ซูบารุ วิวิโอ้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูบารุ วิวิโอ้ (KK3/KK4/KW3/KW4/KY3)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อค.ศ. 1992 ถึง 1998
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทเคย์คาร์
รูปแบบตัวถัง3 ประตู แฮทช์แบ็ค
5 ประตู แฮทช์แบ็ค
2 ประตู ทาร์ก้า
โครงสร้างเครื่องยนต์วางด้าหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า / ขับเคลื่อน4ล้อ
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์658 cc EN07
ระบบเกียร์เกียร์ธรรมดาเดินหน้า5จังหวะ
เกียร์อัตโนมัติเดินหน้า3จังหวะ
อัตโนมัติECVT
มิติ
ความยาว3,295 mm (129.7 in)[1]
ความกว้าง1,395 mm (54.9 in)
ความสูง1,385 mm (54.5 in)
น้ำหนัก650 kg (1,433 lb)-700 kg (1,543 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าซูบารุ เรกซ์
รุ่นต่อไปซูบารุ เพลโอ

ซูบารุ วิวิโอ้ เป็นรถประเภทเคย์คาร์ เปิดตัวในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1992 เพื่อมาทำตลาดแทนที่ ซูบารุ เรกซ์ และยุติการทำตลาดในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1998 แล้วถูกแทนด้วย ซูบารุ เพลโอ

ชื่อVivioนั้นมาจากขนาดเครื่องยนต์ 660cc ของวิวิโอ้เอง เมื่อนำมาเขียนตามแบบของเลขโรมันแล้วจะได้เป็น VI,VI,O และ ยังไปพ้องรูปกับคำว่า VIVID ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าร่าเริงสดในอีกด้วย วิวิโอ้นั้นมีทั้งตัวถังแบบ 3 และ 5 ประตูให้เลือก และยังมีตัวถังพิเศษแบบ 2 ประตูทาร์ก้า (targa) ที่มีชื่อเรียกว่า ที-ท็อป (T-top) ซึ่งผลิตจำนวนจำกัดในปี ค.ศ. 1994 เท่านั้น หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1995 ซูบารุได้เปิดตัววิวิโอ้รุ่นตกแต่งในสไตล์เรโทรทีมีชื่อว่า วิวิโอ้ บริสโตร ในช่วงยุคปี ค.ศ. 1990 รถยนต์สไตล์เรโทรเป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่น และเสื่อมความนิยมลงหลังจากเข้าสู่ยุค 2000

ข้อมูลรถยนต์ ซูบารุ วิวิโอ้[แก้]

เครื่องยนต์[แก้]

วิวิโอ้ใช้เครื่องยนต์เบ็นซิน 4 สูบขนาด 658cc (ทางการตลาดเรียกเป็น 660cc) ตระกูล EN07 มีชื่อเรียกอีกย่างนึงว่า โคลเวอร์โฟร์ (CLOVER4)

รุ่นเครื่องยนต์ EN07A EN07E EN07Z EN07X
ลักษณะเครื่องยนต์ 4 สูบ เพลาราวลิ้นเดี่ยวเหนือฝาสูบ 8 วาล์ว 4 สูบ เพลาราวลิ้นคู่เหนือฝาสูบ 16 วาล์ว
ความจุกระบอกสูบ 658 ซีซี
ขนาดลูกสูบ X ช่วงชัก 56 มม X 66.8 มม
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง คาร์บูเรเตอร์ หัวฉีดอิเล็กทรอนิค
ระบบอัดอากาศ ไร้ระบบอัดอากาศ ซูเปอร์ชาร์จเจอร์
อัตราส่วนกำลังอัด 10.0:1 8.5:1 9.0:1
กำลังสูงสุด (PS) 42 PS ที่ 7,000 รอบต่อนาที 52 PS ที่ 7,200 รอบต่อนาที 64 PS ที่ 6,400 รอบต่อนาที 64 PS ที่ 7,200 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด (kg∘m) 5.3 kg∘m ที่ 4,500 รอบต่อนาที 5.5 kg∘m ที่ 5,600 รอบต่อนาที 8.6 kg∘m ที่ 4,400 รอบต่อนาที 10.8 kg∘m ที่ 4,000 รอบต่อนาที

ระบบกันสะเทือน และ ระบบส่งกำลัง[แก้]

วิวิโอ้ใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระทั้ง4ล้อ ระบบกันสะเทือนด้านหน้าแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังแบบเซมิริลลิ่งอาร์ม และในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ได้มีการออกแบบระบบกันสะเทือนด้านหลังใหม่ พร้อมทั้งเพิ่มเหล็กกันโคลงที่ระบบกันสะเมือนด้านหน้าอีกด้วย ระบบส่งกำลังของวิวิโอ้นั้นมี 3 แบบ ประกอบไปด้วยเกียร์ธรรมดาเดินหน้า 5 จังหวะ เกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ และ เกียร์อัตโนมัติแบบ ECVT (Electro Continuously Variable Transmission) พร้อมแมนนวลโหมดปรับล็อกพูลเลย์ได้ 6 ระดับ และควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ได้ด้วยสปอร์ตชิฟท์ Sport Shift หรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือ แพดเดิ้ลชิฟท์ paddle shift

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "1992 Subaru Vivio". carfolio.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-29.