ซุลเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซุลเซอร์ (Sulzer) เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ปัจจุบันรถจักรดังกล่าวได้ถูกตัดบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ในสมัยนั้น ได้สั่งซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นนี้มาใช้งาน เป็นรุ่นที่สอง เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถไม่สะดวก และไม่ประหยัด อีกทั้งลูกไฟที่กระจายออกมาเป็นอันตรายต่อผู้โดยสาร โดยรถจักรรุ่นดังกล่าว ได้ดำเนินการผลิตและทดสอบระบบ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้ถูกนำเข้ามาใช้งานในราชอาณาจักรไทย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6 คัน ทางกรมรถไฟหลวงได้กำหนดหมายเลขของรถจักรดังกล่าว คือหมายเลข 501 ถึง 506 โดยในระยะแรก ได้นำมาใช้ลากจูงรถด่วน สาย กรุงเทพ-เชียงใหม่ และ กรุงเทพ-หัวหิน รถจักรรุ่นนี้ทั้ง 6 คัน ถูกใช้งานในประเทศสยาม รวมระยะทางกว่า 700,000 กม.

เมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รถจักรบางคันถูกโจมตีทางอากาศ จนเสียหายเกินกำลังซ่อม เมื่อสงครามจบลง รถบางส่วนได้ถูกโอนมาใช้งานในทางรถไฟสายแม่กลอง และในที่สุด รถจักรรุ่นดังกล่าวได้ถูกตัดบัญชี หรือปลดระวางลงในปี พ.ศ. 2507 ส่วนหมายเลข 504 และ 505 ถูกตัดบัญชีในปี พ.ศ. 2532

ในปัจจุบัน สามารถพบเห็นรถจักรซุลเซอร์ (หมายเลข 504) ได้ที่ ตลาดนัดรถไฟ สาขาศรีนครินทร์

ข้อมูลรถจักร [1][แก้]

  • ชนิดรถจักร รถจักรดีเซลไฟฟ้า
  • เครื่องยนต์ Sulzer 8LV25 engine.
  • กำลังขับเคลื่อน 450 แรงม้า
  • ระบบห้ามล้อ Vacumm Brake 2 สูบ
  • การจัดวางล้อ A1A-A1A
  • ความเร็วสูงสุด 60 กม./ชม.
  • น้ำหนัก 60 ตัน
  • น้ำหนักกดเพลา 10 ตัน
  • พิกัดตัวรถ (กว้าง x ยาว x สูง) 2,780 x 13,000 x 3,750 มม.
  • ความจุเชื้อเพลิง 2,465 ลิตร
  • บริษัทผู้ผลิต บริษัท ซุลเซอร์โอร์ลิคอน จำกัด ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2474
  • จำนวน 6 คัน (หมายเลข 501 - 506)
  • ตัดบัญชี พ.ศ. 2507 (หมายเลข 501 - 503,506) พ.ศ. 2532 (หมายเลข 504,505)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. http://www.derbysulzers.com/thailand.html