักของมันเลย
เมื่อเรามีกันสามคน
เอเลน :
อ้า! ช่างเลิศรส! ช่างเลิศรส!

ออแฟนบักใช้แนวทางเหลวไหลพกผ่านบทประพันธ์ของไออัคที่เกี่ยวกับเทพปกรณัมกรีกเช่นเดียวกัน เช่นการทำให้เทพเจ้ากรีก และวีรบุรุษทั้งหลายกลายเป็นตัวละครเลื่อนลอย โง่เง่า หรือไม่ก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ยากที่จะเห็นความเป็นคนชั้นสูง หรือแสดงอารมณ์อันละเมียดละไม :

เอเลน :
เมื่อข้าเดินผ่านฝูงชน จากรถม้าของข้า ข้าจะได้ยิน คำพูดเหมือนเมื่อสักครู่ ด้วยเสียงที่ออกจากปากคนหลายพ่อพันแม่ ที่พูดว่า : « หล่อนไม่ใช่ราชินี แต่เป็นนังแพศยา !... »

และยิ่งเด่นชัดขึ้นจากฉากเต้นรำของอากาเมมนอน (องค์ที่ 3 ฉากที่ 5) :

เอ้าพวกเรา เร็ว ๆ เข้า ต้องรีบแล้ว...
จงดูรัฐกรีกให้ดี
เป็นเมืองใหญ่ของพวกขี้เหล้า
และวีนัส วีนัสเทพธิดาแห่งการเจริญพันธุ์
ทำให้ระบำแห่งโลกันต์มีชีวิตชีวา...
ทุกสิ่งเป็นความรื่นรมย์และอิ่มเอิบ !
ความดีงาม ความรับผิดชอบ เกียรติยศ และศีลธรรม
ถูกสายน้ำพัดหายไปหมดแล้ว !...

การบิดเบือนเรื่องราวของยุคโบราณเปิดโอกาสให้เขาได้วิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ใส่หน้ากากเข้าหากัน ความเต็มไปด้วยพิธีรีตองต่าง ๆ (« ทุกอย่างทำไปเพื่อให้เป็นพิธีรีตอง ! » คำสั่งของเทพจูปิเตอร์) และความเหลวไหลของสังคมยุคนั้น ได้อย่างรุนแรง :

ผลงานชิ้นสำคัญ[แก้]

  • โอเปร่าและโอเปอเรตตา :
Les deux Aveugles (1855)
Le Nuit blanche (1855)
Ba-ta-clan (1855), (livret de Ludovic Halévy)
La Rose de Saint-Flour (1856)
Le Savetier et le Financier (1856)
Dragonette (1857)
Le Vent du Soir ou L'horrible Festin (1857)
Une Demoiselle en loterie (1857)
Le Mariage aux lanternes (1857)
Les deux Pêcheurs (1857)
Orphée aux Enfers (1858) (livret de Ludovic Halévy)
Les Vivandières de la Grande Armée (1859)
Geneviève de Brabant (1859)
Daphnis et Chloé (1860)
La Chanson de Fortunio (1861) (livret de Ludovic Halévy)
Le Pont des soupirs (1861) (livret de Ludovic Halévy)
Le Roman comique (1861) (livret de Ludovic Halévy)
Les Bavards (1862)
Lischen et Fritzchen (1863)
Le Brésilien (1863) (livret de Ludovic Halévy)
Jeanne qui pleure et Jean qui rit (1864)
L'amour chanteur (1864)
Die Rheinnixen (1864)
La Belle Hélène (1864) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
Les Bergers (1865)
Barbe-Bleue (1866) (livret de Ludovic Halévy)
La Vie Parisienne (1866) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
La permission de dix heures (1867)
La Grande Duchesse de Gerolstein (1867) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
Robinson Crusœ (1867)
L'Île de Tulipatan (1868)
La Périchole (1868) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
La Diva (1869) (livret de Ludovic Halévy)
La Princesse de Trébizonde (1869)
Les Brigands (1869) (livret de Ludovic Halévy)
Boule de Neige (1871)
Le Roi Carotte (1872)
Fantasio (1872)
Fleurette (1872)
Les Braconniers (1873)
Pomme d'Api (1873) (livret de Ludovic Halévy)
Bagatelle (1874)
Le Violoneux (1875)
La Boulangère a des écus (1875) (livret de Ludovic Halévy)
Madame l'Archiduc (1874)
La Créole (1875)
Le Voyage dans la lune (1875)
Tarte à la Crème (1875)
Pierrette et Jacquot (1876)
La boîte au lait (1876)
Le docteur Ox (1877)
La Foire Saint-Laurent (1877)
Madame Favart (1878)
La Marocaine (1879)
La fille du Tambour-Major (1879)
Les Contes d'Hoffmann (1881, op. posth.)

คำคมและคำกล่าวถึงออแฟนบัก[แก้]

งานเขียนที่ศึกษาเกี่ยวกับออแฟนบัก[แก้]

  • Siegfried Krackauer, Offenbach ou le secret du second Empire (Paris, 1937)
  • Jean-Claude Yon, Jacques Offenbach (Paris, 2000)

ค้นพบเกี่ยวกับออแฟนบัก[แก้]

อ้างอิง[แก้]