ซูเปอร์สปรินต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเปอร์สปรินต์
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคด
ผู้พัฒนาอาตาริเกมส์
เทนเกน (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)
ผู้จัดจำหน่ายอาตาริเกมส์
เทนเกน (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, สหรัฐ)
อัลทรอน (แฟมิคอม, ญี่ปุ่น)
ออกแบบโรเบิร์ต เวเธอร์บี
เคลลี เทอร์เนอร์
โปรแกรมเมอร์โรเบิร์ต เวเธอร์บี
เคลลี เทอร์เนอร์
ศิลปินวิลล์ โนเบิล
คริส โมเซอร์
แซม คอมสต็อก
แต่งเพลงฮัล แคนนอน
แบรด ฟูลเลอร์ (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
แนวการแข่งความเร็ว
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดอาตาริซิสเตม 2 ฮาร์ดแวร์

ซูเปอร์สปรินต์ (อังกฤษ: Super Sprint) (รู้จักกันในชื่อ สปรินต์มาสเตอร์ ในอาตาริ 2600)[1] เป็นวิดีโอเกมการแข่งความเร็วที่ได้รับการเปิดตัวโดยบริษัทอาตาริเกมส์และมิดเวย์เกมส์ใน ค.ศ. 1986 โดยมีผู้เล่นสูงสุดสามคนขับรถที่เหมือนฟอร์มูลาวันบนสนามแข่งซึ่งมองจากด้านบน[2] เกมดังกล่าวเป็นเกมต่อจากแกรนแทรก 10 และซีรีส์สปรินต์ ซึ่งเป็นเกมขาวดำจากคริสต์ทศวรรษ 1970 ส่วนภาคต่ออย่างแชมเปียนชิปสปรินต์ได้รับการเปิดตัวในปีเดียวกัน

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอของเวอร์ชันอาร์เคด

ผู้เล่นสูงสุดสามคนขับพร้อมกันบนสนามแข่งกับฝ่ายตรงข้ามที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ วงจรเส้นสนามแข่งจะถูกมองจากด้านบนและพอดีกับหน้าจอเสมอ ดังนั้น เกมจะไม่เลื่อนฉาก หลังจากผ่านไปสามรอบ ผู้ชนะจะได้เข้าสู่สนามแข่งต่อไป เกมนี้มีทั้งหมดแปดสนาม แต่เกมจะจบลงก็ต่อเมื่อผู้เล่นสามารถเข้าเรซ 85 ที่มีการเล่นโบนัสสนามซูเปอร์สปีดเวย์[ต้องการอ้างอิง] เมื่อผู้เล่นไปถึงระดับที่สูงขึ้น สิ่งกีดขวางก็ปรากฏขึ้นบนทางมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น แอ่งน้ำมัน และพายุทอร์นาโดขนาดเล็กที่กำลังเคลื่อนที่ หากรถไปโดนสิ่งเหล่านั้น ผู้เล่นจะสูญเสียการควบคุมรถในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะกำลังไถลและหมุนติ้ว การขับรถเข้าไปในกำแพงด้วยความเร็วสูงหรือตกลงมาจากสะพานใดสะพานหนึ่ง รถจะพินาศ แต่จะมีเฮลิคอปเตอร์มาเปลี่ยนคันใหม่ให้

เกมนี้สามารถปรับแต่งรถได้โดยการรวบรวมประแจที่วางอยู่บนลู่วิ่ง ผู้เล่นสามารถสับเปลี่ยนสามคุณสมบัติเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ, อัตราเร่งที่ดีขึ้น หรือความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า

พอร์ต[แก้]

ซูเปอร์สปรินต์ (บทวิจารณ์ที่ไม่ใช่อาร์เคด)
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
แครช6/10
ซินแคลร์ยูสเซอร์7/10
ยัวร์ซินแคลร์5/10[3]
แชมเปียนชิปสปรินต์ (บทวิจารณ์ที่ไม่ใช่อาร์เคด)
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
แครช4/10
ซินแคลร์ยูสเซอร์7/10
ยัวร์ซินแคลร์6/10[4]

ซูเปอร์สปรินต์ได้รับการพอร์ตสู่ระบบแอมสตรัด ซีพีซี, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64 และแซดเอกซ์ สเปกตรัม[5] ส่วนพอร์ตที่ไม่มีใบอนุญาตได้รับการเผยแพร่โดยบริษัทเทนเกน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของอาตาริสำหรับนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม และได้รับการดัดแปลงโดยบริษัทอัลทรอนในฐานะเกมที่ได้รับอนุญาตสำหรับตลาดญี่ปุ่น[6]

เกมดังกล่าวได้รับการพอร์ตไปยังอาตาริ 2600 ภายใต้ชื่อสปรินต์มาสเตอร์ ซึ่งเวอร์ชันดัดแปลงนี้ได้รับการเผยแพร่ใน ค.ศ. 1988[1]

การตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1986 ระบุว่าซูเปอร์สปรินต์เป็นยูนิตอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับสองของเดือนนี้[7] เกมดังกล่าวกลายเป็นเกมอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ทำรายได้สูงสุดอันดับแปดของญี่ปุ่นในช่วงครึ่งหลังของ ค.ศ. 1986[8] และเกมอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับที่เก้าเมื่อ ค.ศ. 1986[9][8] ซึ่งต่อมา ได้เป็นเกมอาร์เคดแบบตั้งตรง/ห้องคนขับที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับที่สิบของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1987[10]

ใน ค.ศ. 1996 นิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้ระบุว่าเวอร์ชันอาร์เคดนั้นอยู่ในอันดับที่ 59 ใน "100 เกมยอดนิยมตลอดกาล" พวกเขาอธิบายว่าแม้ว่าดื้อโค้งมากในเกมนั้นไม่สมจริงอย่างมาก แต่ก็เพิ่มความรู้สึกการเร่งรีบให้แก่รูปแบบการเล่น[11]

สิ่งสืบทอด[แก้]

แชมเปียนชิปสปรินต์[แก้]

แชมเปียนชิปสปรินต์

ต่อมา ใน ค.ศ. 1986 แชมเปียนชิปสปรินต์ได้รับการเปิดตัว ซึ่งเกมนี้เกือบจะเหมือนกัน แต่มีทางวิ่งที่แตกต่างกัน และมีตู้สำหรับผู้เล่นสองคนขนาดมาตรฐานแทนที่จะเป็นตู้ 3 ผู้เล่นแบบกว้างของซูเปอร์สปรินต์ โดยได้รับการพอร์ตสู่ระบบแซดเอกซ์ สเปกตรัม, แอมสตรัด ซีพีซี และคอมโมดอร์ 64[12]

การเผยแพร่ใหม่[แก้]

เวอร์ชันเกมบอยอัดวานซ์ได้รับการเปิดตัวพร้อมกับสปายฮันเตอร์ในชุดเกมคู่เมื่อ ค.ศ. 2005

ซูเปอร์สปรินต์ได้รวมอยู่ในมิดเวย์อาร์เคดเทรเชอส์สำหรับเกมคิวบ์, เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์ และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ส่วนภาคต่ออย่างแชมเปียนชิปสปรินต์ ได้รับการเผยแพร่ในระบบเดียวกันในมิดเวย์อาร์เคดเทรเชอส์ 2 และเป็นเกมที่สามารถดาวน์โหลดได้สำหรับเพลย์สเตชัน 3 เกมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมิดเวย์อาร์เคดออริจินส์ ซึ่งเป็นเกมรวมสำหรับเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ใน ค.ศ. 2012[13]

ครั้นใน ค.ศ. 2016 ซูเปอร์สปรินต์ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในมิดเวย์อาร์เคดเลเวลแพ็กของเลโก้ ไดเมนชันส์[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Weiss, Brett (2011). Classic Home Video Games, 1972-1984 A Complete Reference Guide. McFarland, Incorporated, Publishers. p. 111. ISBN 9780786487554. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
  2. ซูเปอร์สปรินต์ ที่ Killer List of Videogames
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "Ports to 8 bit home computers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 2022-03-24.
  6. "Super Sprint for NES (1989)". Moby Games. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Game Machine's Best Hit Games 25 - アップライト, コックピット型TVゲーム機 (Upright/Cockpit Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 290. Amusement Press, Inc. 15 August 1986. p. 21.
  8. 8.0 8.1 "Game Machine's Best Hit Games 25: '86 下半期" [Game Machine's Best Hit Games 25: Second Half '86] (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 300. Amusement Press, Inc. 15 January 1987. p. 16.
  9. "Game Machine's Best Hit Games 25: '86 上半期" [Game Machine's Best Hit Games 25: First Half '86] (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 288. Amusement Press, Inc. 15 July 1986. p. 28.
  10. "Game Machine's Best Hit Games 25: '87" (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 324. Amusement Press, Inc. 15 January 1988. p. 20.
  11. "Top 100 Games of All Time". Next Generation. No. 21. Imagine Media. September 1996. p. 48.
  12. "Championship Sprint for Amstrad CPC (1988)". MobyGames. 2007-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-08-30.
  13. "Midway Arcade Origins Review". 14 November 2012.
  14. "Lego Dimensions: Midway Arcade Level Pack Review". Video Chums. สืบค้นเมื่อ 2016-03-20.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]